โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.09
966
0

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เซลล์สมองตายจึงเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียความทรงจำและกระบวนการทางความคิดเสื่อมลง

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ 

สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์คล้ายกับโรคสมองเสื่อมทั่วไปคือเกิดจากเซลล์สมองตายเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทซึ่งหมายความว่าเซลล์สมองตายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเเละต่อเนื่อง 

ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีเซลล์ประสาทน้อยเเละการเชื่อมต่อที่น้อยลงด้วย

จากการชันสูตรผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์พบว่าเนื้อเยื่อประสาทของสมองมีรอยขนาดเล็กเกิดขึ้นเรียกว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อสมองและกลุ่มเส้นใยของโปรตีนที่พันกันยุ่งเหยิง

รอยแผลที่เกิดขึ้นพบได้บนเซลล์ระหว่างรอยหยักของสมองและรอยเหล่านี้เกิดจากโปรตีนที่เรียกว่าเบตาแอมีลอยด์ 

กลุ่มเส้นใยเกิดจากโปรตีนที่พันกันยุ่งเหยิงของเซลล์ประสาทซึ่งเกิดจากโปรตีนที่ชื่อว่าเทา (tau)

นักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดขึ้นสิ่งเหล่านี้ เชื่อว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน

อาการโรคอัลไซเมอร์

สำหรับผู้ที่ควรได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการความจำเสื่อมหรือพฤติกรรมและการแสดงออกทางพฤติกรรมที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนป่วย อาการความจำเสื่อมนี้มักทำให้ความสามารถในการทำงานผิดปกติได้

อาการความจำเสื่อมสามารถสังเกตุจากพฤติกรรมดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 หรือ 5 อย่าง

1.ความสามารถในการจดจำข้อมูลใหม่ลดลงซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมดังต่อไปนี้ 

  • การถามคำถามซ้ำหรือการสนทนาเรื่องเดิมซ้ำๆ
  • ลืมที่อยู่ของสิ่งของที่วางไว้
  • ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเเละการนัดหมาย
  • หลงลืมทางและหลงทาง
  1. มีความบกพร่องด้านการให้เหตุผล การทำงานที่ซับซ้อนและการตัดสินใจต่างๆเช่น
  • ไม่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
  • ไม่สามารถบริหารการเงินได้
  • ความสามารถในการตัดสินใจต่ำ
  • ไม่สามารถวางแผนที่ซับซ้อนหรือลำดับเหตุการณ์ได้
  1. มีความบกพร่องด้านการมองเห็นเช่นปัญหาด้านสายตา ได้แก่
  • ไม่สามารถจำจดใบหน้าหรือลักษณะของวัตถุทั่วไปหรือการมองเห็นวัตถุโดยตรง
  • ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ปกติทั่วไปได้เช่นการถอดไม้แขวนเสื้อออกจากเสื้อ
  1. มีความบกพร่องด้านการพูด การอ่านและการเขียนเช่น 
  • ไม่สามารถคิดคำพูดออกมาได้ในขณะที่กำลังพูดหรือมีความสับสน
  • มีความบกพร่องด้านการพูด การสะกดคำและการเขียน
  1. มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมเช่น
  • เกิดอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ อารมณ์หงุดหงิด ไม่กระตือรือร้น กลัวการเข้าสังคมหรือมีความสนใจในสิ่งต่างๆน้อยลง ขาดเเรงบันดาลใจและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
  • ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • มีอารมณ์รุนเเรง มีความคิดหมกมุ่นหรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม

หากผู้ป่วยมีอาการตามที่ได้กล่าวมาและมีความรุนเเรงของอาการที่ยืนยันได้ว่าเป็นโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ปัจจัยดังต่อไปนี้สามารถยืนยันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยเช่นกัน 

  • เริ่มมีอาการผิดปกติต่อเนื่องหลายเดือนหรือหลายปีไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งหรือสองชั่วโมง
  • อาการผิดปกติทำให้ความคิดและสติสัมปชัญญะแย่ลง

หากเริ่มมีอาการสมองเสื่องหรือมีอาการรุนเเรงเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อระบุอาการของโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันนี้

โดยส่วนใหญ่โรคอัลไซเมอร์ทำให้สูญเสียความทรงจำซึ่งเป็นอาการที่โดดเด่นโดยเฉพาะความทรงจำเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจดจำข้อมูลใหม่ๆ

ปัญหาที่เกี่ยวกับภาษาเป็นอาการหลักของโรคนี้เช่นกันตัวอย่างเช่นความพยายามในการใช้คำที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ความบกพร่องด้านการมองเห็นยังเป็นอาการที่โดดเด่นของโรคนี้

  • ความบกพร่องในการจดจำใบหน้าเเละสิ่งของ
  • ไม่สามารถแยกภาพที่มองเห็นออกจากกันได้
  • ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือได้หรือสูญเสียความสามารถในการอ่าน

ความบกพร่องที่เห็นได้ชัดเจนเกิดจากการทำหน้าที่ผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายทำให้การให้เหตุผล การตัดสินใจและการเเก้ไขปัญหาผิดปกติ

สัญญาณเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์

ในปี 2016 มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์พบว่าอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์

งานวิจัยที่ค้นพบล่าสุดระบุว่าลักษณะของโรคอัลไซเมอร์คือมีรอยแตกในสมองทำให้มีอาการผิดปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแม้ว่าไม่มีอาการของโรคปรากฎขึ้นจดกระทั่งหนึ่งปีผ่านไป   

โรคสมองเสื่อมก่อนวัย

โรคสมองเสื่อมก่อนวัยเหมือนกับโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อวัยหนุ่มสาวที่คนในครอบครัวมีประวัติของโรคนี้โดยปกติโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 30 ถึง 60 ปี 

ในกรณีนี้เกิดขึ้นน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

โรคอัลไซเมอร์ VS โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมมีความหมายโดยกว้างหมายถึงอาการที่เกี่ยวกข้องกับการสูญเสียระบบความคิดและการทำงานของความคิด

โรคอัลไซเมอร์คือโรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งเกิดจากรอยแผลและรอยหยักที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นในสมอง อาการเริ่มต้นจะค่อยๆเกิดขึ้นและอาการส่วนใหญ่ได้แก่การสูญเสียความสามารถด้านความคิดและการทำความเข้าใจรวมไปถึงความสามารถทางด้านภาษา

โรคสมองเสื่อมประเภทอื่นได้แก่ โรคฮันฮิงตัน โรคพากินสันและโรคสมองฝ่อ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถมีอาการของโรคสมองเสื่อมได้มากกว่าหนึ่งประเภท

โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายไปได้เนื่องจากเซลล์สมองที่ตายไปไม่สามารถเกิดขึ้นให้ได้อีก

อย่างไรก็ตามมีการรักษาแบบบำบัดเเละการเยียวยาเพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่กับโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลจากสถาบันโรคอัลไซเมอร์ได้แนะนำปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ดังต่อไปนี้

  • การจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์
  • มีโปรแกรมรักษาวันต่อวันหรือการทำกิจกรรมประจำวัน
  • ควรจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มและเน้นการมีส่วนร่วม

การใช้ยารักษาโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ไม่มียารักษาแต่มีการรักษาทางเลือกอื่นที่สามารถลดอาการของโรคเเละพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ยากลุ่มแอนติโคลีนเอสเทอเรสเป็นยาที่นำมาใช้บรรเทาอาการโรคอัลไซเมอร์ 

  • ยา Donepezil (Aricept)
  • ยา Rivastigmine (Exelon)
  • ยา Tacrine (Cognex)

ยาประเภทอื่นได้แก่กลุ่มเมแมนทีน (ชื่อการค้า Namenda) เป็นสารต้านตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (NMDA) สามารถนำมาใช้เพียงตัวเดียวหรือใช้ยาประเภทร่วมกับยากลุ่มแอนติโคลีนเอสเทอเรสก็ได้

การรักษาอัลไซเมอร์ด้วยวิธีอื่น

การรักษาด้วยการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ

ผลจากงานวิจัยที่ทดสอบเรื่องโรคอัลไซเมอร์ในหนู ตีพิมพ์เมื่อปี 2016 พบว่าต้องใช้เวลาหนึ่งวันเพื่อฟื้นฟูความทรงจำของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะเเรก 

ระยะของโรคอัลไซเมอร์

ระยะของโรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลักได้แก่ 

  • ระยะพรีคลีนิคหรือระยะก่อนเกิดโรค
  • ความสามารถในการนึกคิดบกพร่อง
  • โรคสมองเสื่อม

นอกจากนี้สถาบันโรคอัลไซเมอร์ได้แบ่งระยะของโรคอัลไซเมอร์ไว้ 7ระดับโดยแบ่งตามความต่อเนื่องของความจำที่เสื่อมลงขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของอาการ

การวัดระดับมีตั้งเเต่ไม่พบความบกพร่องไปจนถึงมีความบกพร่องปานกลางและขั้นสุดท้านคือ “เกิดความบกพร่องที่รุนเเรงมาก”

สำหรับการวินิจฉัยโดยปกติใช้เพียงสี่ระยะหรือแบ่งประเภทเป็นโรคอัลไซเมอร์ “ระยะปานกลางหรือเริ่มต้น”

สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์

  • โรคอัลไซเมอร์คือโรคสมองเสื่อมทั่วไป
  • โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อมีแผลที่ประกอบด้วยสารโปรตีนเบตาแอมีลอยด์เกิดขึ้นในสมอง
  • อาการที่รุนเเรงที่สุดคือผู้ป่วยไม่สามารถจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 
  • ในท้ายที่สุดผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ต้องมีผู้ช่วยเหลือเป็นพิเศษ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *