หูดับ (Acute Hearing) : สาเหตุ อาการ การรักษา

หูดับ (Acute Hearing) : สาเหตุ อาการ การรักษา

28.01
672
0

การได้ยินน้อยลง หูดับ (Acute Hearing)หรือการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นเป็นเพียงบางส่วนหรืออาจทั้งหมด

อาการไม่ได้ยินที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่น้อย ปานกลาง ขั้นรุนแรงหรือไม่ได้ยินอีกเลย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องความเข้าใจในการสื่อสารด้วย ควรรรีบปรึกษาแพทย์

ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเรียนรู้วิธีอ่านปากเพื่อสื่อสารร่วมกับผู้อื่น ผู้ป่วยที่หูหนวกสนิทชนิดไม่ได้ยินเสียงใดๆเลยมีความจำเป็นต้องเรียนอ่านปากและภาษามือด้วย

อาการหูดับ

อาการการได้ยินลดน้อยลงขึ้นอยู่กับสาเหตุ คนบางคนอาจเกิดมาแล้วไม่ได้ยินมาแต่กำเนิด ในขณะที่บางคนมีอาการแบบฉับพลันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย โดยทั่วๆไปอาการหูหนวกมักจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป

โรคบางโรคเองก็เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินเช่น โรคเสียงอื้อในหู หรือโรคหลอดเลือดสมอง

การสูญเสียการได้ยินในเด็กทารก

อาจมีอาการบ่งชี้ดังต่อไปนี้:

  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 4 เดือน จะไม่หันตามเสียงเมื่อเกิดเสียงดังขึ้น

  • เมื่อมีอายุมากกว่า1 ปี เด็กยังไม่พูดหรือออกเสียงตามที่ควรจะเป็น.

  • เด็กทารกไม่มีอาการผวาหรือตกใจเมื่อเกิดเสียงดัง

  • เด็กทารกจะตอบสนองเมื่อเห็นหน้าพ่อแม่ แต่ไม่ตอบสนองหากมองไม่เห็นหรือเวลาถูกเรียกชื่อ

  • ได้ยินเสียงบางเสียงเท่านั้น ไม่ได้ยินเสียงทั้งหมด

ภาวะการสูญเสียการได้ยินในวัยเด็ก

สัญญานดังต่อไปนี้อาจปรากฏให้เห็นเมื่อเด็กโตขึ้นมา:

  • เด็กมีการเรียนรู้จะพูดได้ช้าหรือพูดไม่ชัดเจน

  • เด็กมักต้องการให้ผู้อื่นพูดซ้ำอีกรอบ เนื่องจากฟังไม่ถนัด

  • เด็กมักจะพูดเสียงดังกว่าปกติและมักทำสิ่งใดๆที่ต้องใช้เสียงที่ดังมากกว่าปกติ

  • เมื่อเด็กพูดจะฟังดูไม่ค่อยชัด

ระดับของการสูญเสียการได้ยินมี 4 ระดับ

  • หูตึงเล็กน้อย:เสียงเบาที่สุดที่จะได้ยินคือ 25-29 เดซิเบล พบว่ายากที่จะเข้าใจคำเวลาคนอื่นพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเสียงรบกวนข้างๆ

  • หูตึงปานกลาง: เสียงเบาที่สุดที่จะได้ยินคือ 40-69 เดซิเบล อาจฟังเสียงพูดลำบากหากไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟัง

  • หูตึงรุนแรง: เสียงเบาที่สุดที่จะได้ยินคือ 70-89 เดซิเบล กรณีนี้ผู้ป่วยต้องใช้วิธีอ่านปากหรือใช้ภาษามือช่วยในการสื่อสาร หรือต้องใช้เครื่องช่วยฟังร่วมด้วย

  • หูหนวก: เสียงเบาที่สุดที่จะได้ยินต้องมากกว่า 90 เดซิเบล บางรายอาจไม่ได้ยินเสียงใดๆเลย การสื่อสารต้องใช้ภาษามือ การอ่านปาก หรือผ่านการเขียนและอ่านเท่านั้น

สาเหตุของอาการหูดับ

Acute Hearing
โรคบางโรคเป็นสาเหตุของอาการหูหนวก เช่น:
  • โรคอีสุกอีใส
  • โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส
  • คางทูม
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคลายม์
  • โรคเบาหวาน  
  • การรักษาวัณโรค (TB) เชื่อว่าตัวยาสเตรปโตมัยซินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
  • โรคไฮโปไทรอยด์
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคมะเร็งบางเภท
  • วัยรุ่นที่ต้องได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง

หูชั้นในเป็นส่วนที่อยู่ด้านในสุดของหู การได้รับความเสียหายที่บริเวณแก้วหูหรือหูชั้นกลางเป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินและเกิดการหูหนวกได้

ภาวะหูดับและหูหนวก

การแยกแยะความแตกต่างของระดับการสูญเสียการได้ยินเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

หูดับ: คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถได้ยินเสียงใด ๆ ได้ชั่วคราว

หูหนวก: คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถเข้าใจการพูดโดยผ่านการได้ยิน แม้แต่กับเสียงที่ขยายแล้วก็ตาม

หูหนวกสนิท: คือภาวะการไม่ได้ยินสิ่งที่เกิดขึ้นชนิดไม่สามารถได้ยินเสียงอะไรได้เลยถาวร

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

รูปแบบการสูญเสียการได้ยินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้:

1) การสูญเสียการได้ยินจากการนำเสียงบกพร่อง

เป็นสาเหตุจากเสียงไม่สามารถผ่านจากหูชั้นนอกไปสู่หูชั้นในได้ตามปกติ โดยมีสาเหตุมาจาก:

  • มีขี้หูปิดกั้นในหู

  • หูชั้นกลางอักเสบ

  • หูติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบและมีของเหลวปิดกั้นในหู

  • แก้วหูทะลุ

  • การทำงานของกระดูกหูไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ

  • แก้วหูทำงานบกพร่อง

การติดเชื้อจะทิ้งร่องรอยเกิดแผลเป็นเนื้อเยื่อไว้ ซึ่งจะไปลดการทำงานของแก้วหู กระดูกที่ทำงานบกพร่องที่เกิดมาจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บหรือการเกิดร่วมกันทั้งสองอย่างอย่างที่เราเรียกว่าภาวะ Ankylosis

2) การสูญเสียการได้ยินที่โสตประสาท

มีสาเหตุมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหูชั้นใน ประสาทหูหรือสมองได้รับการบาดเจ็บ

การสูญเสียการได้ยินเป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้นเสมอเมื่อเซลล์ขนในประสาทหูได้รับความเสียหาย เมื่อคนเราอายุมากขึ้นเซลล์ขนก็จะเริ่มทำงานได้น้อยลงและเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ

การได้ยินเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆโดยเฉพาะเสียงที่มีความถี่เสียงสูงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ขนเสียหาย การเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สามารถทดแทนกลับให้เหมือนเดิมได้ แต่ในปัจจุบันพบว่าอาจนำสเต็มเซลล์มาช่วยในการสร้างเซลล์ขนใหม่ได้

3) การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม

เป็นกรณีที่เกิดทั้ง 2 สาเหตุข้างต้นพร้อมกัน หูที่เกิดการติดเชื้อในระยะยาวสามารถทำความเสียหายกับส่วนของแก้วหูและกระดูก บางครั้งการผ่าตัดอาจช่วยทำให้การได้ยินกลับมาได้แต่อาจไม่ได้ผลทุกราย

หูหนวกและเป็นใบ้

การสูญเสียการได้ยินที่ส่งผลต่อความสามารถในการพูดอาจเกิดขึ้นเพราะ.

การสูญเสียการได้ยินก่อนการเริ่มสื่อสารได้

การสูญเสียการได้ยินก่อนการหัดพูดเป็นสิ่งผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด

การสูญเสียการได้ยินหลังการพูด

ปัญหาการสูญเสียการได้ยินส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากรูปแบบนี้ ผลข้างเคียงมาจากการใช้ยา การบาดเจ็บ การติดเชื้อหรือภาวะโรคต่างๆก็เป็นสาเหตุหลักๆในการไม่ได้ยินได้

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยที่สงสัยเกี่ยวกับการได้ยินควรไปปรึกษาแพทย์

แพทย์จะวินิจฉัยโดยการซักประวิติอย่างละเอียดด้วยการสอบถามอาการตั้งแต่เริ่มแรก และตรวจดูหู อาจตรวจรวมไปถึงอาการเจ็บปวดที่อาจมาร่วมกับการสูญเสียการได้ยิน.

การตรวจร่างกาย

แพทย์จะตรวจหูด้วยกล้องส่องตรวจหู ด้วยอุปกรณ์ที่มีแสงสว่างอยู่บริเวณด้านปลาย ซึ่งสามารถทำให้ตรวจเจอสิ่งต่างๆด้านในเช่น:

  • เกิดการอุดตันจากสิ่งแปลกปลอม

  • แก้วหูยุบ

  • เกิดการสะสมของขี้หู

  • เกิดการติดเชื้อในช่องหู

  • เกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลาง

  • เกิดขี้ไคลหรือเซล์ผิวหนังด้านหลังแก้วหูในหูชั้นกลางภายในหู

  • มีของเหลวในช่องหู

  • แก้วหูมีรู

และอาจมีการทดสอบเพิ่มเติม ได้แก่:

การตรวจคัดกรองด้วยส้อมเสียง: เป็นการตรวจ Rinne test โดยใช้ส้อมเสียง คืออุปกรณ์การตรวจด้วยเสียงความถี่เดียว ทำมาจากเหล็กหรืออลูมิเนียมมีลักษณะเป็นสองขามีด้ามจับ

ส้อมเสียงจะสั่นและกระทบกับกระดูกกกหูที่อยู่ด้านหลังหู  ทดสอบการได้ยินผ่านทางอากาศเพื่อเปรียบเทียบเสียงที่ได้ยิน

การตรวจการได้ยินด้วยเครื่องAudiometer: ผู้ป่วยจะต้องสวมหูฟังไว้ แล้วจะปล่อยเสียงเข้าไป เสียงที่ปล่อยไปจะมีหลายโทน ผู้ป่วยต้องส่งสัญญานในแต่ละครั้งที่ได้ยินเสียง

ในแต่ละโทนจะแสดงให้เห็นระดับเสียงแล้วทดสอบผู้ป่วยว่าได้ยินหรือไม่ได้ยินที่ระดับความดังเท่าไร

ตรวจการได้ยินโดยการนำเสียงทางกระดูก: เป็นการตรวจด้วยการวางเครื่องสั่นไว้บริเวณกระดูกกกหูที่จะตรวจ ซึ่งเสียงจะเดินทางผ่านกระดูกกกหูไปยังกระดูกชั้นใน ทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานของหูแต่ละส่วนได้

การรักษาอาการหูดับ

การรักษามีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ซึ่งวิธีการรักษาได้แก่

การใช้เครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟังมีหลายแบบและหลายขนาด เครื่องนี้ไม่ได้มีไว้รักษาแต่เป็นเครื่องที่มีไว้เพื่อช่วยให้ผู้ฟังสามารถได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้น

เครื่องช่วยฟังจะบรรจุแบเตอรี่ ลำโพง เครื่องขยายเสียงและไมโครโฟนไว้ ปัจจุบันนี้ตัวเล็กลงสามารถใส่ในหูได้ และตัดเสียงรบกวนออก

เครื่องช่วยฟังไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหูหนวกสนิท

ประสาทหูเทียม

เป็นอุปกรณ์ที่ใส่ไว้ในส่วนหูชั้นใน อุปกรณ์ดังกล่าวจะแปลงสัญญานเสียงให้เป็นสัญญานไฟฟ้าในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่จะกระตุ้นเซลล์ขนภายในอวัยวะรับเสียงให้ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น มักใช้กับผู้ป่วยที่ประสาทหูเสื่อมอย่างรุนแรง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *