โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.04
1898
0

โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) คือ การกินมากเกินไป ซึ่งบ่อยครั้งจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล 

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง โดยส่วนมากจะพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น และมีความเชื่อมโยงอย่างมากเกี่ยวกับความมั่นใจในตัวเอง 

ผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดจะมีอาการ กินแล้วก็รู้สึกผิด การกินไม่หยุดเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นทางออกสำหรับปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ ซึ่งเป็นโรคที่มาจากสาเหตุที่ซ่อนอยู่  แต่ผู้ป่วยจะหยุดกินไม่ได้

การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยหาทางออกได้และควบคุมการกินของตัวเองได้ 

โรคกินไม่หยุดคืออะไร 

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะกินมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเทศกาลหรือการเฉลิมฉลองต่าง ๆ แต่นั่นไม่ใช่สัญญาณของโรคกินไม่หยุด

การกินที่มากเกินไปจนเกิดเป็นโรคนั้นต้องเกิดขึ้นเป็นประจำ และผู้ป่วยเริ่มรู้สึกอายและต้องการที่จะปิดบังพฤติกรรมการกินของพวกเขา 

ซึ่งมันไม่เหมือนกับการกินเพื่อความสุข มันมีแนวโน้มที่จะเกิดจากการกินเพราะมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้หรือมีปัญหาสุขภาพจิตหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ 

 แหล่งข้อมูลนึงกล่าวอีกว่า 40 เปอร์เซนต์หรือมากกว่านั้นของผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดคือผู้ชาย 

อาการของโรคกินไม่หยุด 

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะรับประทานอาหารจำนวนมากและเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ 

The American Psychological Association’s (APA) ได้เพิ่มโรคกินไม่หยุดในรายชื่อของโรคทางจิตเวชในปี 2013 

ซึ่งมีขอบข่ายดังนี้: 

ผู้ที่กลับมากินไม่หยุดและเป็นอย่างต่อเนื่อง 

การกินไม่หยุดรวมไปถึงการ: 

  • การกินไวกว่าปกติ
  • การกินจนรู้สึกอิ่มมากไป 
  • การกินเยอะมากถึงแม้ว่าจะไม่หิว 
  • การกินเพียงลำพัง เนื่องจากรู้สึกอับอายกับปริมาณที่ตัวเองกิน 
  • รู้สึกรังเกียจ ซึมเศร้า หรือรู้สึกผิดหลังกิน 

การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคกินไม่หยุดได้ ผู้ป่วยต้องมีอาการกินไม่หยุดอย่างน้อย  1 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่านั้น 

การกินไม่หยุดนั้นไม่เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มากไป การมีแก๊ส ฟาสติ้ง หรือการใช้ยาถ่าย เหมือนโรคล้วงคอ  (bulimia nervosa) หรือ โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) 

ผลลัพท์คือ การมีน้ำหนักตัวที่มากไป ทำให้เกิด โรคอ้วน เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกินมากไปอาจ: 

  • รู้สึกว่าควบคุมพฤติกรรมการกินไม่ได้ 
  • พยายามลดน้ำหนักหลายครั้งแต่ทำได้ยาก  
  • วางแผนที่จะกินเยอะ และซื้ออาหารเผื่อไว้ก่อน 
  • กักตุนอาหาร 
  • ซ่อนอาหาร 
  • มีความรู้สึกตื่นตระหนก ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล และ สิ้นหวัง 

 การกินที่ผิดปกติและสุขภาพจิต 

โรคกินไม่หยุดอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพจิตที่ซ่อนอยู่ 

อาการที่มักจะมากับโรคกินไม่หยุด มีดังนี้: 

  • โรคเกี่ยวกับอารมณ์และความวิตกกังวล
  • โรคซึมเศร้ารุนแรง 
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ 
  • โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง 
  • การใช้แอลกอฮอลล์และสารเสพติดอย่างผิด ๆ 
  • ความผิดปกติทางบุคลิกแบบก้ำกึ่ง

Binge Eating Disorder

มันสามารถทำให้เกิดความท้าทายทางความรู้สึกที่มากขึ้นอีกได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีวงจรของความรู้สึกผิด ดังนี้:

  1. รู้สึกสิ้นหวังที่เป็นโรคกินไม่หยุดและหาทางออกไม่ได้ 
  2. รู้สึกผิด 
  3. พยายามบังคับตัวเอง 
  4. กินเยอะอีกครั้ง 

การมีความมั่นใจในตัวเองต่ำเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในโรคที่เกี่ยวกับการกิน รวมไปถึงโรคกินไม่หยุดด้วย การกินไม่หยุดทำให้เกิดการกล่าวโทษตัวเองและไปทำลายการเห็นคุณค่าในตัวเอง 

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์ 

โรคกินไม่หยุดส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้ป่วย 

ผู้ที่รู้สึกว่ามีปัญหากินมากเกินไปควรพบแพทย์ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติก็ตาม 

แพทย์อาจทำการเช็คโรคอื่น ๆ ให้ด้วย เช่น โรคหัวใจ หรือ ปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี เพราะโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคกินไม่หยุดได้ 

ผู้ป่วยมักจะรู้สึกลำบากใจที่จะบอกคนอื่นว่าพวกเขาเป็นโรคกินไม่หยุด รวมไปถึงหมอด้วย อย่างไรก็ตาม การรักษาจะช่วยทั้งการควบคุมการกินไม่ได้และปัญหาทางอารมณืที่ซ่อนอยู่ 

ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกอับอายและแยกตัวออกจากคนอื่น การหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ เช่น โรควิตกกังวล และซึมเศร้า สามรถช่วยแก้ปัญหาได้ 

การรักษาโรคกินไม่หยุด 

การรักษามีวัตถุประสงค์ที่จะ: 

  • ลดความถี่ของการกินไม่หยุด
  • ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น 

การรักษาโรคกินไม่หยุดนั้นโดยปกติแล้วจำทำพรอมกันในหลาย ๆ ด้าน 

การให้คำปรึกษา

นักบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกผิด ละอาย และไม่มั่นใจในตนเอง เช่นเดียวกับ การวิตกกังวล ความซึมเศร้า และอื่น ๆ 

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นวิธีใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหา และผู้ที่ให้คำปรึกษาทางโภชนาการสามารถ่วยให้ผู้ป่วยสร้างพฤติกรรมการกินที่ดีขึ้นได้ 

การรักษาด้วยยา 

การรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้า เช่น Prozac อาจช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ซึมเศร้า กลัวสังคม โรคย้ำคิดย้ำทำ ได้ และแพทย์ก็อาจจ่ายยาระงับอาการหิวให้ด้วย

การรักษาอื่น ๆ 

กลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือ: การเข้าร่วมกลุ่มสามารถช่วยขจัดความรู้สึกโดดเดี่ยวได้ 

การควบคุมน้ำหนัก: ความต้องการหลักของการรักษาคือการหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ที่ทำให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ตาม การสร้างนิสัยการกินที่ดีจะทำให้ผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักได้ในระยะยาว 

อย่างไรก็ตาม  ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ควรลดน้ำหนักในระหว่างการรักษา เพราะจะไปทำให้การรักษาซับซ้อนขึ้นและทำให้อาการแย่ลง 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *