โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.05
8022
0

สมองพิการ (Cerebral Palsy)  เป็นคำที่ใช้อธิบายภาวะของระบบประสาทที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว เป็นรูปแบบของความพิการในวัยเด็กที่พบบ่อยที่สุด 

โรคนี้จะทำให้มีการเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายได้ลำบาก และความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ  

เนื่องจากสมองบางส่วนได้รับความเสียหาย ดังนั้นอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยอย่างจงใจหรือโดยไม่ได้ต้้งใจหรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน  

โรคสมองพิการไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่มีผลต่อสติปัญญาหรือความสามารถในการรับรู้ และอาการของโรคจะไม่มีการพัฒนาไปกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น จึงไม่เลวร้ายลงไปตามอายุ บางคนพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปกลับมีอาการดีขึ้น

คนที่เป็นโรคสมองพิการมักจะมีอายุยืนยาวตามปกติ และในหลาย ๆ กรณีสามารถคาดหวังได้ว่าจะมีอาการดีขึ้นได้

สาเหตุของโรคสมองพิการ 

สมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ คือ ส่วนที่เรียกว่า ซีรีบรัม ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า หากเกิดความเสียหายกับสมองส่วนนี้ในช่วงเวลา 5 ปี หลังคลอด อาจจะทำให้เกิดภาวะสมองพิการได้ 

สมองส่วนซีรีบรัมทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความสามารถในการเรียนรู้ และทักษะในการสื่อสาร นี่คือสิ่งที่สามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าคนที่เป็นโรคสมองพิการจะมีปัญหาเรื่องการการสื่อสารและการเรียนรู้ บางครั้งหากสมองส่วนนี้ได้รับความเสียหายจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยินอีกด้วย 

ทารกแรกเกิดบางคนขาดออกซิเจนในระหว่างคลอดและการคลอด 

ในอดีตที่ผ่านมา มีความเชื่อกันว่า การขาดออกซิเจนระหว่างการคลอดทำให้เกิดความเสียหายกับสมองได้

อย่างไรก็ตามมีผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยสมองพิการที่เกิดจากการขาดออกซิเจนระหว่างการคลอดน้อยมีจำนวนกว่า 1 ใน 10 ราย 

ส่วนใหญ่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมอง จะเกิดขึ้นก่อนคลอดในระยะประมาณช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

มีเหตุผลอย่างน้อย 3 อย่าง ที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดภาวะดังที่กล่าวมานี้ 

Periventricular Leukomalacia (PVL)

PVL คือประเภทของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเนื้อสมองส่วนที่เป็นสีขาว ซึ่งเกิดจากการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ 

ซึ่งเกิดจากมารดามีภาวะติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ความดันโลหิตต่ำ คลอดก่อนกำหนด หรือใช้ยาเสพติด 

มีพัฒนาการของสมองผิดปกติ 

สมองหยุดการเจริญเติบโต ทำให้มีผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ และการทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

ในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะเป็นช่วงที่สมองของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์มีความเปราะบางเป็นพิเศษ สามารถเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย  

ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่สมองของทารกอาจเกิดจากการกลายของยีนที่ทำหน้าที่ในพัฒนาการของสมอง การติดเชื้อบางอย่าง เช่น ท็อกโซพลาสโมซิส (toxoplasmosis) การติดเชื้อปรสิต เริม ไวรัสเริม และการบาดเจ็บที่ศีรษะ 

การตกเลือดในกะโหลกศีรษะ 

บางครั้งทารกอาจจะเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อทารกในครรภ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 

ภาวะเลือดออกในสมองทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองส่วนที่สำคัญ และทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นเสียหายหรือตายได้ เลือดที่ไหลออกมายังสามารถจับตัวกันเป็นก้อนและทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบก้อนเลือดนั้นได้ 

มีปัจจัยหลายประการที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองในทารก ระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น 

  • การไหลเวียนของเลือดขัดขวางเนื่องจากมีการแข็งตัวของเลือดในรก 
  • มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดของทารกในครรภ์ 
  • การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองของทารกในครรภ์หยุดชะงัก 
  • มารดามีภาวะครรภ์เป็นพิษที่ไม่ได้รับการรักษา 
  • การอักเสบของรก  
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานของมารดา 

Cerebral Palsy

หากมีภาวะดังต่อไปนี้เพิ่มเข้ามา จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

  • การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน 
  • ทิ้งเด็กหลังคลอดไว้เป็นเวลานานกว่าปกติ 
  • คลอดด้วยการใช้เครื่องดูดสูญกาศดูดตัวเด็กออกมาด้วย 
  • ทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิดมีความผิดปกติของหัวใจ 
  • มีความผิดปกติของสายสะดือ 

สิ่งอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือการมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของสมองพิการได้เช่นกัน

ปัจจัยที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองพิการ ได้แก่ 

  • การคลอดเด็กพร้อมกันหลายคนต่อครั้ง เช่น การคลอดทารกฝาแฝด 
  • เกิดความเสียหายกับรก 
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ของมารดา 
  • การบริโภคแอลกอฮอล์ ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือได้รับสารพิษในระหว่างการตั้งครรภ์ 
  • การขาดสารอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ 
  • ความผิดปกติแบบสุ่มของสมองของทารกในครรภ์ 
  • กระดูกเชิงกรานของมารดามีขนาดเล็กเกินไป 
  • การคลอดทารกในท่าเอาก้นออกมาก่อนศีรษะ 

ความเสียหายของสมองที่เกิดขึ้นหลังการคลอด 

การที่สมองได้รับความเสียหายหลังจากคลอดออกมาพบว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก  กรณีแบบนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การบาดเจ็บที่ศีรษะ อุบัติเหตุจากการจมน้ำ หรือการเป็นได้รับสารพิษ

ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อสมองหลังการคลอด ความเสียหายนี้จะเกิดขึ้นหลังจากคลอดทันที เมื่ออายุมากขึ้นสมองของคนเราจะมีความยืดหยุ่นและสามารถทนต่อความเสียหายมากขึ้น 

อาการของโรคสมองพิการ

ทารกที่พิการทองสมองในส่วนซีรีบรัมพิการจะมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว รวมถึงสภาวะกล้ามเนื้อไม่ดี สภาวะกล้ามเนื้อไม่ดี หมายถึงความสามารถในการหดตัวและคลายตัวกล้ามเนื้อโดยอัตโนมัติของบุคคล เมื่อมีความจำเป็น 

สภาวะกล้ามเนื้อไม่ดี มีภาวะดังนี้

  • มีกล้ามเนื้อมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อไม่พัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่แข็งทื่อหรือโคลงเคลง 
  • การประสานงานและความสมดุลไม่ดีเรียกว่า การเสียสมดุล (ataxia)    
  • การเคลื่อนไหวโดยไม่ได้ตั้งใจ (การบิดงอและการคลายตัวช้า) 
  • กล้ามเนื้อแข็งที่หดตัวผิดปกติเรียกว่าอัมพาตกระตุก 
  • คลานในลักษณะที่ผิดปกติ 
  • นอนราบในท่าที่ดูแล้วอึดอัด 
  • ชอบใช้ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายมากกว่าอีกด้านหนึ่ง 
  • เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด 

อาการอื่นๆ ที่อาจพบ ได้แก่ 

  • คลานหรือพูดได้ช้ากว่าวัย ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ความสำเร็จด้านพัฒนาการของเด็ก
  • มีปํญหาเรื่องการได้ยินและสายตา 
  • มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้
  • มีอาการชัก 
  • น้ำลายไหล และมีปัญหาเกี่ยวกับการป้อนอาหาร การดูดและการกลืน 
  • ตกใจง่าย 

โดยปกติจะเริ่มแสดงอาการให้เห็นในช่วง 3 ปีแรกของเด็ก  

การรักษาโรคสมองพิการ 

ไม่มีวิธีรักษาโรคสมองพิการ การรักษาสามารถช่วยได้เพียงการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น และเพิ่มการเคลื่อนที่ของเด็กให้สามารถเคลื่อนไหวได้เพิ่มมากขึ้น 

เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองพิการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและคณะจะช่วยดูแลความต้องการของเด็กสมองพิการเหล่านั้น คณะทำงานอาจรวมถึงแพทย์ กุมารแพทย์ นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น

แผนการดูแลส่วนบุคคลจะช่วยตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัวได้ เมื่อเด็กโตขึ้น จะได้รับการทบทวนปรับแก้แผนการดูแลให้ความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย  

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การช่วยให้เด็กพิการทางสมองได้รับความเป็นอิสระให้มากที่สุด 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *