ภาวะโลหิตจาง (Anemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะโลหิตจาง (Anemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

11.10
4188
0

โรคโลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะที่ร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงอย่างเพียงพอ ที่จะนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยและอ่อนแอ

โรคโลหิตจางมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุแตกต่างกันไป โรคโลหิตจางสามารถเกิดขึ้นได้ชั่วคราว หรือระยะยาว ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง หากสงสัยว่าเป็นโรคโลหิตจางโปรดพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

การรักษาโรคโลหิตจางได้แก่ การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การรับประทานยา อาหารเสริม ไปจนถึงวิธีการทางการแพทย์อื่นๆ

ประเภทของโรคโลหิตจาง

  1. โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
  2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  3. โรคโลหิตจางเซลล์เคียว
  4. ธาลัสซีเมีย
  5. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

อาการโรคโลหิตจาง

อาการโลหิตจางขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการขึ้น โดยอาการของโรคโลหิตจางมีดังนี้ :

  • เหนื่อยล้า
  • อ่อนเพลีย
  • ผิวซีด
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ
  • เจ็บหน้าอก
  • มือและเท้าเย็น
  • ปวดหัว

นอกจากนั้นผู้มีโลหิตจางอาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง เคยออกกำลังกายได้หรือเดินขึ้นบันไดหลายชั้นได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้เพราะรู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นแรง อาจมีอาการปวดศีรษะตุ้บๆ ง่วงนอนบ่อย นอนมากกว่าปกติ บางคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอาจจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกง่าย หรือหัวใจวาย ส่วนในเด็ก โลหิตจางอาจทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน เรียนไม่ดี ในผู้ที่โลหิตจางเป็นเร็ว คือเลือดลงเร็วในระยะเวลาอันสั้น จะมีอาการมาก ส่วนผู้ที่โลหิตจางเกิดขึ้นช้าๆ อาการอาจไม่มากเนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว

สาเหตุของโรคโลหิตจาง

โลหิตจากนั้นเกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจาก

  • ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ
  • เลือดออกปริมาณมาก ทำให้สูญเสียเม็ดเลือดแดงเร็วเกินกว่าที่จะทดแทนได้
  • ภูมิคุ้มกันผิดปกติเกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง

สาเหตุของโรคโลหิตจากมีดังนี้:

  • การขาดธาตุเหล็ก โรคโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุดนี้เกิดจากการขาดแคลนธาตุเหล็กในร่างกาย ไขกระดูกต้องการธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน หากไม่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอร่างกายจะไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ปกติ โรคโลหิตจางประเภทนี้จะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์เป็นส่วนใหญ่ และพบในผู้ที่สูญเสียเลือดอย่างมาก
  • การขาดวิตามันที่จำเป็น นอกจากธาตุเหล็กแล้วร่างกายของคุณยังต้องการโฟเลตและวิตามิน B-12 เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอ บางคนที่บริโภค B-12 เพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินได้ ทำให้ไปสู่โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามิน
  • การอักเสบและภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคบางอย่างเช่น มะเร็ง HIV / เอดส์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไตและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ทำการรบกวนการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • เกิดจากไขกระดูกฝ่อ เป็นโรคโลหิตจางที่หายากและเป็นอันตรายถึงชีวิตนี้ เกิดจากร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ เช่น การติดเชื้อ ยาบางชนิด โรคแพ้ภูมิตัวเอง และการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ
  • เกิดจากโรคไขกระดูก โรคต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง โดยส่งผลต่อการผลิตเลือดในไขกระดูก
  • เกิดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วเกินกว่าที่ไขกระดูกจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่แทนที่ได้ โรคเลือดบางชนิดเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดแดง
  • เกิดจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รูปแบบของฮีโมโกลบินมีข้อบกพร่องทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างเสี้ยวคล้ายเคียวที่ผิดปกติ เซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้จะตายหมดอายุเร็วกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเซลล์เม็ดเลือดแดง

ภาวะแทรกซ้อนของโลหิตจาง

หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้มีปัญหาสุขภาพดังนี้:

  • อ่อนเพลียอย่างรุนแรง โรคโลหิตจางรุนแรงอาจทำให้คุณเหนื่อยมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โรคโลหิตจางอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ (arrhythmia) โรคโลหิตจางทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น เพื่อชดเชยการขาดออกซิเจนในเลือด โดยสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจโตหรือหัวใจล้มเหลว
  • ความตาย โรคโลหิตจางบางชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางชนิดรูปเคียวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามชีวิตได้ ทำให้เกิดการขาดแคลนเซลล์เม็ดเลือดแดงอย่างรุนแรง จนสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้

แนวทางป้องกันโลหิตจาง

เริ่มจากละเว้นการทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก เช่น ชา กาแฟ โอเลี้ยง รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงมากๆ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ตับสัตว์ ไข่แดง เลือกสัตว์ ผักใบเขียว เช่น กระเพรา ชะพลู แมงลัก ผักบุ้งจีน ชะอม ผักกระเฉด กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง เพื่อส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง หมั่นสังเกตุว่ามีเลือดออกเรื้อรังจากที่ใดหรือไม่ เช่น ทางเดินอาหาร (ริดสีดวงทวาร หรือมีถ่ายอุจจาระดำปี๋หรือไม่ มีอาการโรคกระเพาะหรือไม่ เลือดออกตามไรฟันหรือไม่)

การรักษาโรคโลหิตจาง

ทำได้โดยระดับรักษาสาเหตุของการเสียเลือดเรื้อรัง(ถ้ามี) เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร ถ้ามีเลือดประจำเดือนมาก อาจปรึกษากับนรีแพทย์เพื่อทำการรักษา ถ้ามีพยาธิในลำไส้ก็ทำการถ่ายพยาธิ ถ้าโลหิตจางเกิดจากการขาดสารอาหาร แพทย์ก็จะให้ยาที่เสริมสารอาหาร หรือ ธาตุเหล็ก แต่ถ้าเป็นโลหิตจางจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น โรค Thalassemia ซึ่งอาจต้องตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบสาเหตุแน่นอนและได้รับการรักษาจำเพาะ และในกรณีนี้หากจะแต่งงานควรพบแพทย์พร้อมกับคู่สมรส และควรตรวจเลือดคู่สมรสด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโลหิตจาง Thalassemia ที่รุนแรงในเด็กที่จะเกิดมาด้วย

ทั้งนี้หากมีภาวะโลหิตจางควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคก่อน เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *