โรคเซลิแอค (Celiac Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเซลิแอค (Celiac Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.05
14460
0

โรคเซลิแอค (Celiac Disease) คือ ภาวะแพ้ภูมิตัวเองที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเกิดการตอบสนองต่อกลูเตน กลูเตนคือกลุ่มโปรตีนที่พบได้ทั่วไปในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์

ผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค เมื่อสัมผัสกับกลูเตนจะเกิดอาการอักเสบที่ลำไส้ การสัมผัสซ้ำ ๆ จะยิ่งทำให้ลำไส้เล็กเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ของอาหารได้

โรคเซลิแอคพบในประชากรประมาณ 1 คนใน 100 คนทั่วโลก และหลายคนมีอาการโดยไม่รู้ตัว

วิธีเดียวในการรักษาผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคคือการหลีกเลี่ยงอาการ หรือการไม่รับกลูเตนในอาหารเข้าไป

สาเหตุของโรคเชลิแอค

โรคเชลิแอคคือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เมื่อผู้ป่วยกินกลูเตนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้าโจมตี และทำให้ลำไส้เล็กเสียหาย

เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายของส่วนประกอบของลำไส้ที่ทำหน้าที่ดูดซับสารอาหารหรือที่เรียกว่า villi จะได้รับความเสียหาย ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารลดลง นำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ตามมา

โรคเชลิแอคสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน พบได้บ่อยในคนผิวขาว และเป็นเพศหญิง

นอกจากนี้ยังเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคเชลิแอคจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ถึง 1 ใน 10

โรคเชลิแอคพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการ เหล่านี้ :

  • ดาวน์ซินโดรม
  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์
  • โรคเบาหวานประเภท 1

อาการของโรคเซลิแอค

อาการของโรคเซลิแอคมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนรุนแรง และอาการยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน

บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ หรือเกิดอาการเมื่ออายุมากขึ้น บางคนอาจไม่รู้ว่าเป็นโรคเซลิแอคจนเมื่อพวกเขาเกิดภาวะขาดสารอาหาร หรือโรคโลหิตจาง

เด็กมีแนวโน้มเกิดอาการทางเดินอาหารได้มากกว่าผู้ใหญ่  โดยมีอาการดังต่อไปนี้ :

อาการของโรคเซลิแอคที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ได้แก่ :

  • น้ำหนักลด
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • ภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
  • อาการปวดตามข้อ
  • แผลในปาก
  • ผื่นที่เรียกว่า อาการผิวหนังอักเสบจากโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • ความเสียหายของเส้นประสาทบริเวณแขนขาที่เรียกว่าโรคระบบประสาทส่วนปลายซึ่งทำให้รู้สึกเสียวซ่าที่ขาและเท้า

คนที่เป็นโรคเซลิแอคอาจขาดสารอาหาร เนื่องจากความเสียหายของลำไส้ ทำให้การการดูดซึมสารอาหารทำได้น้อยลง เช่น วิตามิน B12, D และ K และด้วยเหตุผลนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคโลหิตจาง เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

นอกเหนือจากการขาดสารอาหารแล้วโรคเซลิแอค ยังส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อลำไส้ใหญ่ และอวัยวะอื่น ๆ ได้เล็กน้อย

Celiac disease

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแปรปรวนของอาการ ได้แก่:

  • อายุ
  • ความเสียหายของลำไส้เล็ก
  • ปริมาณกลูเตนที่บริโภค
  • อายุที่เริ่มบริโภคกลูเตน

หากผู้ป่วยกินนมแม่นานมากพอ อาการของโรคก็อาจปรากฏหลังเลิกรับประทานนมแม่ได้อีกนาน

ปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่นการผ่าตัด การตั้งครรภ์ การติดเชื้อ หรือความเครียดที่รุนแรง อาจทำให้เกิดอาการของโรคเซลิแอค

อาการโรคเซลิแอคในเด็ก

โรคเซลิแอคจะทำให้เกิดข้อจำกัด หรือป้องกันไม่ให้ร่างกายของเด็กดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้เต็มที่ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการ หรือการเจริญเติบโต ได้แก่ :

  • การเจริญเติบโตในทารกไม่เหมาะสมตามวัย
  • การเจริญเติบโตช้า และความสูงน้อยเกินไป
  • น้ำหนักลด
  • สารเคลือบฟันเสียหาย
  • การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ไม่มีความอดทน หรือขี้รำคาญ
  • พัฒนาการทางเพศล่าช้า

หากเด็กได้เปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนมาตั้งแต่แรก เด็ก ๆ จะสามารถป้องกันปัญหาของโรคได้ ความเสียหายของลำไส้จะหายได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เมื่อไม่รับประทานอาหารที่มีกลูเตน

เมื่อเวลาผ่านไปเด็ก ๆ จะมีอาการทุเลาได้เอง และอาจไม่มีอาการของโรคเซลิแอคไปตลอดชีวิต

การวินิจฉัยโรคเซลิแอค

แพทย์จะวินิจฉัยโรคเซลิแอคโดยพิจารณาประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและครอบครัว อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม อย่างการตรวจเลือด การตรวจลักษณะทางพันธุกรรม และการตรวจชิ้นเนื้อ

แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดีที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเซลิแอค รวมทั้งอาการแพ้กลูเตน และแอนติบอดีต่อเอนโดไมเซียล

เมื่อการตรวจวินิจฉัยและสงสัยว่ามีอาการของโรคเซลิแอค แพทย์อาจทำการตรวจชิ้นเนื้อในลำไส้เพื่อเติม โดยใช้ กล้อง endoscope เก็บตัวอย่างเยื่อบุของลำไส้ โดยปกติจะใช้เวลาพอสมควรเพื่อเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ

โรคช่องท้องอื่น ๆ ที่อาจทำให้การวินิจฉัยโรคทำได้ยาก ได้แก่ :

  • อาการลำไส้แปรปรวน
  • โรคโครห์นในลำไส้เล็ก
  • การแพ้แลคโตส
  • การแพ้กลูเตน
  • การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้เล็ก
  • ตับอ่อนไม่มีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยการควบคุมอาหาร

ผู้ป่วยโรคเซลิแอคที่ปรับเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนจะลดโอกาสการเกิดอาการของโรคได้มาก และผู้ป่วยมักสามารถสังเกตเห็นอาการที่ดีขึ้นได้ในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์

เด็กที่มีอาการลำไส้เล็กไม่ดีมักหายเป็นปกติได้ใน 3–6 เดือน ผู้ใหญ่ที่ได้รับการรักษาอาจใช้เวลาหลายปี ลำไส้จึงจะหายดี ร่างกายจะสามารถกลับมาดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง

การรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ในบางพื้นที่ของโลก เพราะมีอาหารตัวเลือกที่ปราศจากกลูเตนมากมาย

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าอาหาร และผลิตภัณฑ์บ้างที่มีกลูเตน ซึ่งนักโภชนาการสามารถตรวจสอบได้ 

อาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

กลูเตนเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติพบในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซีเรียล ธัญพืช และพาสต้า อาหารแปรรูปส่วนมากล้วนมีกลูเตน เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากธัญพืชอื่น ๆ ก็สามารถมีได้เช่นกัน

การตรวจสอบฉลากจึงสำคัญ อาจพบกลูเตนที่ไม่ได้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์บางอย่างได้

อาหารที่ปราศจากกลูเตน ได้แก่ :

  • เนื้อและปลา
  • ผลไม้และผัก
  • ธัญพืชบางชนิด ได้แก่ ข้าว ผักโขม ควินัว และบัควีท
  • แป้งข้าวจ้าว
  • ธัญพืช เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย ข้าวฟ่าง และเทฟฟ์
  • พาสต้า ขนมปัง ขนมอบ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ระบุว่า “ปราศจากกลูเตน”

นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดกลูเตนจากสูตรอาหารได้โดยการเปลี่ยนส่วนผสม และบางครั้งทำได้โดยการปรับเวลาและอุณหภูมิในการปรุงอาหาร

ในอดีตผู้เชี่ยวชาญโรคเซลิแอคจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงข้าวโอ๊ต แต่ภายหลังพบหลักฐานว่าข้าวโอ๊ตมีปริมาณกลูเตนในระดับปานกลางเท่านั้น จึงปลอดภัย แต่ต้องไม่ให้ข้าวโอ๊ตสัมผัสกับกลูเตนในระหว่างการแปรรูป

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่าผู้ผลิตไม่สามารถแสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ได้ว่าอาหารนั้น ๆ ปราศจากกลูเตน ยกเว้นเมื่อมีกลูเตนน้อยกว่า 20 ppm ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดที่สามารถตรวจสอบได้ อย่างไรก็ดีกฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลากนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

อาหารแปรรูปบางชนิดที่อาจมีกลูเตน ได้แก่ :

  • ซุปกระป๋อง
  • น้ำสลัด
  • ซอสมะเขือเทศ
  • มัสตาร์ด
  • ซีอิ๊ว
  • เครื่องปรุงรส
  • ไอศครีม
  • ลูกกวาด
  • เนื้อสัตว์และไส้กรอกแปรรูปและกระป๋อง

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร แต่อาจมีกลูเตน ได้แก่ :

  • ยารักษาโรคบางชนิด
  • ผลิตภัณฑ์เสริมวิตามิน
  • ยาสีฟัน
  • เครื่องสำอาง ได้แก่ ลิปสติก ลิปกลอส และลิปบาล์ม
  • ตราไปรษณียากร
  • เวเฟอร์ที่ใช้ในพิธีถือศีลอด

คนทั่วไปก็ควรรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนหรือไม่?

อาหารที่ปราศจากกลูเตนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่จากผลการวิจัยพบว่าอาหารเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคโซดิแอดหรือภูมิแพ้กลูเตนแต่อย่างใด

ตามที่สถาบันโรคเบาหวานและระบบทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติกล่าวว่า “ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าประชาชนทั่วไปควรรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตน เพื่อลดน้ำหนักหรือสุขภาพที่ดีขึ้น”

อาหารที่มีกลูเตนอาจเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ  ได้แก่ ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก และแคลเซียม จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะขาดสารอาหารได้

คนส่วนมากพบว่าการกำจัดกลูเตนออกจากอาหาร จะเพิ่มการรักษาอาการของโรคบางอย่างได้ เช่นการรักษาลำไส้

หากเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากการใช้ยา เช่น diaminodiphenyl sulfone (Dapsone) การรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนจะช่วยลดอาการได้ เพราะเป็นการรักษาลำไส้ไปด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนจึงยังมีความสำคัญ

ผู้ที่เป็นโรคเซดิแอคอาจได้รับประโยชน์จากการเสริมสารอาหารอย่างวิตามิน และแร่ธาตุเพื่อป้องกัน หรือแก้ไขอาการข้อต่อบกพร่อง

นักวิจัยยังพบว่าการรักษาด้วยยาเพื่อลดอาการของโรคเซลิแอคจะให้ผลดีในระยะยาว

สรุปภาพรวมโรคเซลิแอค

โรคเซลิแอคเป็นภาวะแพ้ภูมิตัวเอง การสัมผัสกับกลูเตนจะทำให้ร่างกายโจมตีเซลล์ในลำไส้เล็ก ซึ่งยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะ ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้โดยเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ปราศจากกลูเตนแทน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *