มะเร็งเต้านม (Breast cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.08
1774
0

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) คือ มะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง และเป็นสาเหตุอันดับสองของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในผู้หญิงรองจากมะเร็งปอด

ประเภทของมะเร็งเต้านม

ประเภทของมะเร็งเต้านมนั้นแบ่งได้ดังนี้ :

  • Ductal carcinoma: เริ่มจากท่อน้ำนมและเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด
  • Lobular carcinoma: เริ่มจากก้อนเนื้อบริเวณเต้านม

มะเร็งเต้านมจะลุกลามเมื่อเซลล์มะเร็งแตกออกจากภายในก้อนเนื้อ หรือท่อน้ำนมและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

มะเร็งเต้านมแบบไม่ลุกลามจะมีการพัฒนาเซลล์มะเร็งอยู่ในแหล่งกำเนิด และยังไม่แพร่กระจาย แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่มะเร็งจะลุกลาม

อาการของมะเร็งเต้านม

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งเต้านมมักพบในรูปแบบเนื้อเยื่อหนาด้านในเต้านม หรือก้อนในเต้านม หรือรักแร้

อาการของคนเป็นมะเร็งเต้านมได้แก่:

  • ปวดในรักแร้ หรือเต้านมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน
  • รูขุมขน หรือรอยแดงของผิวบริเวณเต้านมคล้ายกับพื้นผิวของสีส้ม
  • ผื่นรอบหัวนม
  • หัวนมอาจมีเลือดไหลออกมา
  • หัวนมยุบหรือคว่ำ
  • เต้านมมีรูปร่างเปลี่ยนไป
  • บนเต้านมหรือหัวนมนั้นมีอาการผิวลอก

ก้อนเต้านมส่วนใหญ่ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามผู้หญิงควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย หากสังเกตพบก้อนเนื้อในเต้านมและสงสัยว่ามีอาการของคนเป็นมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast cancer)

ระยะของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมนั้นแบ่งระยะตามขนาดของก้อนเนื้อและการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

มะเร็งเต้านมมีระยะดังนี้ ระยะที่ 0-4  มีหมวดหมู่ย่อยในแต่ละระยะและคำอธิบายในแต่ละระยะมีดังนี้

  • ระยะที่ 0: เรียกว่า Ductal carcinoma เซลล์มะเร็งพัฒนาอยู่ในท่อน้ำนมไม่ได้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ
  • ระยะที่ 1: อาการเตือนของมะเร็งในระยะแรกคือ เนื้องอกนั้นมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่ส่งผลใด ๆ ต่อ ต่อมน้ำเหลือง หรือมีจำนวนเซลล์มะเร็งกลุ่มเล็ก ๆ ในต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 2: เนื้องอกมีขนาดอยู่ที่ 2 ซม. และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือเนื้องอกมีขนาด 2-5 ซม. แต่ไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 3: เนื้องอกมีขนาด 5 ซม. และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แต่ไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 4: มะเร็งนั้นลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้แก่ กระดูก ตับ สมอง หรือปอด

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร

เต้านมของผู้หญิงประกอบด้วยไขมัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และก้อนเนื้อเล็กๆ นับพัน ที่ผลิตนมสำหรับเลี้ยงลูกด้วยนม และมีท่อน้ำนมเชื่อมไปยังหัวนม

สาเหตุมะเร็งเต้านมคือ เซลล์มะเร็งในเต้านมทวีจำนวนเซลล์อย่างควบคุมไม่ได้ เซลล์เหล่านี้พร้อมจะลุกลามเสมอ การเจริญเติบโตของเซลล์ที่มากเกินไป ทำให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากเนื้องอกใช้สารอาหารและพลังงานจากเซลล์โดยรอบ

มะเร็งเต้านมมักจะเริ่มต้นในเยื่อบุด้านในของท่อน้ำนมหรือก้อนเนื้อเล็กๆ จากนั้นสามารถลุกลามยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

การรักษามะเร็งเต้านม

Treatment will depend on several factors, including:

  • the type and stage of the cancer
  • the person’s sensitivity to hormones
  • the age, overall health, and preferences of the individual

The main treatment options include: radiation therapy

  • surgery
  • biological therapy, or targeted drug therapy
  • hormone therapy
  • chemotherapy

Factors affecting the type of treatment a person has will include the stage of the cancer, other medical conditions, and their individual preference.

การผ่าตัด

หากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด การผ่าตัดนั้นจะขึ้นกับการวินิจฉัย และลักษณะประเภทของการผ่าตัดดังนี้:

Lumpectomy: เป็นการผ่าตัดนำเนื้องอกและเซลล์ที่อยู่รอบๆออก การทำ Lumpectomy สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง วิธีนี้ถูกเลือกใช้เมื่อเนื้องอกมีขนาดเล็กและแยกออกได้ง่ายจากเนื้อเยื่อข้างเคียง

Mastectomy: เป็นการผ่าตัดเพื่่อนำก้อนเล็กๆ ท่อน้ำนม เนื้อเยื่อไขมัน หัวนม และผิวหนังบางส่วนออกไป อาจจะมีการนำต่อมน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อในผนังหน้าอกออกไปด้วย

Sentinel node biopsy: หากมะเร็งเต้านมลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง Sentinel จะเป็นส่วนแรกที่มะเร็งสามารลุกลามไปได้ ก่อนจะลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผ่านระบบน้ำเหลือง หากแพทย์ไม่พบมะเร็งในบริเวณ  Sentinel  ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกำจัดออก

Axillary lymph node dissection: หากแพทย์พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองในรักแร้ออก วิธีนี้เป็นการป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

Reconstruction: การผ่าตัดเต้านมออกไปนั้นศัลยแพทย์สามารถทำเต้านมใหม่ให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือได้กับปัญหาทางจิตใจที่จะเกิดหลังถูกกำจัดเต้านมออกไป

การศัลยกรรมช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นสามารถกลับมามีเต้านมเหมือนกับก่อนหน้าที่จะป่วยได้อีกครั้ง โดยการทำเต้านมใหม่นั้นเป็นการปลูกถ่ายหรือนำเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นๆ ของร่างกายมาเสริมให้ดูเหมือนเต้านมธรรมชาติ 

การบำบัดด้วยรังสีวิทยา

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการบำบัดด้วยรังสีวิทยานั้น จะเริ่มหลังจากได้รับการผ่าตัดกำจัดเซลล์มะเร็งไปแล้วเป็นเวลา 1 เดือน รังสีนั้นทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเซลล์มะเร็งเฉพาะจุด

การบำบัดด้วยเคมี

แพทย์จะทำการสั่งรักษาโดยใช้ไซโทท็อกซิก (Cytotoxic chemotherapy)  ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง กรณีที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ เมื่อผู้ป่วยได้รับการบำบัดด้วยเคมีหลังจากได้รับการผ่าตัด แพทย์จะนับว่าเป็นวิธีการบำบัดเสริม

บางครั้งแพทย์จะทำการเลือกใช้เคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อทำลายเนื้องอก และทำให้กำจัดเนื้องอกออกอย่างง่ายดาย 

การบำบัดชีวภาพ

การใช้ยาที่ตรงจุดนั้นสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ ยาเหล่านี้ได้แก่:

  • Trastuzumab (Herceptin)
  • Lapatinib (Tykerb)
  • Bevacizumab (Avastin)

การรักษามะเร็งเต้านมนั้นจะมาพร้อมกับความเสี่ยงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้รับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษา

การบำบัดด้วยการบล็อคฮอร์โมน

แพทย์จะใช้วิธีการปิดกั้นฮอร์โมนเพื่อป้องกันฮอร์โมนที่ไวต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ภายหลังจากการรักษาแล้ว ฮอร์โมนที่ใช้ได้แก่ตัวรับเอสโตรเจน Estrogen receptor (ER)-positive และตัวรับโพรเจสเทอโรน Progesterone receptor (PR)-positive 

วิธีการนี้จะใช้ภายหลังการผ่าตัดนำเซลล์มะเร็งออก แต่จะใช้ในบางกรณีเท่านั้นเพื่อทำลายเนื้อร้าย

การปิดกั้นฮอร์โมนนั้นเป็นการบำบัดทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่เหมาะสมกับวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด การบำบัดด้วยเคมี และการบำบัดด้วยรังสี 

แพทย์จะทำการแนะนำผู้ป่วยให้ใช้ฮอร์โมนบำบัด 5-10 ปีภายหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการรักษานี้จะไม่เป็นผลต่อเซลล์มะเร็งที่ไม่ไวต่อฮอร์โมนนั้นๆ

ตัวอย่างฮอร์โมนบล็อคที่ถูกนำมาใช้:

  • Tamoxifen
  • Aromatase inhibitors
  • Ovarian ablation 
  • Goserelin

วิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนนั้นส่งผลโดยตรงกับการปฏิสนธิ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *