มะเร็งสมอง (Brain Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งสมอง (Brain Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

08.02
1013
0

มะเร็งสมองคืออะไร

มะเร็งสมอง (Brain Cancer) คือโรคทางสมองที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อสมอง เซลล์มะเร็งจะเติบโตจนเกิดเป็นก้อนเนื้อมะเร็งที่ขัดขวางการทำงานของสมอง เช่น การควบคุมกล้ามเนื้อ  ความรู้สึก  ความจำ และการทำงานของร่างกายตามปกติ

ประเภทของมะเร็งสมอง

มะเร็งสมองเกิดจาก เนื้องอกในสมอง และประเภทของเนื้องอกในสมองที่พบบ่อยที่สุดมักมีชื่อตามประเภทของเนื้อเยื่อสมอง(รวมไปถึงมะเร็งที่ก้านสมอง) ที่ซึ่งเกิดขึ้นเป็นที่แรก

  • เนื้องอกในสมองมี 5 ประเภทได้แก่ gliomas, meningiomas, pituitary adenomas, vestibular schwannomas, and primitive neuroectodermal tumors

  • ชื่อเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงเซลล์ประเภทต่างๆในสมองปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ เมื่อระดับของมะเร็งคู่กับชื่อเนื้องอก จะช่วยให้แพทย์เข้าใจถึงความรุนแรงของมะเร็งสมองได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น gliomaระดับ3 เป็นเนื้องอกที่ลุกลาม ขณะที่ acoustic neuroma เป็นเนื้องอกที่รุนแรงน้อยระดับ 1

  • อย่างไรก็ตาม แม้แต่เนื้องอกที่ไม่เป็นอันตรายก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาร้านแรงตามาได้ หากมีขนาดใหญ่พอที่จพทำให้เพิ่มแรงดันภายในกะโหลกศีรษะ หรือขวางโครงสร้างของเล้นเลือดหรือการไหลเวียนของน้ำไขสันหลัง

สาเหตุของมะเร็งสมอง

เนื้องอกในสมองขั้นต้นเกิดจากเนื้อเยื่อสมองหลายประเภท มะเร็งสมองระยะแพร่กระจายเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นไปยังสมอง อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ปกติไปสู่เซลล์มะเร็ง ทั้งในส่วนของเนื้องอกในสมองระยะแพร่กระจายและเนื้องอกขั้นต้น ข้อมูลที่รวบรวมโดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าผู้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งสมอง

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น การทำงานในโรงกลั่นน้ำมัน, ผู้ดูแลน้ำมันเครื่องบิน หรือสารเคมีเช่นเบนซิน, นักเคมี หรือคนงานในอุตสาหกรรมยาง มีอัตราการเกิดมะเร็งสมองสูงกว่าประชากรทั่วไป บางครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนเป็นมะเร็งสมอง แต่การถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังไม่ได้รับการพิสูจน์ มีการแนะนำปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่, การได้รับรังสี และการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ก็ยังไม่หลักฐานพิสูจน์ว่าก่อให้เกิดมะเร็งสมอง รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือ แม้ว่าบทความในสื่อและเว็บไซด์ จะอ้างว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะทำให้เกิดมะเร็งสมอง แต่องค์การอาหารและยายืนยันว่าไม่ก่อให้เกิดมะเร็งสมองและยังมีการค้นพบจากการศึกษาทางพิษวิทยาและทางคลินิกมากกว่า 100 เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ระดับของโรคมะเร็งสมอง

เนื้องอกในสมองแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเกิดจากเนื้อเยื่อสมองประเภทเดียวกัน การกำนดระดับมะเร็งสมองขึ้นอยู่กับเซลล์เนื้องอกปรากฏในกล้องจุลทรรศน์อย่างไร อีกทั้งระดับมะเร็งสมองยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอัตราการเติบโตของเซลล์ NCI ระดับของมะเร็งสมองมี 4 ระดับดังนี้:

  • Grade I: เนื้อเยื่ออ่อนโยน โดยเซลล์มีลักษณะเกือบเหมือนเซลล์สมองปกติและเติบโตอย่างช้าๆ
  • Grade II: เนื้อเยื่อเป็นมะเร็ง โดยเซลล์มีลักษณะปกติน้อยกว่าเซลล์เนื้องอกในระดับ l
  • Grade III: เนื้อเยื่อมะเร็งมีเซลล์ที่มีลักษณะแตกต่างจากเซลล์ปกติมาก โดยเซลล์ผิดปกติกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีลักษณะผิดปกติอย่างชัดเจน
  • เนื้อเยื่อมะเร็งมีเซลล์ที่มีลักษณะผิดปกติมากที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว
Brain Cancer

ระยะของโรคมะเร็งสมอง

มะเร็งสมองมีการจัดระยะตามประเภทและระดับของเซลล์ เนื่องจากมะเร็งดังกล่าวไม่ค่อยแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ในขณะที่มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปอดจะมีการจัดระยะตามชั้นตอนที่เรียกว่า TMN staging ซึ่งมีพื้นฐานมากจากตำแหน่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไประยะของมะเร็งเหล่านี้เริ่มจากระยะที่ 0 ถึงระยะที่ 4 โดยระยะที่ 4 จะบ่งชี้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งสมอง

แม้ว่าจะมีสัญญาณเตือนในระยะแรกเพียงเล็กน้อย แต่สัญญาณและอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งสมองอาการอาจมีอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้:

  • เห็นภาพไม่ชัด

  • การตื่นตัวเปลี่ยนไป

  • หลับเยอะ

  • ความสามารถทางจิตใจลดลง และหรือวิตกกังวล

  • ปัญหาเกี่ยวกับความจำ

  • การพูดเปลี่ยนไป เช่น ออกเสียงลำบาก

  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป

  • เห็นภาพหลอน

  • อ่อนแรงเพียงส่วนเดียวของร่างกาย

  • มีปัญหาในการประสานงาน

  • อ่อนเพลีย

  • ประสาทสัมผัสลดลง

การตรวจและวินิจฉัย

การตรวจจินิจฉัยโรคมะเร็งสมองเกี่ยวข้องกับการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และผล CT หรือ MRI ของสมอง บางครั้งอาจมีการตัดชิ้นเนื้องสมองส่งตรวจ

การรักษามักจะกำกับโดยทีมแพทย์และออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายโดยเฉพาะ การรักษาอาจรวมไปถึงการผ่าตัด, ฉายแสงบำบัด หรือเคมีบำบัด ซึ่งมักรักษาร่วมกัน ผลข้างเคียงจากการรักษามีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และผู้ป่วยจำเป็นต้องวางแผนกับทีมรักษาเพื่อทำความเข้าใจผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งสมองและภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองมักมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ค่อยดี ส่วนในเด็กมีการพยากรณ์โรคที่ค่อนข้างดี

การตรวจเบื้องตัน การซักประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย ผลการโต้ตอบระหว่างการตรวจนี้จะเป็นตัวกำหนดเองว่าต้องทำการตรวจเฉพาะอย่างอื่นเพิ่มหรือไม่ เช่น การตรวจ CT scan เป็นการตรวจที่มักใช้ในการตรวจหามะเร็งสมอง, X-rays, MRI สมอง จะให้ภาพที่ละเอียดกว่าการทำ CT scan, การตัดชิ้นเนื้อสมองส่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย รวมไปถึงการตรวจเลือด หรือนำ้ไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ หรือแรงดันในกะโหลกศีรษะ

การรักษามะเร็งสมอง

แผนการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์เฉพาะทางด้านสมองจะทำการรักษาตามประเภท  ตำแหน่ง ขนาดของเนื้องอกดังกล่าว รวมไปถึงอายุและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยก็มีส่วนสำคัญในการวางแผนการรักษา ความปรารถนาของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาหาทางเลือกในการรักษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

การผ่าตัด  ฉายแสงบำบัด และเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลักของมะเร็งสมอง อาจจะเป็นการรักษาร่วมกัน เช่น ทำการฉายแสงรักษาก่อนเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง จากนั้นจึงทำการผ่าตัด ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

ทางเลือกในการรักษาอื่น เช่น การรักษาด้วยความร้อน (Hyperthermia), ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือการใช้ยาสเตียรอยเพื่อลดการอักเสบและลดการบวมของสมอง ซึ่งอาจรวมเข้าไปอยู่ในแผนการรักษา

การเยี่ยวยาที่บ้าน

มีหลายวิธีในการเยี่ยวยาตัวเองที่บ้าน ที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งสมอง ส่วนใหญ่เป็นการให้สารอาหาร หรืออาหารเสริม เช่น น้ำมันปลา  chokeberry และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อมูลการวิจัยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้นก่อนใช้สารประกอบดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งสมองหลากหลายขึ้นอยู่กับแผนการรักษาและภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่มักพยายามให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด บางรายผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งสมองรุนแรงมาก ดังนั้นจึงควรพูดคุยกันเกี่ยวกับความทนของผู้ป่วยต่อผลข้างเคียงจากการรักษามีมากน้อยแค่ไหน เช่น บางการผ่าตัดอาจเพิ่มอาการที่เป็นอยู่มากขึ้นและทำลายเซลล์สมองปกติ, เคมีบำบัดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือผมร่วมได้ และฉายแสงบำบัดอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับการฉายแสงมีสีคล้ำ ผมร่วง เป็นต้น

การพยากรณ์โรคมะเร็งสมอง

การรอดชีวิตจากการรักษามะเร็งสมองจะแตกต่างกันไปตามประเภทของมะเร็ง  ตำแหน่งอายุ และภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย มีรายงานอัตราการรอดชีวิตมากกว่า 5 ปี ซึ่งแตกต่างกันไปตั้งแต่ร้อยละ 5-86 โดยไม่ว่าจะใช้แผนการรักษาแบบใดก็ตาม การฟื้นตัวจากการรักษามะเร็งสมองเป็นไปได้ แต่ในความเป็นจริงการฟื้นตัวที่สมบูรณ์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามการรอดชีวิตมากกว่า 5 ปีในเด็กมีสูงถึงร้อยละ 75 บ่อยครั้งเป็นเพราะโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุมีผลต่อผลลัพธ์ยกเว้นเนื้องอกระดับต่ำสุด

การป้องกันการเกิดมะเร็งสมอง

แม้ว่าจะไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งสมอง แต่การวินิจฉัยและการรักษาเนื้องอกในระยะเริ่มแรกที่มีแนวโน้มแพร่กระจายไปยังสมองก็ช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายลงได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้สำหรับเนื้องอกในสมองขั้นต้น ได้แก่ การฉายรังสีที่ศีรษะ, การติดเชื้อเอชไอวี และสารพิษจากสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งสมอง โดยเฉพาะมะเร็งสมองขั้นต้นทำให้ไม่ทราบมาตรการป้องกันที่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าจะมีบทความแนะนำว่าการรับประทานอาหารแบบแมคโครไบโอติก, การไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และวิธีการอื่นๆ จะช่วยป้องกันมะเร็งสมองได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการสนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าว

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งสมอง

  • มะเร็งสมองอาจเกิดจากเซลล์สมองหลายชนิด หรือเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งจากส่วนอื่นของร่างกายแพร่กระจายมายังสมอง แท้ที่จริงมะเร็งสมองคือมะเร็งที่เกิดขึ้นโดนสมองเอง

  • ระดับของมะเร็งสมองจะบ่งบอกว่ามะเร็งมีความรุนแรงเพียงใด

  • ประเภทของมะเร็งสมองบ่งชี้ว่าเซลล์สมองชนิดใดก่อให้เกิดเนื้องอก

  • ระยะของมะเร็งสมองจะบ่งบอกถึงขอบเขตการแพร่กระจายของมะเร็ง

  • สาเหตุของมะเร็งสมองนั้นพิสูจน์ได้ยาก ควรหลีกเลี่ยงสารประกอบที่นำไปสู่การเกิดมะเร็ง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *