มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) : อาการ สาเหตุ การรักษา

15.05
22815
0

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้พบได้ทั่วไป แต่เป็นมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดเพราะเป็นแล้วมักจะลุกลามไปยังบริเวณอื่นด้วย 

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมารักษาหายได้ยากและโอกาสที่จะทำให้อาการดีขึ้นก็น้อย ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ การได้รับแสงแดดมากเกินไป เป็นคนมีผิวขาวและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

หากแพทย์วินิจฉัยได้เร็วขึ้นและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนังมีแนวโน้มที่จะบรรเทาอาการได้

ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องคอยดูเรื่องไฝตามร่างกายว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือโตขึ้นหรือไม่ ใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันแสงแดดมาสัมผัสผิวหนังโดยตรงและจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาคืออะไร

เราอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้มากขึ้นหากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้

เมลาโนมาเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์สร้างเม็ดสีที่เรียกว่าเมลาโนไซต์กลายพันธุ์และเริ่มแบ่งตัวเพิ่มขึ้น

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเกิดขึ้นได้ทุกที่บนผิวหนัง แต่พื้นที่อื่น ๆ ก็กิดขึ้นได้เช่นกัน ในผู้ชาย มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามักเกิดบริเวณหน้าอกและแผ่นหลังมากที่สุด ในผู้หญิงจะพบมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเกิดขึ้นที่ขาบ่อยที่สุด บริเวณอื่น ๆ ที่เราพบมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาบ่อย ได้แก่ บริเวณใบหน้า

อย่างไรก็ตาม มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอาจเกิดขึ้นได้ในดวงตาและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมถึง ลำไส้ ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาจะไม่ค่อยเกิดในผู้ที่มีผิวคล้ำ

ระยะของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

ระยะของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาในช่วงการวินิจฉัยจะช่วยบ่งชี้ว่า มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีการแพร่กระจายไปไกลแค่ไหนและการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสม

วิธีการกำหนดระยะมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาจะอธิบายถึงมะเร็งในห้าระยะคือตั้งแต่ 0 ถึง 4:

  • ระยะที่ 0: มะเร็งจะอยู่ในผิวหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น แพทย์เรียกมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะนี้ว่า “มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาไม่ลุกลาม”
  • ระยะที่ 1 มะเร็งมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร (มม.) มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะนี้ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือบริเวณอื่น ๆ และอาจเป็นแผลหรือไม่ก็ได้
  • ระยะที่ 2 มะเร็งมีความหนาอย่างน้อย 1 มม. แต่อาจหนากว่า 4 มม. โดยอาจจะเป็นแผลหรือไม่เป็นแผลก็ได้ และยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือบริเวณอื่น ๆ
  • ระยะที่ 3: มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งต่อมหรือมากกว่านั้น หรือแพร่กระจายไปยังท่อน้ำเหลืองใกล้เคียงหรือบริเวณโดยรอบ โดยจุดเริ่มที่เป็นมะเร็งอาจจะหายไปหรือมองไม่เห็นแล้ว ซึ่งถ้ามองเห็นได้ก็อาจหนากว่า 4 มม. และเป็นแผลด้วย
  • ระยะที่ 4: มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะที่อยู่ห่างออกไป เช่น สมอง ปอดหรือตับ ยิ่งมะเร็งลามไปไกลมากเท่าใด การรักษาก็จะยากขึ้นและมีแนวโน้มจะแย่ลงได้

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาประเภทต่าง ๆ

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามีด้วยกัน 4 ประเภท

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดแผลตื้น

ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาประเภทที่พบบ่อยที่สุดและมักเกิดบริเวณลำตัวหรือแขนขา เซลล์มะเร็งมักจะเติบโตอย่างช้า ๆ ในช่วงแรกก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วผิว

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดตุ่มนูน

เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่พบบ่อยเป็นอันดับสองโดยจะเกิดขึ้นที่ลำตัว ศีรษะหรือลำคอ โดยมีแนวโน้มที่จะโตเร็วกว่าชนิดอื่น ๆ และอาจปรากฏเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงินดำได้

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดตุ่มนูนยังเป็นมะเร็งชนิดที่ลุกลามได้มากที่สุด

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดเลนทิโกมาลิกนา

มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะเกิดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับแสงแดดมากเกินไปและนานเป็นเวลาหลายปี เช่น ใบหน้า

โดยเริ่มจากการตกกระแบบฮัทชินสันหรือชนิดเลนทิโกมาลิกนาซึ่งมีลักษณะเป็นคราบบนผิวหนังก่อน โดยมักเติบโตช้าและมีอันตรายน้อยกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น ๆ

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดเกิดที่มือและเท้า

ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาชนิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น

มะเร็งผิวหนังชนิดนี้พบบ่อยที่สุดในผู้ที่มีผิวคล้ำ

 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

งานวิจัยถึงสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมายังคงมีอยู่เรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พบว่าคนที่มีผิวบางประเภทมีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้ง่ายกว่า

ปัจจัยต่อไปนี้อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง:

  • ความหนาแน่นของฝ้าและกระสูง หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดฝ้าและกระหลังจากสัมผัสกับแสงแดด
  • มีไฝจำนวนมาก
  • มีไฝที่มีอาการผิดปรกติตั้งแต่ 5 จุดขึ้นไป
  • ซึ่งเกิดเป็นผื่นดำเป็นจุดที่เกิดจากการถูกแดดเผาหรือที่เรียกว่า เกลื้อนหรือพวกจุดแก่ที่เป็นรอยด่างดำบนผิวหน้า
  • ไฝหรือปานขนาดใหญ่ที่มีมาแต่กำเนิดซึ่งเป็นปานสีน้ำตาลชนิดหนึ่ง
  • ผิวซีดที่เปลี่ยนเป็นสีแทนยากและอาจเป็นผิวไหม้ได้ง่าย
  • มีสีตาสว่าง
  • ผมสีแดงหรือสีอ่อน
  • การได้รับแสงแดดจัด ๆ จะทำให้เกิดผิวไหม้และถ้าออกเป็นระยะ ๆ กว่าปกติ
  • จากความชรา
  • ครอบครัวหรือเคยเป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมามาก่อน
  • การปลูกถ่ายอวัยวะก่อนหน้านี้

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เลี่ยงแสงแดดและไม่ทำให้ผิวไหม้ การเลี่ยงแดดจัด ๆ และการป้องกันไม่ให้ผิวไหม้จากแสงแดดจะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง เตียงอาบแดดยังเป็นแหล่งของรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็น

หากสามารถแยกความแตกต่างระหว่างไฝหรือฝ้ากระธรรมดากับสิ่งที่บ่งบอกถึงมะเร็งผิวหนังและรีบปรึกษาแพทย์ทันทีก็ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาในระยะเริ่มต้นได้

 อาการของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

ในระยะแรก เนื้องอกอาจตรวจพบได้ยาก สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบผิวว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงลักษณะของผิวหนังเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่ามีมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาหรือไม่ ซึ่งแพทย์ก็จะใช้วิธีการดูการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการวินิจฉัย

นอกจากนี้ ให้พบแพทย์ได้ทันที หากเกิดอาการดังต่อไปนี้:

  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น เกิดเป็นจุดหรือไฝใหม่ ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงของสี รูปร่างหรือขนาดของจุดหรือไฝที่มีอยู่แล้ว
  • มีอาการเจ็บผิวหนังที่รักษาไม่ได้
  • เกิดจุดหรืออาการปวด คันหรือกดเจ็บ
  • เกิดจุดหรืออาการเจ็บปวดที่เริ่มมีเลือดออก
  • เกิดจุดหรือก้อนที่มีลักษณะผิวตึงเรียบหรือซีด
  • เป็นก้อนเนื้อแข็งสีแดงมีเลือดออกหรือมีลักษณะเป็นแผลหรือเป็นก้อน
  • จุดแบนสีแดงหยาบแห้งหรือเป็นเกล็ด

Melanoma

การตรวจ ABCDE

การตรวจ ABCDE เป็นวิธีการสำคัญในการเปิดเผยรอยโรคที่อาจเป็นมะเร็ง ชื่อการตรวจ ABCDE อธิบายลักษณะง่าย ๆ ห้าประการในการตรวจหาไฝที่ช่วยให้เราสามารถยืนยันหรือบอกความแตกต่างว่าอะไรคือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาหรือไม่ใช่ได้

ลักษณะไม่สมมาตร (Asymmetric – A): ไฝที่ไม่เป็นมะเร็งมักจะกลมและสมมาตร ในขณะที่ไฝที่เป็นมะเร็งอาจมีลักษณะไม่สมมาตร

ขอบของไฝ (Border – B): ลักษณะขอบของไฝที่อาจเป็นระเร็งนี้มีมักมีผิวขรุขระและไม่เรียบ และอาจดูดำคล้ำ มีรอยบากหรือมีสีขุ่น 

สี (Color – C): มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามักจะมีเฉดสีไม่สม่ำเสมอ ได้แก่ สีดำ สีน้ำตาลและสีแทน อาจเป็นเม็ดสีขาวหรือน้ำเงิน

เส้นผ่าศูนย์กลาง (Diameter – D): มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอาจทำให้ขนาดของไฝเปลี่ยนแปลงไป เช่น หากไฝมีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งในสี่ของเส้นผ่านศูนย์กลางหนึ่งนิ้วก็อาจเป็นมะเร็งได้

การเปลี่ยนแปลง (Evolving): หากเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แล้วไฝเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนังได้

การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

การรักษามะเร็งผิวหนังก็ใช้วิธีเดียวกันกับมะเร็งอื่น ๆ วิธีรักษามะเร็งที่ง่ายที่สุดคือการเข้าถึงเนื้อเยื่อมะเร็งและตัดออกให้หมด ด้วยเหตุนี้ การผ่าตัดจึงเป็นตัวเลือกการรักษามาตรฐานเพื่อรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

และแพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพื่อกำจัดรอยโรคและเนื้อเยื่อที่ไม่เป็นมะเร็งบางส่วนรอบ ๆ ออกด้วย เมื่อศัลยแพทย์นำรอยโรคออก ก็จะส่งไปที่แผนกพยาธิวิทยาเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งกินพื้นที่ไปมากแค่ไหนและเพื่อให้แน่ใจว่าเอามะเร็งออกทั้งหมดไม่ให้เหลือ

หากมะเร็งผิวหนังเมลาโนมากินพื้นที่บริเวณผิวหนังจำนวนมากอาจจำเป็นต้องใช้วิธีปลูกถ่ายผิวหนัง

หากมีความเสี่ยงที่มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองเพื่อส่งตรวจ

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจใช้วิธีการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา โดยเฉพาะมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะท้าย ๆ

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ หากเกิดการมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา แพทย์จะให้เข้ารับการรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาแพร่กระจาย ได้แก่ :

  • เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์ใช้ยาที่พุ่งเป้าเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งแพทย์จะให้ยาที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันสู้กับมะเร็ง
  • การใช้ยารักษามะเร็งอย่างตรงจุด ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ระบุและกำหนดเป้าหมายยีนหรือโปรตีนจำเพาะที่มีผลต่อมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

การป้องกันมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

การหลีกเลี่ยงรังสียูวีในปริมาณมากช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งเราสามารถป้องกันตัวเองจากการเกิดมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้โดย:

  • เลี่ยงการถูกแดดเผา
  • สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวจากแสงแดด
  • ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 
  • ทาครีมกันแดดครึ่งชั่วโมงก่อนออกนอกบ้าน
  • ทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมงและหลังว่ายน้ำหรือเหงื่อออกเพื่อช่วยให้กันแดดได้ดีเสมอ
  • งดออกแดดจัด แต่หากจำเป็นให้กางร่ม ในช่วงระหว่าง 10.00-16.00 น
  • ให้เด็กอยู่ในที่ร่มให้มากที่สุด โดยให้สวมชุดป้องกันและทาครีมกันแดด SPF 50+
  • ให้ทารกอยู่พ้นแสงแดดจ้า
  • แม้จะใช้ครีมกันแดดก็ไม่ได้แนะนำให้อยู่กลางแดดนานขึ้น เราก็ยังต้องจำกัดการออกแดดหากทำได้
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งควรใส่ใจในเรื่องการดูแลตัวเองเมื่อต้องโดนแดด

แพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอาบแดดด้วยเครื่องอาบแดด การโดนแสงจากโคมไฟแรง ๆ และการอาบแดดกลางแจ้ง

แต่แนะนำให้ “รับวิตามินดีจากอาหาร [ที่ดีต่อสุขภาพ] ซึ่งรวมถึง อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีตามธรรมชาติ อาหารและเครื่องดื่มที่เสริมด้วยวิตามินดีและ/หรืออาหารเสริมวิตามินดี”

การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมามักเกิดกับผิวหนัง โดยมักทำให้ไฝที่มีอยู่เกิดการเปลี่ยนแปลง

เราสามารถตรวจพบอาการแสดงเริ่มต้นของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาได้ด้วยตนเอง โดยการตรวจไฝที่มีอยู่ และฝ้า และกระสีอื่น ๆ เป็นประจำ นอกจากนี้ เราควรไปตรวจหลังบ่อย ๆ เพราะไฝอาจเกิดแต่เรามองไม่เห็น

คู่สามีภรรยา สมาชิกในครอบครัว เพื่อนหรือแพทย์ช่วยตรวจหลังและบริเวณอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ยากได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ช่วย

หากผิวเกิดการการเปลี่ยนแปลงก็จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจเพิ่มเติม

การตรวจด้วยแอพพลิเคชั่น

แอพพิลเคชั่นบางตัวอ้างว่าช่วยให้เราสามารถระบุและติดตามการเปลี่ยนแปลงไฝได้ แต่หลายแอพพลิเคชั่นก็ไม่น่าเชื่อถือ

การตรวจทางคลินิก

แพทย์อาจใช้เครื่องมือตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือภาพถ่ายเพื่อตรวจสอบรอยโรคโดยละเอียด

หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง แพทย์ผิวหนังจะช่วยตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจชิ้นเนื้อเป็นขั้นตอนที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเก็บตัวอย่างรอยโรคและส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการ

แนวโน้มของโรค

มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาเป็นมะเร็งชนิดลุกลามซึ่งอาจเป็นอันตรายเมื่อแพร่กระจาย อย่างไรก็ตาม คนที่ตรวจพบรอยโรคได้เร็วอาจมีแนวโน้มที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้

จากสถิติพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาจะมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปี

หากแพทย์วินิจฉัยและรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาก่อนที่จะแพร่กระจาย ผู้ป่วยจะมีเปอร์เซนต์การรอดชีวิตถึง 5 ปีอยู่ที่ 98% อย่างไรก็ตาม หากมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนลึกหรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง อัตราการรอดชีวิตจะลดลงเหลือ 64%

หากมะเร็งผิวหนังเมลาโนมากระจายไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ทั่วร่างกาย ความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตรอดถึง 5 ปีนั้นจะลดลงเหลือ 23%

ด้วยเหตุนี้ การติดตามการเปลี่ยนแปลงของไฝจึงสำคัญมาก และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือโตขึ้นหรือไม่ การดูแลตัวเองเชิงป้องกันก็มีความสำคัญเช่นกันเมื่อต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *