อะโครเมกาลี (Acromegaly): อาการ สาเหตุ การรักษา

อะโครเมกาลี (Acromegaly): อาการ สาเหตุ การรักษา

12.05
12911
0

อะโครเมกาลี (Acromegaly) เป็นภาวะที่ไม่ได้เกิดบ่อย ซึ่งเป็นผลมาจากการมีการผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมามากผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือที่เรียกว่าเนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง

โดยปกติแล้ว โกรทฮอร์โมนจะผลิตโดยต่อมใต้สมองในสมอง ปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดเนื้องอกในต่อม

อะโครเมกาลีส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สุขภาพกระดูกและระดับพลังงาน และอาจนำไปสู่ลักษณะทางกายภาพที่ผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งกว่าจะเกิดความผิกปกติให้เห็นก็ต้องผ่านไปหลายปี

ผู้ที่เป็นอะโครเมกาลีอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและอายุขัยอาจลดลง 10 ปี

ปัจุบัน ในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี มีคนเราว 3-4 คน ในทุก ๆ ล้านคนเป็นโรคอะโครเมกาลีและเกิดใน 60 คนในทุก ๆ ล้านคนในแต่ละครั้ง

 อาการของโรคอะโครเมกาลี

โรคอะโครเมกาลีมีลักษณะจำเพาะคือทำให้มือบวมและเท้าใหญ่ โรคอะโครเมกาลีทำให้ร่างกานเปลี่ยนแปลงและจะใช้เวลานานกว่าจะมีอาการ

การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพอาจ รวมถึง:

  • กรามและลิ้นมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เกิดช่องว่างระหว่างฟัน
  • คิ้วหนาเด่นชัดขึ้อ
  • มือบวม
  • เท้าใหญ่
  • ผิวหยาบและมัน
  • ผิวเกิดเป็นแผ่น

การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ได้แก่ :

  • รู้สึกเสียวปลาบและมือและเท้าไม่รู้สึก
  • เหงื่อออกมาก
  • ปวดหัว
  • มีเสียงทุ้มลึก
  • การมองเห็นบกพร่อง

นอกจากนี้ อวัยวะภายในยังมีการขยายตัว ได้แก่ หัวใจ ตับ ปอดและไต

โรคอะโครเมกาลีพบได้น้อยมากในเด็ก ซึ่งนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า ไจแกนทิซึม( Gigantism)

สาเหตุของโรคอะโครเมกาลี

การผลิตโกรทฮอร์โมนมากเกินไปที่ทำให้เกิดโรคอะโครเมกาลี ซึ่งเป็นผลมาจากเนื้องอก

เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง

เนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดคือเนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็งหรือไม่เป็นพิษเป็นภัยในต่อมใต้สมองหรือที่เรียกว่า เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง

เนื้องอกทำให้ต่อมใต้สมองผลิตโกรทฮอร์โมนมากผิดปกติซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตผิดปกติด้วย

เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองไม่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทั้งนี้ โรคอาจเกิดขึ้นเองจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์ในต่อมดังกล่าว

เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์นี้จะจำลองแบบและก่อตัวเป็นเนื้องอกที่เรียกว่า เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองไม่ใช่มะเร็งเพราะไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่อาจทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากมีขนาดใหญ่และตำแหน่งที่ไปทับอวัยวะอื่น ๆ

เมื่อเนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองเติบโตขึ้นก็อาจสร้างแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อสมองโดยรอบได้ เนื่องจากกะโหลกศีรษะเป็นพื้นที่ปิด การเจริญเติบโตของเนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองนี้จึงไปเบียดเนื้อเยื่อที่เหลืออยู่และทำให้เกิดอาการปวดหัวและทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น

ตำแหน่งการเกิดของเนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองยังส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนอื่น ๆ เช่นกัน

ซึ่งผลกระทบอาจแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิงตามประเภทของฮอร์โมนที่ได้รับผลกระทบ ผู้หญิงอาจพบว่ามีผลต่อรอบเดือน ในขณะที่ผู้ชายบางคนมีอาการอ่อนแรง

ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของประชากรคิดว่ามีนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองขนาดเล็กซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สร้างโกรทฮอร์โมนส่วนเกินหรือทำให้เกิดอาการใด ๆ จะมีก็ต่อเมื่อเนื้องอกขนาดใหญ่เกิดปัญหาขึ้น

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตด้วยว่าเนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองส่วนใหญ่ไม่หลั่งฮอร์โมนใด ๆ อย่างไรก็ตาม เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมองที่หลั่งโกรทฮอร์โมนแล้วทำให้เกิดปัญหาคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนคนไข้โรคนี้ทั้งหมด

Acromegaly

สาเหตุอื่น ๆ

ในบางกรณี เนื้องอกในบริเวณอื่น ๆ ตามร่างกาย เช่น ปอดต่อมหมวกไตหรือตับอ่อนอาจทำให้เกิดการผลิตโกรทฮอร์โมนมากเกินไปจนส่งผลให้เกิดอาการของโรคอะโครเมกาลี

โกรทฮอร์โมนนี้อาจผลิตโดยเนื้องอกเอง หรือเนื่องจากต่อมใต้สมองตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจึงทำให้ผลิตโกรทฮอร์โมน ตัวอย่างเช่น เนื้องอกในไฮโปทาลามัสอาจหลั่งฮอร์โมน ปล่อยโกรทฮอร์โมน ซึ่งบอกให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมน

บางครั้ง โรคอะโครเมกาลีเกิดจากการผลิตโกรทฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นจากภายนอกต่อมใต้สมอง เช่น จากเนื้องอกในระบบประสาท เช่น มะเร็งปอดเซลล์ขนาดเล็กหรือเนื้องอกคาร์ซินอยด์

การวินิจฉัยโรคอะโครเมกาลี

เนื่องจาก อาการของโรคอะโครเมกาลีปรากฏขึ้นอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานเป็นปีในการวินิจฉัย

หากมือและเท้าบวมและมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคอะโครเมกาลี บ่อยครั้งที่เราสามารถสังเกตได้เมื่อใส่ถุงมือหรือรองเท้าไม่พอดี

ชุดการตรวจต่าง ๆ ช่วยยืนยันผู้ป่วยมีโรคอะโครเมกาลีหรือไม่

ปัจจัยการเจริญเติบโตคล้ายอินซูลิน -1 (IGF-1): การทดสอบจะแสดงให้เห็นว่าของฮอร์โมนนี้มีระดับสูงเกินไปหรือไม่ IGF-1 เป็นฮอร์โมนที่ผลิตในตับ ช่วยเสริมการเจริญเติบโต คนที่เป็นโรคอะโครเมกาลีมักจะมีฮอร์โมนนี้ในระดับสูงเนื่องจากโกรทฮอร์โมนในระดับสูงจะกระตุ้นการผลิต IGF-1 นอกจากนี้ ยังสามารถวัดฮอร์โมนต่อมใต้สมองอื่น ๆ ได้

การทดสอบความทนทานต่อกลูโคสในช่องปาก (OGTT): การทดสอบนี้ช่วยให้การอ่านระดับโกรทฮอร์โมนได้แม่นยำยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะต้องอดอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคสเข้มข้น จากนั้นจึงให้ตัวอย่างเลือด โดยปกติการกินกลูโคสจะทำให้ระดับฮอร์โมนลดลง ในคนที่เป็นโรคอะโครเมกาลี ระดับฮอร์โมนจะยังคงสูงอยู่เนื่องจากร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนมากเกินไป การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง: อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยระบุตำแหน่งและขนาดของเนื้องอกได้

การรักษาโรคอะโครเมกาลี

การรักษาโรคอะโครเมกาลีจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก อายุของผู้ป่วยและประวัติโรคของผู้ป่วย จุดมุ่งหมายของการรักษาคือช่วยลดการผลิตฮอร์โมนส่วนเกิน ลดความกดดันที่เกิดจากเนื้องอก ควบคุมระดับฮอร์โมนและทำให้อาการดีขึ้น

ศัลยกรรมรักษา:

อาจมีการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองออก ซึ่งการผ่าตัดจะหยุดโกรทฮอร์โมนที่มีอยู่มากเกินไปและลดแรงกดเบียดต่อเนื้อเยื่อโดยรอบได้

การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะจะใช้กล้องส่องผ่านโพรงจมูกเพื่อเข้าถึงต่อมใต้สมอง กล้องเอนโดสโคปจะผ่านจากโพรงจมูกเข้าสู่กระดูกสฟินอยด์ซึ่งเป็นกระดูกที่แยกสมองออกจากโครงสร้างใบหน้าส่วนที่เหลือ

การเอาเนื้องอกออกอาจทำให้ระดับโกรทฮอร์โมนลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเนื้องอกจะถูกกำจัดออกไปได้สำเร็จ แต่ระดับฮอร์โมนอาจไม่กลับมาเป็นปกติและอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม

รังสีบำบัด:

แพทย์จะใช้การรักษาด้วยรังสีเพียงวิธีเดียว หรือนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาแบบผสมผสานด้วยวิธีอื่น

หลังการผ่าตัดการฉายรังสีสามารถกำจัดเซลล์เนื้องอกที่เหลืออยู่ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ร่วมกับยาเพื่อลดระดับโกรทฮอร์โมนได้

การรักษาด้วยรังสีทั่วไปจะให้ 5 วันต่อสัปดาห์ นานถึง 6 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลาถึง 10 ปี เพื่อให้ระดับโกรทฮอร์โมนกลับมาเป็นปกติ

ในการผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุสเตอรีโอแทคติกซึ่งดป็นลำแสงรังสีที่เน้นความเข้มข้นสูง ที่กำจัดเนื้องอกเพื่อลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยการรักษาจะรวมถึงขั้นตอนอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ซึ่งมากกว่าขึ้นตอนการรักษาแบบเดิม และช่วยลดระดับโกรทฮอร์โมนได้ในเวลาอันสั้น

การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต:

โรคอะโครเมกาลีรักษาได้ด้วยยาเพียงอย่างเดียวก็ได้ หากการผ่าตัดอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเกินไปหรือไม่สามารถทำได้เนื่องจากตำแหน่งของเนื้องอกไม่เหมาะที่จะผ่าตัด

ยาที่ใช้ได้แก่ ได้แก่ โซมาโทสตาติน (เอสเอสเอ), โดพามีน อะโกนิสต์ และโกรธฮอร์โมน รีเซปเตอร์ แอนทาโกนิสต์ (จีเอชอาร์เอ) โดยมีจุดประสงค์เพื่อหยุดการเติบโตอย่างรวดเร็วที่เกิดจากการป้องกันการหลั่งหรือการทำงานของโกรทฮอร์โมน

การรักษาแบบผสมผสานอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งได้แก่:

  • อาการปวดตามข้อ
  • คาร์ดิโอไมโอแพทีเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง
  • โรคเส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น
  • การบีบอัดของไขสันหลัง
  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองตั้งแต่หนึ่งชนิดเป็นต้นไปหรือลดการผลิตฮอร์โมนต่อมใต้สมองอื่น ๆ
  • ไตวาย
  • การสูญเสียการมองเห็น
  • ติ่งเนื้อหรือก้อนที่เติบโตก่อนกลายเป็นมะเร็ง ภายในลำไส้ใหญ่
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เนื้องอกในมดลูก

หากปล่อยไว้แล้วไม่รักษา โรคอะโครเมกาลีอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคอะโครเมกาลี

โรคอะโครเมกาลีเป็นผลมาจากร่างกายผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตในร่างกายมากผิดปกติซึ่งทำให้เกิดลักษณะทางกายภาพที่ผิดปกติ เช่น มือและเท้าบวมผิดรูป และภาวะแทรกซ้อน และยังส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสุขภาพของกระดูก โรคอะโครเมกาลีมักเกิดจากเนื้องอกในต่อมใต้สมองที่เรียกว่า นื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง แพทย์มักใช้วิธีการผ่าตัด การฉายแสงและการใช้ยาด้วยเพื่อจำกัดการเจริญเติบโตของเนื้องอก 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *