เจ็บหน้าอก (Chest Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เจ็บหน้าอก (Chest Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.10
1620
0

อาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain) คืออาการเจ็บบริเวณทรวงอกที่เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบและแต่ละรูปแบบมีอาการเจ็บปวดต่างกัน มีทั้งอาการเจ็บหน้าอกแบบบีบรัดหน้าอกหรือปวดร้อนในทรวงอก พบว่าอาการส่วนใหญ่มีอาการเจ็บปวดตั้งแต่คอไปจนถึงขากรรไกรและลงไปที่หลังจากนั้นลงไปยังแขนทั้งสองข้าง บางครั้งอาจจะเจ็บหน้าอกเวลาหายใจ

มีปัญหาสุขภาพมากมายที่เกิดขึ้นจากอาการเจ็บหน้าอกซึ่งอาการเเน่นหน้าอกที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมากที่สุดคืออาการที่เกิดขึ้นกับหัวใจเเละปอด เพราะอาการเจ็บหน้าอกสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายเเรงได้จึงจำเป็นต้องไปพบเเพทย์โดยด่วน

Chest Pain

อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากอะไร

อาการเจ็บที่หน้าอกมีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการเจ็บปวด โดยปกติไม่ได้เป็นอันตรายใดกับหัวใจดังนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้จึงไม่สามารถอธิบายอาการเจ็บปวดให้กับเเพทย์ทราบได้

อาการเจ็บหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ

แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นมักมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หลายคนที่เป็นโรคหัวใจบอกว่าพวกเขามีความรู้สึกอึดอัดและเเน่นหน้าอกและไม่สามารถอธิบายอาการที่เกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปอาการแน่หน้าอกเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลวหรือปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหัวใจซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • อาการกดดันที่หน้าอก เเน่นหน้าอก ปวดแสบร้อนที่ทรวงอกหรือ
  • อาการบีบหน้าอกหรืออาการเจ็บปวดบริเวณหลัง คอ ขากรรไกร หัวไหล่และแขนทั้งสองข้าง 
  • มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นหลายนาทีและมีอาการเลวร้ายลงเรื่อยๆ โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเเละหายไปและมีระดับความเจ็บปวดที่แตกต่างกัน
  • หายใจติดขัดสั้นๆ
  • มีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะหรือมีอาการอ่อนเเรง 
  • มีอาการคลื่นไส้เเละอาเจียน

อาการเจ็บหน้าอกประเภทอื่นๆ

เป็นเรื่องยากในการบอกความแตกต่างของอาการเจ็บหน้าอกแต่ละประเภท อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอบเล็กน้อยมักเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวใจ 

  • มักได้รับรสเปรี้ยวหรือมีอาการอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่ปาก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
  • มีอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้นหรือเลวร้ายลงเมื่อเปลี่ยนบริบทของร่างกาย
  • มีอาการเจ็บปวดรุนเเรงขึ้นเมื่อหายใจเเรงๆหรือไอ
  • มีอาการกดเจ็บเมื่อกดที่หน้าอก
  • มีอาการเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง

อาการแสบร้อนกลางอกทั่วไปมักมีอาการเจ็บปวด รู้สึกแสบร้อนที่กระดูกหน้าอกเป็นสาเหตุมาจากปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจหรือกระเพาะอาหาร 

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ 

ถ้าหากคุณมีอาการมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นใหม่หรือมีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สามารถอธิบายได้หรือมีอาการที่หน้าสงสัยว่าเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ควรโทรหารถโรงพยาบาลฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือโดยทันที

สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

อาการเจ็บหน้าอกที่เกี่ยวข้องหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกที่เกียวข้องกับหัวใจได้แก่

  • โรคหัวใจ โรคหัวใจเกิดขึ้นจากการอุดตันของเส้นเลือดในหัวใจโดยมักเกิดจากเส้นเลือดคอดที่เกิดขึ้นบนกล้ามเนื้อหัวใจ 
  • ภาวะเจ็บหน้าอก เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากกระเเสเลือดไหลผิดปกติในหัวใจ อาการนี้เกิดจากการสะสมของก้อนไขมันในผนังหลอดเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ก้อนไขมันเหล่านี้ทำให้หลอดเลือดเเคบลงและทำให้เกิดการบีบรัดหลอดเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจโดยเฉพาะเมื่อหัวใจเกิดการบีบตัว
  • ภาวะเลือดที่ไหลออกจากเส้นเลือด aorta อาการนี้เป็นอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดใหญ่ที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจชื่อว่า aorta ถ้าหากภายในของผนังหลอดเลือดแตกออก เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดจะเข้าไปแทรกซึมอยู่ในชั้นของผนังหลอดเลือดและเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือด aorta เเตกออกได้  
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นอาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับเยื่อหุ้มรอบๆหัวใจ โดยปกติมักทำให้เกิดอาการเจ็บแบบจุกเสียดซึ่งมักมีอาการรุนเเรงขึ้นเมื่อคุณหายใจหรือเมื่อคุณนอนลง

สาเหตุจากระบบย่อยอาหาร 

อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหารได้แก่ 

  • อาการแสบร้อนในทรวงอก เป็นอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นที่กระดูกทรวงอก อาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีกรดไหลย้อนเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร 
  • การกลืนลำบาก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหารทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากเเละมีอาการเจ็บปวดเมื่อกลืนอาหาร 
  • ปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี โรคถุงน้ำดีอักเสบหรือถุงน้ำดีติดเชื้อสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมาที่หน้าอก

สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหรือกระดูก

อาการเจ็บหน้าอกบางประเภทมีความเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดและปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างที่ทำหน้าที่ป้องกันผนังหน้าอกได้แก่

    • กระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบ อาการของโรคนี้เกิดขึ้นบริเวณกระดูกอ่อนของซี่โครง โดยเฉพาะกระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณข้อต่อของซี่โครงของกระดูกทรวงอกเกิดการติดเชื้อและมีอาการเจ็บปวด 
  • อาการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อ เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเช่นไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อหน้าอกได้อย่างถาวร 
  • อาการบาดเจ็บที่กระดูกซี่โครง อาการบาดเจ็บหรือกระดูกซี่โครงแตกหักสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

สาเหตุเกิดจากปอด

ความผิดปกติของปอดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้แก่

  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เกิดขึ้นเมื่อมีเส้นเลือดคอดเกิดขึ้นที่ปอดหรือเส้นเลือดของปอดจึงทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตันภายในเนื้อเยื่อปอด 
  • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ถ้าหากเยื่อหุ้มปอดเกิดอาการติดเชื้อทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่หน้าอกได้เมื่อหายใจเข้าหรือไอ
  • ภาวะปอดแตกอาการเจ็บที่หน้าอกที่เกี่ยวข้องกับภาวะปอดเเตก โดยปกติสามารถเกิดขึ้นทันทีเเละหายไปเองได้เมื่อเวลาผ่านไปและโดยปกติจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะหายใจสั้น ภาวะปอดแตกเกิดขึ้นเมื่อมีลมภายในปอดรั่วระหว่างปอดเเละซีกโครง 
  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อมีความดันภายในปอดสูงขึ้นซึ่งเกิดขึ้นในหลอดเลือดใหญ่ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงปอดจึงทำให้เกิดอาการเจ็บที่หน้าอกได้

สาเหตุอื่นๆเช่น

นอกจากนี้อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆได้แก่ 

  • โรคแพนิค ถ้าหากคุณมีอาการกลัวมากมักมีอาการเจ็บหน้าอกเกิดร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วเเละหอบ มีเหงื่อออกมาก หายใจสั้น มีอาการคลื่นไส้เเละอาเจียน วิงเวียนศีรษะรวมไปถึงอาการกลัวตาย ถ้าหากคุณเคยมีอาการเหล่านี้หมายความว่าคุณกำลังเป็นโรคแพนิค 
  • โรคงูสวัด เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและเป็นแผลพุพองที่หลังและรอบหน้าอกของคุณ

การรักษาอาการเจ็บหน้าอก

การรักษาอาการเจ็บหน้าอกนั้นมักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น ในบางครั้งอาการอาจจะหายไปได้เอง แต่หากเกิดจากอาการที่มาจากการเป็นโรคประจำตัว ผู้ป่วยควรรักษาโรคประจำตัวนั้นให้หาย อาการเจ็บหน้าอกก็จะดีขึ้นตามลำดับ ตัวอย่างเช่นหากอาการเจ็บหน้าอกเกิดจากโรคกรดไหลย้อนที่ทำให้มีอาการแสบและเจ็บบริเวณทรวงอก ให้ทานยาลดกรดในกระเพาะ แล้วอาการเจ็บแสบหน้าอกจะหายไป หรือในบางคนเป็นโรคกล้ามเนื้อในหน้าอกอักเสบ สามารถทานยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อได้ ความรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอกก็จะดีขึ้น

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *