เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.10
2008
0

โรคเนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) คือก้อนเนื้อหรือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่มีความผิดปกติที่สมองหรือไขสันหลัง เนื้องอกในสมองเป็นผลให้เกิดการขัดขวางการทำงานของสมองแต่อย่างไรก็ตามพบว่ามีความอันตรายเพียงเล็กน้อย 

เนื้องอกในสมองเป็นได้ทั้งเนื้อร้ายที่อันตรายหรือเนื้องอกปกติที่ไม่เป็นอันตราย ตามคำจำกัดความ มะเร็งที่เป็นเนื้อร้ายมักทำให้เกิดอันตรายมากกว่าเนื้องอกปกติที่ไม่ได้เป็นอันตราย 

เนื้องอกปกติที่ไม่อันตรายคือเซลล์ที่มีความปกติแต่ไม่ได้ประกอบไปด้วยเซลล์มะเร็ง เนื้องอกในสมองเกิดการเจริญเติบโตอย่างช้าๆและไม่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิด จึงมีความเป็นปกติมากกว่าเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย

ในความเป็นจริง ตามที่สมาคมโรคเนื้องอกสมองของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า จำนวน 2 ใน 3 ของเนื้องอกสมองที่พบใหม่นั้นเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา

เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายประกอบไปด้วยเซลล์มะเร็งและมีแนวโน้มมีของเบตของเซลล์ที่ไม่ชัดเจน โดยเซลล์ดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแพร่ไปยังส่วนต่างๆของสมองซึ่งทำให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรง

สมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกา (ACS) ได้รวบรวมสถิติสำหรับเนื้องอกในสมองร่วมไปถึงเนื้องอกในไขสันหลัง โดยคาดการณ์ไว้ว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยพบผู้ป่วย มะเร็งที่สมองและสมองที่ไขสันหลังพบมากถึง 23,820 รายในปี 2019 

ในบทความนี้ จะกล่าวถึง 2 ชนิดหลักๆของเนื้องอกในสมอง, อาการ, และการรักษาโรคดังกล่าว 

Brain Tumor

อาการเนื้องอกในสมอง

ผู้ที่มีเนื้องอกในสมองอาจจะเคยมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง, ปัญหาด้ายการมองเห็น, รวมไปถึงปัญหาด้ายการพูด

อาการของเนื้องอกในสมองมักแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของเนื้องอกและตำแหน่งที่เกิด

อาการดังกล่าวต่อไปนี้อาจจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและค่อยๆแย่ลงอย่างเป็นลำดับ อาการเหล่านี้อาจจะพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดอาการชักได้

อาการทั่วไปของโรคเนื้องอกในสมองมีดังนี้ 

  • ปวดหัวเรื้อรัง
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น
  • คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการง่วงซึม
  • อาการชัก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำในระยะสั้น
  • มีปัญหาด้านการพูด
  • ปัญหาเกี่ยวกับทักษะการทำงานที่ต้องใช้การประสานงาน
  • บุคลิกเปลี่ยนไป

แต่อย่างไรก็ตาม บางคนก็อาจจะไม่มีอาการใดๆเลย

ตาม ACS พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีเนื้องอกในสมองจะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง นอกจากนี้ ACS ได้กล่าวไว้ว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองทั้งหมดเคยมีอาการชัก

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

มีปัจจัยมากมายที่ผู้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์มักพิจารณาเมื่อใช้ตัดสินใจเพื่อทำการรักษาเนื้องอกสมอง 

พวกเขาจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อให้ข้อมูลทางเลือกในการรักษาแก่ผู้ป่วย โดยอนุญาตให้ผู้ป่วยทำการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาสม

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณามีดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย
  • สภาวะสุขภาพโดยทั่วไป
  • ประวัติการรักษาในอดีต
  • ตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก
  • ความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเนื้องอก
  • ความสามารถในการทนต่อการรักษาของผู้ป่วย

วิธีการรักษาโดยทั่วไปของโรคเนื้องอกในสมองมีดังต่อไปนี้

การผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

การผ่าตัดเนื้องอกในสมองเป็นวิธีที่มักใช้เป็นวิธีแรกในการรักษาเนื้องอกในสมอง ศัลยแพทย์มุ่งหวังเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอกลงเท่าที่จำสามารถทำได้ พวกเขาพยายามทำการผ่าตัดโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อซึ่งเป็นปกติที่กระจายอยู่รอบๆเนื้องอก

ในบางครั้งศัลยแพทย์อาจจะไม่สามารถกำจัดเนื้องอกทั้งหมดออกไปได้ แต่พวกเขาจะทำการผ่าตัดโดยเพื่อกำจัดเนื้องอกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่จะใช้การรักษาโดยการฉายรังสีหรือการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อกำจัดเนื้องอกที่เหลือ

สิ่งสำคัญที่ทำให้การผ่าตัดไม่ประสบผลสำเร็จคือการที่เนื้องอกอยู่ในเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ลึกลงไปหรืออาจมีการกระจายไปทั่วสมองแล้ว

การผ่าตัดอาจช่วยได้ในกรณีที่ทำการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจสอบหรือเพื่อทำการบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นจากแรงดันในสมอง

การฉายรังสี

วัตถุประสงค์ของการฉายรังสีเพื่อทำลายเนื้องอกในสมองหรือเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต ในการทำสิ่งนี้แพทย์จะทำการฉายลำแสงที่มีพลังงานสูงไปยังสมองของผู้ป่วยจากแหล่งกำเนิดแสงภายนอกร่างกาย โดยการฉายรังสีจะเป็นผลทำให้เนื้องอกดังกล่าวหดลง ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะทำการต่อสู้เพื่อทำลายเซลล์ต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามการฉายรังสีจะไม่สามารถแยกได้ระหว่างเซลล์ที่เป็นก้อนเนื้องอกและเซลล์ปกติ จึงทำลายทั้งเซลล์เนื้องอกและเซลล์ปกติ

รูปแบบของการฉายรังสีที่แตกต่างกันไปก็สามารถลดขนาดและทำลายเซลล์ปกติ รวมไปถึงการฉายรังสีแบบ 3 มิติ (3D-CRT) ที่แพทย์จะทำการฉายรังสีที่ลำแสงมีพลังงานต่ำจำนวนมากในองศาที่แตกต่างกันไปยังบริเวณที่เป็นเนื้องอก

จากการที่ลำแสงมีพลังงานต่ำ มันจึงมีผลเพียงเล็กน้อยต่อเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามมันมีผลอย่างมากในการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นเนื้องอก

การผ่าตัดโดยใช้รังสี 

การผ่าตัดโดยใช้รังสีหรือเรียก   (Stereotactic radiosurgery (SRS) SRS เป็นการฉายรังสีรูปแบบพิเศษที่ไม่ได้เป็นขั้นตอนของการผ่าตัด

SRS คือการที่แพทย์จะฉายรังสีในปริมาณที่แน่นอนในรูปของลำแสงรังสีเอกซ์ (X-ray ) โดยการฉายรังสีนี้จะพุ่งเป้าไปยังบริเวณสมองที่มีเนื้องอกปรากฎอยู่ การทำสิ่งที่เพื่อลดความเสี่ยงในการทำลายเนื้อเยื่อที่เป็นปกติได้

การรักษาโดยการใช้ยาอื่นๆ

บุคคลการทางการแพทย์อาจพิจารณาให้ยาสเตอรอยด์ในผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ได้มีผลรักษาเนื้องอกโดยตรง และมันสามารถช่วยในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่สบายตัวเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มสุขภาวะที่ดีของผู้ป่วย

การให้ยากันชักสามารถลดอาการชักที่เกิดขึ้นบ่อยให้ลดลงได้ ดังนั้นหากก้อนเนื้องอกมีผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง ผู้ป่วยอาจจะต้องได้การรักษาด้วยฮอร์โทนทดแทน

การใช้ยาเคมีบำบัด

ผู้ป่วยที่มีเนื้อร้ายที่สมองบางรายอาจจะได้ประโยชน์จากการใช้ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเพื่อรักษาเนื้องอกในสมองโดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งอาจจะแนะนำยาเหล่านี้ในผู้ป่วยรายที่มีเนื้อร้ายที่อันตราย

ยาเหล่านี้จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกในสมองและป้องกันไม่ให้เนื้อเซลล์เนื้องอกดังกล่าวเกิดการแบ่งตัว ยาเคมีบำบัดสามารถมีผลทำให้เซลล์มะเร็งเกิดการเหี่ยวตายได้กลายเป็นเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง

แต่อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบำบัดไม่สามารถผ่านเนื้อเยื่อที่เป็นโครงสร้างกั้นระหว่างสมองและเลือดได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถเข้าไปยังบริเวณเนื้องอกสมองได้ ในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองบางรายอาจจะได้ประโยชน์จากการให้ยาเคมีบำบัดผ่านทางน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังได้

บุคคลกรทางการแพทย์มักจะให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาดวยการผ่าตัดหรือการฉายรังสี แต่อย่างไรก็ตามสำหรับมะเร็งในสมอง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเมดุลโลบลาสโตมา (โรคมะเร็งสมองเด็ก) ยาเคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งดังกล่าวได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *