ข้ออักเสบ (Arthritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ข้ออักเสบ (Arthritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.03
1276
0

โรคข้ออักเสบ (Arthistis) อาจเกิดจากเพียงโรคต่าง ๆ ได้ เป็นอาการที่มีผลต่อบริเวณข้อต่อของร่างกาย บริเวณข้อต่อคือจุดที่กระดูก 2 ชิ้นขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า หากเกิดอาการข้ออักเสบจะทำให้รู้สึกไม่สบายและเจ็บปวดได้

อากาจอาจมีเพียงเล็กน้อยจนรุนแรงมากขึ้น และสามารถเกิดอาการได้ในทุกเพศทุกวัย โดยอาการข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในโรค 3 ประเภท ได้แก่

โรคข้ออักเสบ ประเภทอื่น ๆ ได้แก่ :

Arthritis

สาเหตุของข้ออักเสบ

สาเหตุของโรคข้ออักเสบมีหลายประการ แต่ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด ข้ออักเสบส่วนมากเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเนื้อเยื่อของข้อต่อ ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม

นอกจากปัญหาระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ระบบเผาผลาญของร่างกายก็ทำให้เกิดข้ออักเสบได้เช่นกัน เช่น โรคเกาต์ เป็นต้น

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อข้ออักเสบ ได้แก่ :

  • โรคอ้วนที่ทำให้ข้อต่อตึงเครียดมากขึ้น

  • กิจกรรมที่ทำให้ข้อต่อถูกใช้งานแบบซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน

  • ความเสียหายที่เกิดบริเวณข้อต่อ อย่างการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

นอกจากนี้พบปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ หากสูบบุหรี่ และออกกำลังกายไม่เพียงพอ

อาการข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อเรียกว่า ‘reactive arthritis’ เป็นอาการที่วินิจฉัยได้ยาก และสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ มักพบในผู้ที่อายุยังน้อย โดยทำให้เกิดอาการข้ออักเสบนานประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือน

อาการของข้ออักเสบ

อาการของโรคข้ออักเสบในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน แต่อาการจะเกิดบริเวณข้อต่อ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้:

  • ความเจ็บปวด

  • ข้อต่อบวม

  • ข้อต่อแดง และรู้สึกร้อน

  • ข้อต่อแข็ง หรือเคลื่อนไหวลำบาก

บางกรณีอาจพบอาการที่ไม่ใช่บริเวณข้อต่อ โดยมีอาการดังต่อไปนี้ :

  • เหนื่อยง่าย

  • น้ำหนักลด

  • รู้สึกไม่สบายตัว

การรักษาอาการข้ออักเสบ

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ หากเกิดอาการปวด และตึงที่ข้อต่อโดยไม่ทราบสาเหตุนานมากกว่า 3 วัน หรือเมื่อเกิดอาการบวมแดง และอุ่นที่ข้อต่อ การรักษาทันทีจะช่วยให้ไม่เกิดอาการที่แย่ลง หรือก่อให้เกิดความเสียหายที่ข้อต่อในระยะยาว

การรักษาด้วยยา

ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ หรือยาบรรเทาอาการของโรค (ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ DMARDs ใช้สำหรับอาการข้ออักเสบที่เกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก และโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

กรณีที่อาการรุนแรงอาจพิจารณษผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ

การรักษาด้วยการปรับวิถีการใช้ชีวิต

การทำสมาธิสามารถจัดการความรู้สึกเจ็บปวดได้ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงก็สามารถช่วยควบคุมอาการได้ การจัดการที่ช่วยรักษาอาการข้ออักเสบ มีดังต่อไปนี้:

อาหาร : การรับประทานอาหารที่ดีจะส่งผลดีสุขภาพ อาหารที่ดียังช่วยควบคุมน้ำหนักทำให้สุขภาพดีได้ โดยช่วยลดแรงกดบริเวณข้อต่อได้ จึงสามารถลดอาการปวดข้อได้

การรับประทานไขมันที่ดี อย่างไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันโอเมก้า 3 และหลีกเลี่ยงไขมันที่ไม่ดี อย่างไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนยังช่วยลดอาการของข้ออักเสบได้ แม้ว่าจะไม่เห็นผลทันทีเหมือนการใช้ยา แต่ก็ไม่มีผลข้างเคียง และยังมีประโยชน์อื่น ๆ ต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

หากมีอาการของข้ออักเสบให้เลือกรับประทาน ดังนี้:

  • อาหารที่โภชนาการครบถ้วน

  • อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนที่มี ปลา ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วในฝัก น้ำมันมะกอก ผลไม้ และผักชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ

  • ไขมันอิ่มตัวที่ดีที่อยู่ในพืชบางชนิด เช่น อะโวคาโด ถั่ว และธัญพืชชนิดต่าง ๆ

  • อาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 พบมากในเนื้อปลา

  • อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันเต็ม

  • อาหารที่ให้พลังงานน้อย เช่น อาหารลดไขมัน และน้ำตาล เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำหนัก

  • ผลิตภัณฑ์นมที่มีแคลเซียมเพียงพอจะช่วยลดโอกาสเกิดข้ออักเสบ แคลเซียมในผลิตภัณฑ์นมมีความสำคัญต่อกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน (กระดูกอ่อนแอและเปราะ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมได้แก่ผลิตภัณฑ์จากนม (นมสด ชีส และโยเกิร์ต) ถั่ว ธัญพืช และปลา อย่างปลาซาร์ดีนหรือปลาแฮริ่ง (จะยิ่งดีหากรับประทานทั้งก้าง)

กรณีเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีน (เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารที่ใช้ยีสต์เป็นส่วนประกอบ)

การรับประทานผลไม้ที่ฤทธิ์เป็นกรด อย่างมะนาว ส้ม และเกรปฟรุต และผักบางชนิดอย่างมันฝรั่ง มะเขือยาว และพริกจะส่งผลให้อาการแย่ลงได้ ซึ่งผู็ป่วยสามารถขอคำแนะนำเจากแพทย์หรือนักโภชนาการได้

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการข้ออักเสบ การออกกำลังกายมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้ :

  • ปรับสมดุลของร่างกาย

  • เสริมกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อรองรับข้อต่อ

  • ลดอาการตึงของข้อต่อ

  • ลดความเจ็บปวด และความเครียดของข้อต่อ

  • ลดความเหนื่อยล้า และภาวะซึมเศร้า

  • ทำให้เคลื่อนที่ได้สะดวก

  • เพิ่มพลัง และอารมณ์ที่ดี

  • นอนหลับง่ายขึ้น

ประเภทของการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ ต้องพิจารณาจากประเภทของโรค และรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม พยายามเลือกการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ และเลือกกิจกรรมที่ชอบ

การออกกำลังกาย 3 ประเภทช่วยรักษาอาการข้ออักเสบคือ:

  • การเคลื่อนไหวร่างกาย – ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และเสริมบุคลิกภาพ อย่างการว่ายน้ำ การทำไทชิ และตีกอล์ฟ
  • การเสริมสร้างความเข้มแข็ง – เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้น อย่างการเล่นเวท
  • แอโรบิค – เป็นการกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยให้ร่างกายและหัวใจแข็งแรง อย่างการเล่นแอโรบิค การเดินเร็ว ปั่นจักรยานและเทนนิส

การวินิจฉัยอาการข้ออักเสบ

แพทย์จะตรวจสอบอาการและซักถามรายละเอียดจากผู้ป่วย เพื่อหาสัญญาณของข้ออักเสบหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงการอักเสบ หรือสัญญาณอื่น ๆ ของข้ออักเสบ บางครั้งอาจมีการนำตัวอย่างของเหลวจากข้อต่อไปตรวจสอบ ทำการเอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์ หรือ CT scan เพื่อหาความเสียหายที่เกิดขึ้นบนกระดูกอ่อนหรือข้อต่อ

ข้ออักเสบบางประเภทอาจวินิจฉัยได้ยาก จึงต้องตรวจสอบซ้ำ 2 – 3 ครั้ง

วิธีการรักษาข้ออักเสบคือการควบคุมอาการ และป้องกันความเสียหายของข้อต่อที่เกิดโรค การรักษาของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของโรค ผลกระทบและอาการของผู้ป่วย การรักษาอาจรวมถึง:

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *