โรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) : อาการ สาเหตุ การรักษา 

โรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) : อาการ สาเหตุ การรักษา 

24.04
6922
0

บูลิเมีย (Bulimia) คือโรคทางจิตเวชที่ร้ายแรงอาจถึงชีวิต

โรคบูลิเมียเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะรับประทานอาหารเยอะมากและพยายามจะเอาออกโดยการออกกำลังกายอย่างหักโหมและ อาเจียนหรือใช้ยาถ่ายเพื่อล้างท้อง

นักวิจัยค้นพบว่าโรคบูลิเมียจะพบได้ใน1.1 ถึง 4.6 เปอร์เซ็นต์ ในผู้หญิง และ 0.1 ถึง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ชาย ในช่วงระยะหนึ่งของชีวิต

โรคบูลิเมียเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติที่พบได้บ่อยมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา

โรคบูลิเมียคืออะไร

อาการสองอาการที่พบบ่อยในโรคบูลิเมียคือ การรับประทานอาหารเป็นปริมาณมากๆซ้ำๆ หรือรับประทานไม่หยุด ต่อด้วยการล้วงคอ เพื่อให้อาเจียน

การทานไม่หยุดคือ การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงจำนวนมากๆ ภายในสองชั่วโมง ผู้ป่วยอาจรับประทานถึง 3,000แคลอรี่ หรือมากกว่านั้น

พฤติกรรมเช่นนี้เลิกยาก ผู้ป่วยอาจรับประทานเร็วมากจนไม่ได้รับรสอาหารนั้นๆ และไม่สามารถควบคุมการกระทำนี้ได้

การรับประทานไม่หยุดอาจเกิดขึ้นได้เอง หรืออาจตั้งใจให้เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะไปซื้ออาหารจำนวนมากมารับประทาน

หลังจากการรับประทานไม่หยุด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวบวม อืด ไม่น่ามอง รู้สึกอาย รู้สึกผิด และรู้สึกกลัวมากว่าน้ำหนักจะขึ้น

ผู้ป่วยจะล้วงคอ ออกกำลังกายอย่างหักโหม อดอาหาร ใช้ยาถ่าย เพราะคิดว่าการทำเช่นนั้นจะช่วยเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปได้ ผู้ป่วยอาจใช้ยาแอมเฟตามีนหรือยาอื่นๆที่ผิดกฎหมายได้

การล้วงคออาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่อันตราย และไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลด ทั้งยังอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นในระยะยาว

ความรู้สึกผิดเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตัวเองน้อย แม้ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้ผู้ป่วยเข้มงวดในการรับประทานอาหารและ การออกกำลังกาย ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานไม่หยุดอีกเมื่อไม่สามารถทำตามที่ตนตั้งใจไว้ได้

อาการของโรคบูลิเมีย

ผู้ที่มีโรคบูลิเมียนั้นส่วนใหญ่มีน้ำหนักปกติหรือเกินเกณฑ์มาเล็กน้อย อาการและสัญญาณของโรคอาจเห็นได้ไม่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยจะพยายามปิดบังอาการ

อาการของบูลิเมียมีดังนี้:

  • ความคลั่งไคล้ในอาหารและการรับประทานอาหาร
  • รับประทานอาหารคนเดียว
  • อาหารหายไปอย่างรวดเร็ว หรืออาจพบกระดาษห่ออาหารจำนวนมากในถังขยะ
  • เสียเงินไปมากกับการซื้ออาหาร
  • ออกจากห้องไปหลังจากรับประทานเสร็จ ส่วนใหญ่เพื่อไปห้องน้ำ
  • แอบเก็บหรือสะสมอาหารไว้
  • บังคับตัวเองให้ออกกำลังกาย
  • บ่นอยู่บ่อยๆว่าน้ำหนักเกิน
  • จะมีช่วงที่อดอาหารและบอกว่าไม่หิว จากนั้นจะรับประทานเยอะมาก

ผู้ป่วยอาจซ่อนยา เช่น ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ยาลดความอ้วน ยาที่ทำให้อาเจียน อาจมีถุงยาอยู่ในถังขยะ

อาการทางร่างกายมีดังนี้

  • ขาดน้ำ(Dehydration) อย่างรุนแรง
  • ขาดสารอาหารและสุขภาพทรุดโทรม
  • น้ำหนักไม่คงที่
  • รอยแผลเป็นที่ข้อนิ้วเรียกว่า “Russell’s sign” เกิดขึ้นจากการใช้นิ้วล้วงคอเพื่อให้อาเจียน
  • เกิดกรดไหลย้อน
  • เจ็บคอ คออักเสบ ฟันกร่อนจากกรดในอาเจียน
  • แก้มบวม จากต่อมน้ำลายหน้ากกหูถูกทำลาย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เส้นเลือดฝอยในตาแตก

เพื่อนและครอบครัวอาจสังเกตได้ว่าผู้ป่วยทำกิจกรรมที่เคยทำน้อยลง มีอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวลและซึมเศร้า สับสนในตัวเอง ผู้ป่วยอาจโกหกเพื่อปกปิดอาการ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยรู้ตัวว่ามีปัญหา แต่อาจอายหรือไม่กล้าบอกใคร

Bulimia Nervosa

การรักษาโรคบูลิเมีย

การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาระยะยาวร่วมกับการรักษาทางจิตบำบัด ครอบครัวบำบัด การให้คำปรึกษาทางโภชนาการ และการใช้ยา

จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลนั้น ให้ความสำคัญกับหน้าที่ในสังคมและความสัมพันธ์ ผู้ป่วยจะเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับปัญหาระหว่างเพื่อนหรือครอบครัว เพื่อที่จะให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น

การยอมรับของผู้ป่วยและให้ความร่วมมือกับการรักษานั้นสำคัญมาก ผู้ป่วยบางรายอาจปฏิเสธ บางรายอาจให้ความร่วมมือบ้างแต่ไม่แน่นอน

หตุการณ์ตึงเครียดในชีวิตอาจทำให้อาการกำเริบอีกครั้ง

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมสามารถช่วยผู้ป่วยได้โดย:

  • ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าทำไมจึงเป็นโรคนี้ และเข้าใจว่าความรู้สึก พฤติกรรม และความคิดแบบใดที่ทำให้เกิดอาการนี้
  • ปรัปเปลี่ยนมุมมองเรื่องรูปร่าง ภาพลักษณ์ น้ำหนัก อาหาร และการรับประทานอาหาร

ความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนนั้นสำคัญ ก่อให้เกิดการรักษาที่ดีและยืนยาว

ครอบครัวของผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าโรคบูลิเมียคืออะไร และสามารถรู้ถึงสัญญาณและอาการของโรคได้โดยเร็ว ครอบครัวบำบัดสามารถช่วยในขั้นตอนการรักษาได้

ยาช่วยโรคซึมเศร้า ตัวยาฟลูออกซิทีนหรือที่รู้จักในชื่อ Prozac (เป็นยาที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา)ใช้ในการรักษาโรคบูลิเมีย

การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการช่วยให้เลิกพฤติกรรมรับประทานไม่หยุดและพฤติกรรมออกกำลังกายหักโหมได้ ผู้ป่วยจะเรียนรู้วิธีที่จะจัดระเบียบและค่อยๆรับประทานอาหาร และจัดจำนวนแคลอรี่ตามที่ผู้ป่วยต้องการ

ผู้ป่วยไม่จำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ยกเว้นแต่มีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเอง

คำแนะนำเพิ่มเติม:

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และแนะนำให้ดื่มน้ำ 6 ถึง 8 แก้วต่อวัน
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริม
  • นวดเพื่อคลายเครียด

หากต้องการใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์

 สาเหตุของโรคบูลิเมีย

พฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยของผู้ป่วยนั้นเป็นวิธีการที่ผู้ป่วยใช้ในการรับมือกับความเครียด เพราะพวกเขามีความกลัวอ้วน กังวลเรื่องแคลอรี่ และอาหาร โดยไม่มีเหตุผล

ผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และมีโอกาสที่จะทำร้ายตัวเอง มี พฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ และมีการใช้ยาหรือเสพติด

โรคบูลิเมียเริ่มจากการที่ผู้ป่วยใช้พฤติกรรมเหล่านี้ในการรับมือกับปัญหาทางอารมณ์ แต่ภายหลังกลับกลายเป็นความคลั่งไคล้โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถบังคับได้

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ถูกค้นพบ แต่นักวิจัยเชื่อว่าอาจมาจากปัจจัยทางกรรมพันธ์ุ ทางชีวภาพ ทางจิตวิทยา ทางสังคมและ ทางพฤติกรรม ร่วมกัน

โรคบูลิเมียมีความเกี่ยวข้องกับความกลัวอ้วน แต่ส่วนใหญ่ต้นตอปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับอารมณ์และสุขภาพจิต

เทคโนโลยีการสร้างภาพสมอง แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้หญิงที่เป็นโรคบูลิเมีย และผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ เมื่อพวกเขาได้เห็นภาพของผู้หญิงผอม และอาหาร

ภาวะที่เกี่ยวข้องกับบูลิเมีย เช่น โรคซึมเศร้า อาการวิตกกังวล ความเครียด ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ อาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง และโรคย้ำคิดย้ำทำ

พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกตินั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงวัยแรกรุ่นเพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและเริ่มสังเกตความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ผลการศึกษาจากปี 2007เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงในฮอร์โมนจากรังไข่อาจทำให้มีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้มากขึ้น

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมีดังนี้

  • การที่ได้เห็นบุคคลตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมผ่านทางสื่อต่างๆ
  • ความกดดันในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆที่เน้นรูปร่างหรือน้ำหนัก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *