ตาโปน (Exophthalmos) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ตาโปน (Exophthalmos) : อาการ สาเหตุ การรักษา

12.02
7132
0

โรคตาโปนคืออะไร

ตาโปน หรือ Exophthalmos  หมายถึงภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเริ่มนูนหรือยื่นออกมา เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการมอง โดยจะทำให้มองเห็นภาพซ้อนและเส้นประสาทตาอาจถูกกดทับ ซึ่งเกิดขึ้นในบางกรณีแต่พบได้ไม่บ่อยนัก หากปล่อยให้เกิดภาวะตาโปนและไม่เข้ารับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนอาจนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการมองเห็นอย่างถาวร

หากสังเกตพบว่ามีดวงตาโปนหรือตายื่นออกมา แม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าเกิดอาการตาโปนหรือไม่ ควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากความผิดปกตินี้ทำให้เกิดปัญหาสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ทั้งนี้ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นสามารถแก้ไขได้ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที

ในบางกรณีภาวะตาโปนอาจทำให้การขับขี่ยานพาหนะไม่ปลอดภัยหรืออาจส่งผลให้ผู้ขับขี่ทำผิดกฎจราจรได้ เมื่ออาการตาโปนส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น ผู้ที่มีอาการตาโปนควรได้รับการรับรองจากจักษุแพทย์ว่าสามารถขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ได้ตามปกติและปลอดภัย นอกจากนี้ควรศึกษาข้อกฎหมายของท้องถิ่นว่าอนุญาตให้ทำกิจกรรมดังกล่าวได้หรือไม่  หากกฎหมายอนุญาตแต่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการทำงานประเภทดังกล่าว

โรคตาโปน มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า exophthalmos หมายถึงภาวะตาที่โปนหรือยื่นออกมา ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อนเนื่องจากเส้นประสาทตาถูกกดทับ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเส้นประสาทถูกกดทับนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่หากมีปัญหานี้ขึ้น อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดถาวรได้

ดังนั้นหากสังเกตพบว่ามีอาการตาโปนหรือตายื่นออกมา ควรไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากการได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วหมายถึงโอกาสที่ดีในการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในอนาคต

การพยากรณ์โรคเพื่อการฟื้นฟูดวงตาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ภาวะตาโปน ด้วยการคาดการณ์ความรุนแรงของโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและการควบคุมอาการตาโปนที่เกิดขึ้น ทั้งสองปัจจัยนี้ทำให้จักษุแพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เจาะจงสำหรับผู้ป่วยได้

Exophthalmos

สาเหตุของตาโปน

สาเหตุหลักของตาโปนคือ Graves’ ophthalmopathy หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะตาโปนจากโรคไทรอยด์ (thyroid eye disease) เป็นโรคที่พบ ได้ 1 ใน  3 ของผู้ที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โดยส่วนใหญ่พบมากในผู้หญิงวัยกลางคนและผู้ที่สูบบุหรี่

อาการทางตาจากโรคไทรอยด์เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อรอบดวงตาทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ดวงตามีลักษณะนูนออกมา

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงานอาจมีปัญหาที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติมักไม่ค่อยมีอาการทางตาจากโรคไทรอยด์ แต่ก็อาจพบอาการตาโปนได้เช่นกัน

ความผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการทางตาจากโรคไทรอยด์ แต่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะตาโปนได้แก่

  • ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา

  • เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในดวงตา

  • เนื้อเยื่อเบ้าตาติดเชื้อ

  • มีเลือดออกด้านหลังดวงตา

  • มีเนื้องอกมะเร็งใกล้ดวงตา

สำหรับเด็กทารกแรกเกิดที่มีเบ้าตาตื้น อาจเป็นความผิดปกติเนื่องจากภาวะตาโปน

การรักษาตาโปน

การรักษาตาโปนอย่างถูกต้องจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ดังนั้นควรไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด แม้ว่ายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์และความช่วยเหลือในการวินิจฉัยโรคว่าเกิดจากสาเหตุใด

สำหรับผู้ป่วยบางรายได้รับการรักษาเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะลดอาการตาโปนลงได้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้การรักษาอย่างครอบคลุมและอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วย  ผู้ป่วยที่มีอาการตาโปนรุนแรงอาจเสียโฉมไปอย่างถาวรเนื่องจากดวงตาไม่ตรงแนว (แม้ว่าโดยปกติแล้วจะสามารถผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติบางส่วนได้ก็ตาม)

การรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยตาโปนที่มีสาเหตุหลักเกิดจากอาการทางตาของโรคไทรอยด์คือการปรับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้เป็นปกติ โดยการใช้ยารักษาสามารถช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้ดีขึ้นได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการตาโปนได้ทุกครั้ง

นอกจากนี้แพทย์อาจให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้:

  • ควรเลิกสูบบุหรี่

  • สวมแว่นกันแดดหากมีปัญหาดวงตาสู้แสงไม่ได้

  • ยกศีรษะให้สูงขึ้นด้วยการหนุนหมอนในเวลานอน

  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองจากสิ่งสกปรกและฝุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  • ใช้ยาหยอดตาเพื่อหล่อลื่นดวงตา

ในบางกรณีอาการตาโปนอาจหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคตาโปนรุนแรงต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์ ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงผิดปกติในผู้ป่วยบางคน เช่น มีอาการกระสับกระส่าย ปวดศีรษะ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

ถ้าการรักษาด้วยการฉีดยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ไม่ได้ผล ผู้ป่วยควรทำการรักษาด้วยรังสีออร์บิทัลหรือรังสีเรโทรบูลบาร์ หรือใช้รังสีร่วมกับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์

ในผู้ป่วยที่มีอาการตาโปนอย่างรุนแรงจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดอาการบวมหรือปรับปรุงการมองเห็น รวมถึงแก้ไขลักษณะของดวงตา โดยทั่วไปแล้วมีวิธีการผ่าตัดให้เลือก 3 แบบดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดเปลือกตา : เพื่อปรับปรุงรูปร่าง และตำแหน่งของเปลือกตา  หรือแก้ไขปัญหาการปิดเปลือกตาไม่ได้

  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา : เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับกล้ามเนื้อรอบดวงตาเพื่อให้ลูกตากลับเข้าที่และช่วยแก้ไขปัญหาการมองเห็นภาพซ้อน

  • การผ่าตัดขยายเบ้าตา : ทำโดยตัดกระดูกเบ้าตาบางส่วนออกเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงลักษณะของดวงตาและลดแรงกดทับบนเส้นประสาทตา

วิธีการดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาใช้รักษาอาการตาโปนจากทุกสาเหตุได้ซึ่งสันนิษฐานว่าอาการตาโปนทั่วไปเกิดจากอาการทางตาจากโรคไทรอยด์ แต่หากเกิดจากสาเหตุอย่างอื่น แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างออกไป

โดยทั่วไปแพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะและดูดฝีอักเสบออก ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีดีที่สุด สำหรับการรักษาเนื้องอกมะเร็งจะใช้วิธีอื่นที่แตกต่างกัน โดยใช้การรักษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง รวมถึงการผ่าตัด

แม้ว่าแพทย์จะเลือกใช้แผนการรักษาแบบใด ผู้ป่วยควรเชื่อฟังคำแนะนำจากแพทย์เสมอ บางครั้งในการฟื้นตัวจากภาวะตาโปนอาจใช้ระยะเวลายาวนานจนทำให้หมดกำลังใจ แต่การปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายจากภาวะตาโปนได้

บทสรุป

ถ้าหากผู้ป่วยพบว่ามีอาการตาโปนและรีบไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตพบอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นลดลง โดยเป้าหมายแรกที่ควรต้องทำคือการรักษาอาการอักเสบหรือติดเชื้อในดวงตาให้ลดลง สำหรับระยะเวลาในการรักษาและโอกาสในการหายจากอาการตาโปนขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดวงตาและความรุนแรงของอาการตาโปนที่เกิดขึ้น

หากอาการตาโปนมีแนวโน้มทำให้เกิดความเสียหายต่อดวงตาหรือมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับรูปลักษณ์ภายนอกของดวงตา ผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และแก้ไขลูกตาที่ไม่เข้าที่

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *