อาการขาโก่ง (Bowed Leg) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาการขาโก่ง (Bowed Leg) : อาการ สาเหตุ การรักษา

05.03
4168
0

อาการขาโก่ง (Bowed Leg) คือความผิดปกติของตำแหน่งกระดูกบริเวณรอบหัวเข่า สามารถเกิดความผิดปกติได้ในทุกเพศทุกวัย อาการนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อย่างภาวะขาโก่ง  ขางอ  ขาโค้งเป็นคันธนู  ขาโค้ง  ขาโก่งงอ  เข่าโก่งและ กระดูกหน้าแข้งโก่ง

สาเหตุของขาโก่ง

สาเหตุของขาโก่งทีหลายสาเหตุ อย่างอาการของโรคเบล้าท์ หรือได้รับบาดเจ็บจนกระดูกหัก และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ร่างกายขาดวิตามิน และได้รับพิษจากสารตะกั่ว

สาเหตุที่ทำให้ขาโก่ง ได้แก่ :

  • พัฒนาการของกระดูกผิดปกติ (โรคกระดูกเจริญผิดปกติ)

  • โรคเบล้าท์ Beltout disease

  • โรคพาเจทของกระดูก (ระบบเผาผลาญของร่างกายส่งผลต่อการแตกตัวและสร้างใหม่ของกระดูก)

  • กระดูกหักที่รักษาไม่ถูกต้อง

  • การรับสารพิษตะกั่ว

  • การรับสารพิษฟลูออไรด์

  • โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเติบโต (พบได้บ่อยที่สุดของคนแคระ)

  • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (โรคกระดูกอ่อนที่เกิดจากการขาดวิตามินดี)

  • ความเสียหายที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติ

โรคเบล้าท์: โรคเบล้าท์ (อาการกระดูกหน้าแข้งโก่ง) เป็นปัญหาที่เกิดจากอัตราการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทำให้โครงสร้างกระดูกบริเวณด้านในหัวเข่า โรคเบล้าท์จะชะลอการเติบโตของกระดูกบริเวณนี้หรือหยุดการเจริญเติบโตอย่างสิ้นเชิง นำไปสู่ลักษณะที่โค้งงอ และอาจทำให้รู้สึกปวดเข่า หรือเข่าอ่อนได้

ความผิดปกติมักเกิดบริเวณด้านข้างของขา (ด้านนอกลำตัว) กระดูกแข้งส่วนอื่นยังคงเติบโตตามปกติ แต่บริเวณตรงกลางของกระดูก (ด้านในลำตัว) กลับไม่เติบโต โรคเบล้าท์อาจส่งเกิดที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง โดยทั่วไปความผิดปกตินี้จะพบที่ด้านบนของกระดูกแข้งซึ่งเป็นกระดูกที่มีขนาดใหญ่ 2 ชิ้น

โรคเบล้าท์สามารถตรวจพบเมื่อเด็กมีอายุ 2 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถพบในเด็กแรกเกิดหรือวัยรุ่นได้ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมีพัฒนาการเดินได้เร็วกว่าปกติ โรคอ้วนก็เป็นสาเหตุของโรคเบล้าท์ได้ ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาโรคนี้อาจมีอาการปวดเข่า และข้อเสื่อมได้

อาการขาโก่ง

ขาโก่งคือภาวะที่ขาของผู้ป่วยมีลักษณะผิดรูปโค้งงอ (งอออกไปด้านนอก) แม้ว่าข้อเท้าจะอยู่ตำแหน่งปกติก็ตาม ตามปกติตำแหน่งของทารกในครรภ์อาจส่งผลให้ทารกมีอาการขาโก่งได้แต่เป็นอาการที่ไม่ถาวรสามารถหายไปได้เมื่อโตขึ้น แต่หากเด็กมีอายุ 3 ขวบแล้วยังมีอาการขาโก่งอยู่ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ด้านกระดูก

ทารกเมื่อแรกคลอดจะมีอาการขางอเนื่องจากในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดาจะอยู่ในท่าพับขาอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น และได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กโตอย่างการยืนหรือเดินขาก็จะเริ่มมีโอกาสรองรับน้ำหนักตัวทำให้อาการงอหายไปได้ ดังนั้นในกรณีที่ขางอจนถึงอายุ 2 ขวบจึงเป็นเรื่องปกติ (โดยปกติจะมีอาการขาโก่งในช่วงอายุ 12 ถึง 18 เดือน) เมื่ออายุ 2 ถึง 3 ขวบมุมของขามักกลับด้าน โดยหัวเข่าจะเริ่มงอเข้าหากัน หลังจากอายุได้ประมาณ 6 ขวบ หัวเข่าของเด็กส่วนมากจึงจะอยู่แนวตรงซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปกติ

ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการของหัวเข่า หรือข้อเข่าผิดปกติ โดยมีลักษณะดังนี้:

  • มุมของกระดูกต้นขาถึงกระดูกหน้าแข้งในเด็กอยู่ผิดรูป
  • ทิศทางของหัวเข่ากับเท้าไม่ตรงกัน
  • ขาข้างหนึ่งงอเป็นมุมมากกว่า (หรือน้อยกว่า) 1 ตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญ
Bowed Leg

อาการที่พบบ่อยที่สุดของอาการขาโก่ง ขาแยกออกจากกันในขณะที่ยืนให้เท้าและข้อเท้าชิดกัน อาการโค้งงอนี้หากเมื่ออายุมากกว่า 3 ขวบแสดงว่าอาการขาโก่ง

อาการอื่น ๆ ที่พบในโรคขาโก่ง คือ :

  • ปวดเข่า หรือสะโพก

  • การเคลื่อนไหวของสะโพกไม่สะดวก

  • เดิน หรือวิ่งลำบาก

  • เข่าอ่อน

  • รู้สึกไม่สบายตัว

หากอาการขาโก่งลุกลามอาจทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่แล้วไม่เข้ารับการรักษาแต่แรก ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอาการขาโก่งเป็นเวลานานหลายปีจะทำให้ส่วนต่าง ๆ รับน้ำหนักมากเกินไป (ช่วงกลางลำตัว) และเอ็นด้านนอกยืด (เอ็นที่อยู่ในโครงสร้างพับใน) ซึ่งนำไปสู่ความเจ็บปวดจากข้อไม่แข็งแรง และอักเสบได้ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดปรับเปลี่ยนข้อเข่าใหม่

การรักษาอาการขาโก่ง

แพทย์จะวินิจฉัยอาการจากประวัติของผู้ป่วย ตรวจร่างกายและเอ็กซเรย์แนวยืนตรงหรือภาพ EOS ของกระดูกขาตั้งแต่สะโพกถึงข้อเท้า เพื่อตำแหน่งขนาด และส่วนของกระดูกที่ผิดปกติ (เกิดลักษณะโค้งงอ)

อาการขาโก่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เวลาที่ผู้ป่วยก้มตัวอาจเกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้ และอาจทำให้ข้อเข่าผิดรูป หรือเสื่อมได้ (โรคข้ออักเสบ) การรักษาจะช่วยให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น เดินได้ดีขึ้น รู้สึกปวดน้อยลง และลดโอกาสการลุกลามที่ทำให้เกิดความเสียหายที่เข่าอย่างรวดเร็ว

วิธีแก้ขาโก่งโดยทั่วไปในกรณีที่อาการไม่รุนแรง ไม่สามารถสังเกตเห็นได้เองหากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์อาจพิจารณาเข้าเฝือกเพื่อแก้อาการ แต่หากการเข้าเฝือกไม่สามารถรักษาอาการได้ก็อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัด

ในขณะที่เด็กกำลังเจริญเติบโต การรักษาด้วยการผ่าตัดจะช่วยให้แขน และขาค่อย ๆ เติบโตได้ตามปกติ

แนวทางในการรักษาด้วยการผ่าตัดคือการแก้ไขกระดูกขาให้ตรง แพทย์จะใช้การ X-ray จะช่วยระบุตำแหน่งและขนาดของความผิดปกติ ซึ่งการผ่าตัดส่วนมากจะใช้รักษาอาการของกระดูกแข้ง แต่ก็สามารถใช้รักษาความผิดปกติของกระดูกโคนขา หรือทั้งโคนขาและหน้าแข้งร่วมกันได้ กรณีความผิดปกติอยู่ในระดับปานกลางจะใช้การปรับรูปกระดูกด้วยเครื่องมือตรึงกระดูก (แผ่นหรือแท่งสอดเข้าไปในขา) เแต่หากเป็นความผิดปกติที่รุนแรงจะต้องรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยด้วยเครื่องมือตรึงจากภายนอกร่างกาย โดยมีตัวยึดจากภายนอกเข้ามาปรับโครงสร้างกระดูกภายในร่างกาย เพื่อยึดติดกับโครงสร้างให้เกิดเสถียรภาพ บางกรณีภาวะที่ขาโก่งที่ทำให้ขาแต่ละข้างไม่เท่ากันก็สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดได้เช่นกัน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *