โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.08
877
0

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) คือ อาการผิดปกติที่ไตสูญเสียการทำงาน และเรื้องรังเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดอาการผิดปกตินี้จะพัฒนาสู่ไตวายอย่างถาวร

โรคไตเรื้อรัง หรือที่เราเรียกว่า โรคไตวายเรื้อรัง นั้นมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าที่เราคาดคิด เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถวินิจฉัยหรือตรวจพบได้เมื่อระยะแรกของโรค

มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคไตวายในระยะแรก เนื่องจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะรู้ตัว เมื่อการทำงานของไตของพวกเขาลดลงถึงร้อยละ 25 

เมื่อไตวายและการทำงานของไตบกพร่องอย่างรุนแรง ระดับของเสียและของเหลวที่เป็นพิษสามารถสะสมในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว การรักษาไตวายนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อหยุดหรือชะลอการลุกลามของโรค รักษาโดยการควบคุมสาเหตุของอาการ

สถานการณ์ของโรคไตกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับทั่วโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และจากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั้งสิ้น จำนวน 39,411 ราย แยกเป็นผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้อง จำนวน 20,993 ราย ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 13,503 ราย และผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่รับเฉพาะยา EPO จำนวน 4,951 ราย ทั้งนี้จากจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้สิทธิบัตรทอง เป็นผู้หญิงจำนวน 20,125 ราย คิดเป็นร้อยละ 51 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมดนี้ เป็นหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 15-49 ปี และทั้งพบประวัติโรคร่วม ได้แก่ โรคเบาหวานร้อยละ 49 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 81 และโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 4.2 แต่อย่างไรก็ดีเพศหญิงก็มีความเสี่ยงที่ต่างจากเพศชายในบางกรณี เช่น ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับตั้งครรภ์ อาทิ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ เป็นต้น รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง จะเห็นได้ว่าโรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคที่คุกคามสุขภาพประชากรขณะนี้ และจากประมาณการณ์ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี 2564) จะมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบเพิ่มเป็นจำนวน 59,209 ราย

อาการของคนเป็นโรคไต

อาการคนเป็นโรคไตวายเรื้อรังนั้นต่างจากไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากเป็นโรคที่มีการลุกลามและแย่ลงอย่างช้าๆ แม้ว่าไตหนึ่งหยุดทำงาน แต่อีกไตหนึ่งสามารถทำงานปกติได้ มักจะไม่วินิจฉัยพบจนกว่าอาการจะรุนแรงและเริ่มปรากฏ

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไตจะต้องรับการตรวจการทำงานของไตอย่างสม่ำเสมอ การวินิจฉัยพบโรคไตเรื้อรังตั้งแต่แรกๆ และทำการรักษา สามารถช่วยป้องกันความเสียหายของไตอย่างรุนแรงได้

อาการที่พบบ่อยของโรคไตเรื้อมีดังนี้:

  • โรคโลหิตจาง
  • มีเลือดในปัสสาวะ
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เฉื่อยชา
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • อาการบวมน้ำ – เท้าบวมมือและข้อเท้า 
  • เหนื่อยล้า
  • ความดันโลหิตสูง
  • นอนไม่หลับ
  • คันผิวหนัง
  • เบื่ออาหาร
  • ผู้ชายหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • คลื่นไส้
  • ปวดด้านข้างหรือกลางถึงหลังส่วนล่างของลำตัว
  • หอบ 
  • พบโปรตีนในปัสสาวะ
  • น้ำหนักเพิ่มหรือลดไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดหัวไม่ทราบสาเหตุ

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)

โรคไตเกิดจากอะไร?

ไตมีหน้าที่เป็นระบบการกรองที่ซับซ้อนในร่างกายของเรา ของเสียส่วนเกินและของเหลวในร่างกายจะถูกกรองโดยไต ก่อนขับออกจากร่างกาย

โดยปกติไตสามารถกำจัดของเสียส่วนใหญ่ที่ร่างกายของเราผลิต อย่างไรก็ตามหากการไหลเวียนของเลือดไปยังไตนั้นผิดปกติ การทำงานของไตก็จะบกพร่องเนื่องจากความเสียหายของไต หรือหากมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะอาการนี้ก็จะปรากฏเช่นกัน

สาเหตุโรคไตวายเรื้อรังมาจากเหตุเหล่านี้ :

  • โรคเบาหวาน – โรคไตเรื้อรังมีความเชื่อมโยงกับโรคเบาหวานประเภท 1 และ 2 หากโรคเบาหวานของผู้ป่วยไม่ได้รับการควบคุมอย่างดี น้ำตาลส่วนเกิน (กลูโคส) จะสะสมในเลือดได้ โรคไตมักจะไม่ปรากฏในช่วง 10 ปีแรกของโรคเบาหวาน แต่มักเกิดขึ้น 15-25 ปีหลังจากการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง – ความดันโลหิตสูงสามารถทำลาย Glomeruli ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องในการกรองของเสีย
  • ทางเดินปัสสาวะมีสิ่งกีดขวาง – หากมีการปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ จะส่งผลให้ปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไหลย้อนกลับสู่ไต (vesicoureteral reflux) การไหลของปัสสาวะที่ถูกปิดกั้น จะเพิ่มแรงดันต่อไต และทำลายการทำงานของไต สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ ต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต หรือเนื้องอก
  • โรคไต – ได่แก่ Polycystic kidney disease, Pyelonephritis หรือ Glomerulonephritis.
  • หลอดเลือดไตตีบ – หลอดเลือดแดงไตแคบลง หรือเลือดถูกกีดขวาดก่อนที่จะไหลเวียนเข้าสู่ไต
  • สารพิษบางชนิด – รวมถึงเชื้อเพลิงตัวทำละลาย (คาร์บอนเตตราคลอไรด์) และตะกั่ว (สีที่มีสารตะกั่วและวัสดุบัดกรี) แม้แต่เครื่องประดับบางอย่างก็มีสารพิษที่อาจทำให้ไตวายเรื้อรังได้
  • การพัฒนาของทารกในครรภ์ – ไตไม่พัฒนาอย่างเหมาะสม ในช่วงพัฒนาของทารกในครรภ์
  • Systemic lupus erythematosus – โรคภูมิต้านตนเอง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายไต เหมือนกับทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
  • ไข้มาลาเรียและไข้เหลือง – ทำให้การทำงานของไตบกพร่อง
  • ยารักษาโรคบางชนิด – การใช้ยาบางชนิดมากเกินไป เช่น NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน
  • การใช้สารเสพติด – เช่น เฮโรอีน หรือโคเคน
  • การได้รับบาดเจ็บ – ไตได้รับความบาดเจ็บ

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคไตเรื้อรังได้อย่างหายขาด อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการรักษาที่ช่วยควบคุมอาการ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน รวมถึงชะลอการลุกลามของโรค

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำเป็นต้องรับประทานยาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการรักษา และใช้วิธีการรักษาดังนี้:

การรักษาโรคโลหิตจาง Anemia treatment

เฮโมโกลบิน คือ ส่วนหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนซึ่งสำคัญสำหรับร่างกาย หากระดับฮีโมโกลบินต่ำจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง

ผู้ป่วยโรคไตบางรายที่เป็นโรคโลหิตจางต้องได้รับการถ่ายเลือด และจะต้องทานอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กชนิดเม็ด หรือบางครั้งได้รับผ่านการฉีดสาร

ยารักษาโรค Anti-sickness medications

หากสารพิษสะสมในร่างกาย เพราะไตทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบาย (คลื่นไส้)  ยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยประเภทนี้ได้แก่ Cyclizine หรือ Metaclopramide

NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs)

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงยากลุ่ม NSAID เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน และใช้เฉพาะตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

การปลูกถ่ายไต Kidney transplant

ผู้บริจาคและผู้รับไตควรมีกรุ๊ปเลือด โปรตีนเซลล์ และแอนติบอดี้ที่เหมือนกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการที่ไตใหม่ใช้การไม่ได้ ผู้บริจาคที่ดีที่สุด คือ สมาชิกในครอบครัว หากไม่สามารถหาได้ ทางการแพทย์อาจจะหาจากผู้เพิ่งเสียชีวิตใหม่ๆ ที่ไตนั้นยังมีชีวิตและมีความเข้ากันได้กับผู้ป่วย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *