ไข้แมวข่วน (Cat Scratch Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไข้แมวข่วน (Cat Scratch Fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.12
5707
0

โรคไข้แมวข่วน (Cat Scratch Fever) เกิดขึ้นเมื่อถูกข่วน กัด หรือเลียจากแมวที่มีเชื้อ Bartonella henselae.

การติดเชื้อมักไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แต่อาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การรู้จักวิธีรักษาไข้แมวข่วนสามารถทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาให้หายได้อย่างรวดเร็ว

แมวสามารถแพร่เชื้อโรคไปสู่คนได้หลายโรค โรคเหล่านี้บางครั้งอาจมีความรุนแรงมาก การดูแลสุขภาพอนามัยของแมวที่เลี้ยงอยู่เป็นประจำจะเป็นการลดความเสี่ยงของการติดโรคต่างๆ เหล่านี้ได้ 

Cat Scratch Fever

สาเหตุของไข้แมวข่วน 

คนอาจเป็นไข้แมวข่วนหลังจากโดนแมวที่ติดเชื้อ แบคทีเรีย Bartonella henselae (B. henselae) ข่วนหรือกัด ซึ่งเชื้อนี้อยู่ในน้ำลายของแมว และสามารถติดต่อไปยังคนโดยการสัมผัสโดยตรงทางผิวหนัง

ไข้แมวข่วนจะพบได้บ่อยในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนี้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยออกนอกบ้านและจะเล่นกับแมว (ในกรณีที่เลี้ยงแมว) ซึ่งดูเหมือนว่าเด็กๆ จะชอบเลี้ยงแมวมากกว่าผู้ใหญ่ซึ่งการเล่นกับแมวแบบห่ามๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการที่จะโดนแมวข่วนได้

อาการของไข้แมวข่วน

ไข้แมวข่วนมักไม่แสดงอาการในช่วง 2-3 วันแรก หรือสัปดาห์แรกภายหลังการสัมผัสเชื้อ แต่จะเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นในร่างกาย

ประมาณ 3-14 วันหลังจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มสังเกตเห็นตุ่มหรือผื่นในบริเวณจุดสัมผัส (บริเวณโดนข่วนหรือกัด) โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ :

  • แขน
  • มือ
  • หนังศีรษะ
  • ศีรษะ

แพทย์เรียกสิ่งนี้ว่า “inoculation lesion” (เหมือนรอยแผลที่เกิดจากการฉีดวัคซีน) รอยนี้อาจไม่เกิดขึ้นบางคน หรือบางคนอาจสังเกตไม่พบรอยนี้บนร่างกาย

2-3 สัปดาห์ต่อมาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับรอยนี้ จะมีอาการบวมพองเมื่อจับดูจะรู้สึกอ่อนนุ่ม

ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่เป็นตัวกรองแบคทีเรียและอนุภาคอื่นๆ และสร้างเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน ต่อมเหล่านี้มักจะดูคล้ายฟองน้ำกลมๆ หรือกลมรูปไข่เล็ก ๆ 

หากมีคนถูกกัดหรือข่วนที่แขน อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองใต้แขนหรือใกล้ข้อศอกมีอาการบวมเป็นพิเศษ

บางครั้งต่อมน้ำเหลืองอาจจะบวมแดง และบวมมากถึง 2 นิ้ว (วัดจากด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่ง) เมื่อจับดูจะรู้สึกอุ่นๆ และมีของเหลวอยู่ข้างในจุดที่บวม อาการเหล่านี้อาจยังคงแสดงอยู่นานประมาณ 2-3 สัปดาห์

สำหรับคนส่วนใหญ่ อาการต่อมน้ำเหลืองบวมเป็นอาการเดียวที่พบ แต่อย่างไรก็ตามบางคนอาจมีพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น :

หากสังเกตพบว่า รอยข่วนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะโดนข่วนผ่านไปแล้ว 2 วัน ควรไปพบแพทย์ทันที

ภาวะแทรกซ้อนของไข้แมวข่วน

ไข้แมวข่วนส่วนใหญ่อาการมักไม่ค่อยรุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการตัวร้อนเป็นเวลานาน บางคนอาจมีอาการติดเชื้อในกระดูกข้อต่อ ตับ ปอดหรือม้าม

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) โรคนี้จะแสดงอาการที่รุนแรงกับเด็กอายุที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี

ปกติแล้วไข้แมวข่วนมักมีอาการไม่รุนแรงถึงขั้นต้องรักษาแบบฉุกเฉิน แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ทางที่ดีควรไปพบแพทย์ทันทีหากพบอาการดังต่อไปนี้:

  • แมวกัดหรือข่วนที่ไม่ได้รับการรักษา หรือมีอาการแย่ลง
  • รอบๆ รอยกัดหรือรอยข่วนเริ่มแดง และขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • มีไข้สูงนานเกิน  2 วันหลังจากถูกกัดหรือข่วน
  • ปวดบริเวณโดนกัดหรือโดนข่วนอย่างรุนแรง

การรักษาโรคไข้แมวข่วน

ไข้แมวข่วนส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และแพทย์มักจะไม่รับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล หากอาการอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะแทน

การรักษาอาการที่บ้าน การนอนพักผ่อน หรือหากมีอาการปวดที่เกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองบวม สามารถใช้ยาแก้ปวดระงับอาการได้

เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นไข้แมวข่วนสามารถทำกิจกรรมตามปกติต่อไปได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก หรือรบกวนตรงจุดของต่อมน้ำเหลืองที่บวมเนื่องจากไข้ดังกล่าวนี้

ผู้เคยเป็นไข้แมวข่วนมาแล้ว โดยปกติมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *