นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones) : อาการ สาเหตุ การรักษา

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stones) : อาการ สาเหตุ การรักษา

15.02
662
0

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stones) เกิดจากการรวมตัวของตะกอนก่อตัวเป็นก้อนคล้ายก้อนหินของแร่ธาตุ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุเพศชาย นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมักทำให้เกิดอาการป่วย ไม่สบายตัว แต่มีทางเลือกในการรักษามากมาย

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะคืออะไร

โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือเรียกว่า ก้อน ผลึกแคลเซียม เกิดจากการรวมตัวกันของแร่ธาตุ ซึ่งจะเกิดก็ต่อเมื่อกระเพาะปัสสาวะยังมีน้ำปัสสาวะหลงเหลืออยู่ภายหลังการปัสสาวะ

เมื่อปัสสาวะที่เหลืออยู่มีความเข้มข้นและมีแร่ธาตุรวมอยู่ด้วย

บางครั้ง นิ่วดังกล่าวจะเคลื่อนผ่านไปได้หากยังมีขนาดเล็กมาก บางครั้งนิ่วจะไปติดอยู่ที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อไต(ท่อส่วนต่อจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ)

หากสิ่งนี้เกิดขึ้น เหล่านิ่วจะค่อยๆรวมตัวเป็นก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้ในบางครั้งและไม่ก่อให้เกิดอาการเสมอไป จะพบก็ต่อเมื่อเอกซเรย์ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่แตกต่างกันออกไป

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องเอาออกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

บางครั้งอาจเกิดนิ่วเพียงก้อนเดียว กรณีอื่นนิ่วอาจรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมา มีรูปร่างแตกต่างกันไป บางส่วนเกือบจะเป็นทรงกลม ในขณะที่บางส่วนอาจมีรูปร่างผิดปกติ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่เล็กที่สุดจนแทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่บางก้อนก็สามารถเติบโตจนน่าประหลาดใจ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่ใหญ่ที่สุด บันทึกโดย Guinness World Records มีน้ำหนักถึง 4 ปอนด์ 3 ออนซ์ และวัดได้ 17.9 x 12.7 x 9.5 ซม.

อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

อาการนิ่วในกระเพาะปัสสาวะอาจไม่แสดงอาการในทันที แต่หากก้อนทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ไม่สุขสบาย หรือปวดบริเวณอวัยวะเพศในผู้ชาย

  • ปัสสาวะเป็นประจำมากขึ้น หรือหยุดไหล

  • ใช้เวลาในการปัสสาวะนานขึ้น

  • ปวดท้องน้อย

  • รู้สึกปวดและไม่สุขสบายเมื่อปัสสาวะ

  • ปัสสาวะมีเลือดปน

  • ปัสสาวะมีสีขุ่น หรือสีเข้มผิดปกติ

สาเหตุของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเริ่มโตขึ้นเมื่อมีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะภายหลังปัสสาวะเสร็จ ซึ่งมักเกิดจากโรคประจำตัวที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะขับปัสสาวะออกมาไม่หมดเมื่อเข้าห้องน้ำ

ภาวะที่หยุดไม่ให้กระเพาะปัสสาวะขับปัสสาวะออกจนหมด ได้แก่:

  • ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ (Neurogenic bladder): หากระบบประสาทดังกล่าวที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับระบบประสาทถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal injury) กระเพาะปัสสาวะจะไม่ขับปัสสาวะออกจนหมด

  • ต่อมลูกหมากโต (Prostate enlargement): หากต่อมลูกหมากเกิดโตขึ้นมา มันจะไปกดท่อปัสสาวะและเป็นเหตุให้ไปขัดขวางทางเดินของปัสสาวะ เกิดปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ

  • อุปกรณทางการแพทย์: การใส่สายสวนสามารถทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ โดยใส่สายสวน หรืออุปกรณ์การแพทย์อื่นๆเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ: การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือการฉายแสงบำบัดทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายใหญ่ขึ้นได้

  • นิ่วในไต (Kidney stones): นิ่วในไตสามารถเคลื่อนลงมาที่ท่อไต และหากมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะผ่านไปได้ ก้อนนิ่วจะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะและเป็นเหตุให้เกิดการอุดตันได้ โดยนิ่วในไตพบได้บ่อยกว่านิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

  • ถุงน้ำในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder diverticula): ถุงสามารถก่อตัวขึ้นภายในกระเพาะปัสสาวะ หากถุงดังกล่าวมีขนาดใหญ่ขึ้นมาจะสามารถกลั้นปัสสาวะและป้องกันไม่ให้กระเพาะปัสสาวะระบายปัสสาวะออกจนหมดได้

  • กระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele): ในผู้หญิง ผนังกระเพาะปัสสาวะจะอ่อนแอและหย่อนลงไปในช่องคลอด ซึ่งอาจส่งผลต่อการไหลของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ด้านล่างเป็นปัจจัยบางประการที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ:

  • อายุและเพศ: เพศชายมักเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้มากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • อัมพาต: ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงที่กระดูกสันหลังและสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกรานจะไม่สามารถขับปัสสาวะจนหมดกระเพาะปัสสาวะได้
  • การอุดตันภายนอกกระเพาะปัสสาวะ: บางภาวะที่ไปขัดขวางการไหลของปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะสู่ภายนอกนั้น มีไม่กี่วิธีที่สามารถขัดขวางกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งโดยทั่วไปคือต่อมลูกหมากโต
  • การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะเทียม: เป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่งที่รักษาภาวะปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงที่อาจนำไปสู่การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้
Bladder stones

ภาวะแทรกซ้อน

แม้ว่านิ่วในกระเพาะปัสสาวะบางชนิดจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ก็ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ได้เอานิ่วออก ภาวะแทรกซ้อนหลักสองประการคือ:

  • ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง: การปัสสาวะบ่อยๆ ที่ปวดและไม่สุขสบาย บางครั้งนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถอุดกั้นไม่ให้ปัสสาวะออกได้อย่างสมบูรณ์

  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ: การติดเชื้อซ้ำ

การตรวจและวินิจฉัย

การวินิจฉัยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะรวมถึงการตรวจทดสอบต่างๆดังนี้:

  • การตรวจร่างกาย: แพทย์จะวางมือบนท้องส่วนล่างเพื่อตรวจว่ากระเพาะปัสสาวะใหญ่ขึ้นหรือไม่ อีกทั้งอาจตรวจทางทวารหนักเพื่อตรวจหาต่อมลูกหมากโต

  • การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ: การเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งตรวจหาสัญญาณของเลือด, แบคทีเรีย และผลึกแร่ธาตุ

  • CT scanแบบเกลียว: CT scans จะประกอบไปด้วยการ X-ray ภาพที่หลากหลายเพื่อสร้างภาพอวัยวะภายในที่ละเอียด

  • อัลตราซาวด์: สร้างภาพโดยการส่งคลื่นเสียงสะท้อนไปในอวัยวะภายใน

  • X-ray: ไม่ใช่นิ่วในกระเพาะปัสสาวะทุกชนิดจะ X-ray แล้วเห็นภาพนิ่ว

  • การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจดูระบบทางเดินปัสสาวะ (Intravenous pyelogram): เป็นการฉีดสารพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดดำ โดยสารจะผ่านไปยังไตและกระเพาะปัสสาวะ ระหว่างที่ดำเนินกระบวนการนี้ ก็จะมีการ X-ray เพื่อหาสัญญาณของนิ่วในไต

การรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

หากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะถูกพบในขณะที่มันยังมีขนาดเล็ก การดื่มน้ำมากๆจะสามารถช่วยให้ก้อนนิ่วผ่านออกมาได้ตามธรรมชาติ

หากมันมีขนาดใหญ่เกิดกว่าที่จะผ่านออกมากับปัสสาวะได้ การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะโดยปกติจะทำให้ก้อนแตกออก หรือนำออกมาด้วยการผ่าตัด

การทำให้ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแตก

ในขั้นตอนนี้เรียกว่า Cystolitholapaxy แพทย์จะทำการสอดท่อบางๆโดยมีกล้องอยู่ที่ส่วนปลาย สอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ (สอดจากปลายอวัยวะเพศชาย  หรือช่องเหนือช่องคลอด) แพทย์จะเห็นภาพก้อนนิ่วผ่านท่อดังกล่าวและทำการสลายก้อนนิ่วได้

แพทย์จะใช้เลเซอร์, อัลตราซาวด์ หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อสลายก้อนนิ่วก่อนที่จะล้าง(หรือดูดออกมา) ออกมา ขั้นตอนนี้จะดำเนินการภายใต้ยาระงับความรู้สึก

ภาวะแทรกซ้อนจากการทำ Cystolitholapaxy พบได้น้อย แต่สามารถเกิดการฉีกขาดของผนังกระเพาะปัสสาวะ และเกิดการติดเชื้อได้

การผ่าตัดเอาออก

หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่เกิดไปที่จะสลายได้ด้วยวิธี Cystolitholapaxy การผ่าตัดก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา ศัลยแพทย์จะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะโดยการผ่าหน้าท้องและเอานิ่วในกระเพาะปัสสาวะออก ในขั้นตอนการผ่าตัดใดๆก็มีความเสี่ยง ดังนั้น วิธี Cystolitholapaxy จึงเป็นตัวเลือกในการรักษาแรกเสมอ

การป้องกันโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

เนื่องจากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเกิดจากความเจ็บป่วยทางการแพทย์หลายอย่างจึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ดี หากบุคคลใดมีอาการปัสสาวะแปลกๆ เช่น ปวด  ไม่สบายตัว  มีเลือดออกเมื่อปัสสาวะ  ควรรีบไปพบแพทย์ การดื่มของเหลวมากจะช่วยสลายนิ่วที่กำลังพัฒนาได้

บางคนที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะรู้สึกว่ามีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะ ในกรณีเหล่านี้ควรพยายามปัสสาวะอีกครั้ง หลังจากปัสสาวะครั้งแรกประมาณ 10-20 วินาที สิ่งนี้เรียกว่า Double voiding จะสามารถช่วยป้องไม่ให้นิ่วก่อตัวได้

มีบางงานวิจัยรายงานว่าหากคุณมีต่อมลูกหมากโตอยู่แล้ว การนั่งลงเพื่อปัสสาวะจะช่วยให้แน่ใจว่ากระเพาะปัสสาวะได้รับการระบายปัสสาวะออกจนหมด สิ่งนี้จะช่วยป้องกัน หรือชะลอการสะสมของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ประเด็นสำคัญบางประการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและรายละเอียดเพิ่มเติมรวมไปถึงข้อมูลสนับสนุนอยู่ในบทความหลัก

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมักเกิดในชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป

  • โรคประจำตัวมักเป็นสาเหตุให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

  • อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เช่น สีปัสสาวะเปลี่ยนไป และปวดเวลาปัสสาวะ

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเกิดน้อยในผู้หญิง

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกปนมากับปัสสาวะ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *