เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา: 

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา: 

10.05
25793
0

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในระดับลึกของชั้นผิวหนัง ชั้นไขมัน และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 

แบคทีเรียบางชนิดอยู่บนผิวของเราและไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากพวกแบคทีเรียเหล่านั้นเข้าไปในผิว จะสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ผิวหนังของเราผ่านการบาด รอยถลอก หรือ แผลที่ถูกกัด 

cellulitis (เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) นั้นไม่เหมือนกับ cellulite (เซลลูไลท์) หรือ ผิวเปลือกส้มที่ต้นแขนหรือต้นขาที่เรารู้จัก 

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบคืออะไร 

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในชั้นที่ลึกของผิวหนัง 

มันเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและเป็นอันตรายต่อชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา 

ในเคสที่ไม่รุนแรงจะเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ มีรอยแดงขึ้นที่เดียว  ในเคสที่รุนแรงกว่าจะเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของการติดเชื้อ ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ 

การแพ่กระจายของเชื้อนั้นจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย 

การรักษาเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

การรักษาแต่เนิ่น ๆ ด้วยยาปฏิชีวนะนั้นได้ผลดี ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่บางคนก็ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล 

แพทย์อาจแนะนำการรักษาเหล่านี้: 

การใช้ยา 

ในกรณีที่ไม่รุนแรง เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบจะตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะชนิดทานใน 7-14 วัน อาการอาจแย่ลงในตอนแรก แต่จะดีขึ้นภายใน  2 วัน 

ยาปฏิชีวนะหลายชนิดสามรถรักษาเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบได้ แพทย์จะตัดสินใจว่าใช้ชนิดใดหลังจากทราบชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้ติดเชื้อและปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน 

ผู้ป่วยส่วนมากอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ แต่อาจจะนานกว่านั้นหากอาการรุนแรง 

แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในปริมาณน้อย ๆ ให้รับประทานในระยะยาว เพื่อป้องกันการกลับมาของโรค 

การรักษาในโรงพยาบาล 

ผู้ป่วยบางคนที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรวพยาบาล โดยเฉพาะหากมีอาการต่อไปนี้: 

  • มีไข้สูง
  • อาเจียน 
  • มีการติดเชื้อซ้ำ 
  • การรักษาที่ทำอยู่ไม่ได้ผล 
  • อาการต่าง ๆ รุนแรงขึ้น

ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนมากได้รับยาปฏิชีวนะแบบฉีดเข้าเส้นเลือด 

Cellulitis

อาการเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

อาการเหล่านี้เกิดขึ้นที่บริเวณี่ติดเชื้อ: 

  • แดง บวม 
  • รู้สึกอุ่น 
  • กดเจ็บ และปวด 

ผู้ป่วยบางรายมีแผลพุงพอง ผิวมีรอยบุ๋ม และเป็นจุด ๆ 

ผู้ป่วยอาจมีอาการของการติดเชื้อ ดังต่อไปนี้: 

  • อ่อนเพลีย
  • หนาวสั่น เหงื่อออกตัวเย็น 
  • สั่น 
  • มีไข้
  • คลื่นไส้ 

ในส่วนเพิ่มเติม ต่อมน้ำเหลืองอาจบวมและนิ่ม เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบที่ขา อาจส่งผลต่อต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ 

สาเหตุโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

แบคทีเรียกลุ่ม Streptococcus และ Staphylococcus เป็นแบคทีเรียที่อยู่บนผิว และไม่เป็นอันตราย 

แต่หากพวกแบคทีเรียผ่านเข้าไปในผิว ผ่านรอยบาดหรือรอยข่วน พวกมันสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ 

ปัจจัยเสี่ยง 

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ มีดังนี้: 

อายุ: เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเกิดขึ้นได้ระหว่าง หรือ หลังจากวัยกลางคน 

โรคอ้วน: เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบพบมากในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

มีปัญหาเกี่ยวกับขา: การบวม และบาดแผลสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้  

เคยเป็นเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมาก่อน: ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อนมีโอกาส 8-20 เปอร์เซนต์ที่จะกลับมาเป็นอีก จากการวิจัยทำให้เห็นว่า การติดเชื้อสามารถกลับมาได้อีกหลายครั้งในเวลา 1 ปี 

การสัมผัสกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม: ซึ่งรวมไปถึงน้ำที่ปนเปื้อน และสัตว์บางชนิด เช่น ปลา และ สัตว์เลื้อยคลาน 

ปัญหาเกี่ยวกับผิวอื่น ๆ: อีสุกอีใส โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง น้ำกัดเท้า ฝี และโรคเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ เพิ่มความเสี่ยงให้แบคทีเรียเข้าผิวหนังได้ 

ภาวะบวมน้ำเหลือง: ทำให้ผิวหนังบวม ซึ่งสามารถแตกและทำให้แบคทีเรียเข้าไปได้ 

โรคอื่น ๆ : ผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคไตมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเนื้อเยื่ออักเสบ 

เบาหวาน: หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ระบบไหลเวียนโลหิต หรือทั้งสองอย่างของพวกเขาสามารถทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังได้ 

ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง: เมื่ออายุมากขึ้นก็อาจมีภาวะนี้ได้ หรือหากเป็นโรคเอชไอวีหรือเอดส์ หรือหากกำลังได้รับการรักษาโดยการทำเคมีบำบัด หรือ ฉายแสง 

มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด: ผู้ที่มีระบบหมุนเวียนเลือดที่ไม่ดีมีโอกาสสูงที่จะเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นลึก ๆ 

ได้รับการผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บมาเร็ว ๆ นี้: สาเหตุนี้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ  

การใช้สารเสพติดชนิดฉีด: สารเสพติดชนิดเสพ โดยเฉพาะอย่างยิ่วที่ใช้เข็ม สามารถทำให้เกิด ฝีและการติดเชื้อใต้ผิวหนังได้ ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะเกิดเซลลืเนื้อเยื่ออักเสบ

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *