โรคมะเร็งกระดูก (Bone Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคมะเร็งกระดูก (Bone Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

13.11
1848
0

โรคมะเร็งกระดูก (Bone Cancer) เกิดขึ้นในระบบโครงกระดูกและเชื้อมะเร็งที่ทำลายเนื้อเยื้อกระดูกสามารถกระจายไปยังอวัยวะต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงได้ เช่นปอด โดยปกติการรักษามะเร็งกระดูกประเภทนี้มักใช้วิธีการผ่าตัดและการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นรวมไปถึงการรักษาอาการที่เกิดขึ้น

โรคมะเร็งกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่โรคมะเร็งชนิดปฐมภูมิเเละทุติยภูมิ โดยโรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิเกิดขึ้นในเซลล์กระดูก ส่วนมะเร็งชนิดทุติยภูมิเกิดขึ้นเมื่อเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นกระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายหรือเกิดแบ่งตัวเเละเเพร่กระจายในกระดูก

ข้อมูลจากสถาบันโรคมะเร็งเเห่งชาติระบุว่าการเกิดโรคมะเร็งกระดูกคิดเป็น 1% ของโรคมะเร็งชนิดอื่นๆทั้งหมด สำหรับโรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป

ในบทความนี้เราจะพูดคุยเกี่ยวกับอัตราการรอดชีวิต ประเภท สาเหตุและอาการของโรคมะเร็งกระดูกรวมไปถึงวิธีการรักษาที่ใช้รักษา

Bone Cancer

การรักษาโรคมะเร็งกระดูก

การรักษามะเร็งกระดูกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • ประเภทของโรคมะเร็งกระดูก
  • ตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง
  • ความรุนเเรงของการเกิดมะเร็ง
  • เชื้อมะเร็งเกิดการเเพร่กระจายเเล้วหรือไม่ 

วิธีการรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธีดัวต่อไปนี้ 

การผ่าตัด

ในระหว่างการผ่าตัดมะเร็งที่กระดูกศัลยแพทย์จะนำกระดูกจากส่วนอื่นๆมาปลูกถ่ายเเทนกระดูกที่มีเชื้อมะเร็ง 

การผ่าตัดมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเนื้องอกมะเร็งออกและนำเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่เป็นมะเร็งออก โดยวิธีการรักษานี้เป็นวิธีที่ใช้รักษาโรคมะเร็งกระดูกส่วนใหญ่ 

ถ้าหากศัลยแพทย์ผ่าตัดมะเร็งเเล้วแต่ยังหลงเหลือเนื้อเยื่อที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เนื้อเยื่อที่มีเชื้อมะเร็งนี้จะเติบโตและแพร่กระจายต่อไป

ผ่าตัดเก็บรักษาขาหรือการผ่าตัดเนื้องอกมะเร็งแบบรักษาขาไว้หมายถึงการผ่าตัดที่เกิดขึ้นเพื่อพยายามรักษษอวัยวะที่สำคัญให้คงอยู่เหมือนเดิมโดยไม่ต้องตัดขาออกอย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งขาอีกครั้งจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้ง 

ศัลยแพทย์สามารถนำกระดูกจากส่วนอื่นๆของร่างกายมาผ่าตัดเเทนที่กระดูกที่หายไปได้หรือสามารถใส่กระดูกเทียมได้

อย่างไรก็ตามในบางกรณีแพทย์จำเป็นต้องตัดขาออกพร้อมกับกำจัดเชื้อมะเร็งออกไปแต่วิธีการนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก

การฉายเเสงบำบัด

การฉายเเสงบำบัดเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยทั่วไป

การฉายเเสงทำโดยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้นสูงไปที่เซลล์มะเร็งเป้าหมายเพื่อทำลายเชื้อมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายเเสงบำบัดไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดมะเร็งกระดูกอีกต่อไป

การรักษามะเร็งกระดูกด้วยวิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการรักษามะเร็งชนิด Ewing sarcoma ซึ่งเป็นมะเร็งในกระดูกและเนื้อเยื่อ 

การรักษามะเร็งด้วยวิธีการที่ผสมผสานกันระหว่างการฉายเเสงบำบัดเเละการรักษาวิธีอื่นๆ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีมากขึ้น

การใช้เคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัดเป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งชนิด Ewing sarcoma ที่เป็นมะเร็งในกระดูกและเนื้อเยื่อหรือได้การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาซึ่งเป็นมะเร็งที่มักเกิดขึ้นบริเวณกระดูกหน้าแข้งโดยปกติจะได้รับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด  

และเเพทย์อาจจะเเนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายเเสงและการทำเคมีบำบัดร่วมกัน

การรักษาด้วยไอเย็น

ในบางกรณีการรักษาด้วยวิธีนี้อาจนำมาใช้เเทนการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อหรือก้อนเนื้อมะเร็งออกด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลวเเช่ก้อนเนื้อมะเร็งให้เเข็งและจากนั้นจึงทำลายก้อนเนื้อมะเร็ง

การใช้ยารักษามะเร็งด้วยการใช้ยาตรงจุด 

การรักษาประเภทนี้เป็นการรักษาด้วยยาที่นักวิทยาศาตร์ได้ออกเเบบมาเพื่อออกฤทธิ์ตรงจุดกับโมเลกุลของเซลล์มะเร็งเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต

ยา Denosumab (Xgeva) เป็นการรักษาด้วยแอนติบอดี้ชนิดโมโนโคลนที่ใช้ในการรักษาประเภทใช้ยาตรงจุด โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองเเล้วว่ายาชนิดนี้สามารถใช้ได้กับทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่ที่เป็นโรคมะเร็งโครงกระดูกทั่วทั้งร่างกาย

ยา Denosumab สามารป้องกันการเกิดมะเร็งกระดูกชนิดออสทีโอซาร์โคมาที่เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกหน้าแข้งได้โดยมะเร็งชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดเเละทำลายเนื้อเยื่อบริเวณกระดูก

ระยะและระดับความรุนเเรง

การเเบ่งระยะเเละระดับความรุนเเรงของโรคมะเร็งกระดูกช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจใช้การวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและมองเห็นภาพรวมของการเกิดโรคมะเร็งได้

ระดับความรุนเเรงของโรคมะเร็งหมายถึงการตรวจเซลล์มะเร็งด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์และทำการประเมินว่าเซลล์มะเร็งนี้มีความแตกต่างจากเซลล์กระดูกที่มีสุขภาพดีอย่างไร

ความรุนเเรงระดับที่ 1 หมายถึงเกิดก้อนเนื้อมะเร็งที่รวมตัวกันอยู่บนกระดูก ในขณะที่ความรุนเเรงระดับที่ 3 หมายถึงเกิดเซลล์ก้อนเนื้อมะเร็งที่ผิดปกติและพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งที่มีความรุนเเรงเพิ่มมากขึ้น

ระยะของโรคมะเร็งบ่งบอกถึงขนาดเเละการเเพร่กระจายเซลล์มะเร็งซึ่งลักษณะของเชื้อมะเร็งแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันโดยแต่ละระยะแบ่งเป็น 2 ระยะย่อย โดยความรุนเเรงของโรคมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 

สามารถวัดขนาดของก้อนเนื้อมะเร็งได้ขนาดน้อยกว่าหรือมากกว่า 8 เซนติเมตรและเชื้อมะเร็งยังไม่ได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มะเร็งในระยะนี้มีความรุนเเรงน้อยและเเพทย์ไม่สามารถตรวจหาเซลล์มะเร็งได้ด้วยการตรวจร่างกาย

โดยส่วนใหญ่มะเร็งกระดูกระยะที่ 1 สามารถรักษาได้

ระยะที่ 2

มะเร็งระยะที่ 2 อากเป็นก้อนเนื้อมะเร็งที่มีขนาดเท่ากับมะเร็งระยะที่ 1 แต่มีความรุนเเรงมากกว่า

ระยะที่ 3

ก้อนเนื้อมะเร็งในระยะนี้เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 บริเวณของกระดูกชิ้นเดียวกันเเละยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังปอดหรือต่อมน้ำเหลือง โดยมะเร็งระยะที่ 3 นี้จัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนเเรงมาก

ระยะที่ 4

เป็นมะเร็งกระดูกระยะสุดท้ายที่เป็นโรคมะเร็งกระดูกขั้นรุนเเรงที่สุด

ในระยะที่ 4 เป็นระยะที่เชื้อมะเร็งเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของร่างกายและได้แพร่กระจายไปยังปอดหรือต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆเรียบร้อยเเล้ว

การกำหนดระยะของโรคมะเร็งทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างเหมาะสมและทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการเกิดโรคมะเร็งได้ 

อาการมะเร็งกระดูก 

อาการแรกของโรคมะเร็งกระดูก ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเจ็บปวดกระดูกบริเวณที่เกิดมะเร็งอย่างรุนเเรงและรักษาไม่หาย เมื่อเวลาผ่านไปอาการเจ็บปวดมีเเนวโน้มที่รุนเเรงขึ้นและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ที่มีเจ็บปวดไม่รุนเเรงไม่จำเป็นต้องเข้าพบเเพทย์

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งชนิด Ewing sarcoma ซึ่งเป็นมะเร็งในกระดูกและเนื้อเยื่อมีเเนวโน้มที่จะเกิดการเเพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมากกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการบวมในบริเวณที่เกิดโรคมะเร็ง
  • กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ได้ตั้งใจ
  • เกิดก้อนนู้นบวมขึ้นที่บริเวณเกิดมะเร็ง

แม้ว่าเป็นส่วนน้อยมากที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกจะมีอาการเป็นหวัดเเละเป็นไข้รวมถึงมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน 

บทสรุป

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกระดูกโดยส่วนใหญ่เเล้วความรุนเเรงขึ้นอยู่กับการเเพร่กระจายของเชื้อมะเร็งว่าเซลล์มะเร็งนี้ได้เเพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายเเล้วหรือไม่

อัตราการรอดชีวิต 5 ปีพบว่าเปอร์เซนต์ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกภายใน 5 ปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง

ตัวอย่างเช่นผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดที่มีต้นตอมาจากเซลล์กระดูกอ่อน มีโอกาสที่เซลล์มะเร็งจะเเพร่กระจายได้โดยคิดเป็น 91% และสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีก 5 ปีหลังจากวินิจฉัยพบโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตามระยะทางของการเเพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสามารถแพร่ไปยังที่ปอดและมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปีหลังจากตรวจพบมะเร็งลดลง 33% โดยสถาบันโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่าโรคมะเร็งทุกระยะมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปีคิดเป็น 80% ของผู้ป่วย

การตรวจพบโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นจะสามารถทำให้แพทย์สามารถรักษาโรคมะเร็งได้เร็วขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *