

โคม่า (Coma) คือสภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติและไม่รู้สึกตัวอยู่เป็นเวลานาน จากสาเหตุต่างๆ เช่น บาดเจ็บที่ศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง ได้รับยาหรือแอลกอฮอล์เกินขนาด หรือจากโรคภัยอื่น เช่น เบาหวาน หรือการติดเชื้อ
โคม่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ และต้องการการปฎิบัติอย่างฉับไว เพื่อรักษาชีวิตและการทำงานของสมองไว้ แพทย์มักให้ตรวจเลือด และตรวจสมองเพื่อหาสาเหตุ และให้การรักษาที่เหมาะสม
ภาวะโคม่าอาจยาวนานหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยที่หมดสติอยู่เป็นเวลานานอาจเข้าสู่ระยะ “ผัก” หรือสมองตาย
อาการโคม่า
อาการและอาการแสดงของโคม่า เช่น
ไม่ลืมตา
การตอบสนองของก้านสมองลดลง เช่น รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง
แขนขาอ่อนปวกเปียก ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองยกเว้นการเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ
ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นที่ทำให้เจ็บปวด ยกเว้นการเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ
หายใจไม่สม่ำเสมอ
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
โคม่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ถ้าพบผู้ที่โคม่า ต้องพาไปพบแพทย์ทันที
สาเหตุของอาการโคม่า
อาการโคม่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมีหลายอย่างเช่น
สมองบาดเจ็บ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร หรือจากความรุนแรง(การต่อสู้)
โรคหลอดเลือดสมอง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอหรือไปไม่ถึงสมอง เกิดจากการที่เส้นเลือดแดงอุดตัน หรือเส้นเลือดฉีกขาด
เนื้องอก เนื้องอกในสมองหรือที่ก้านสมอง ทำให้เกิดโคม่า
เบาหวาน น้ำตาลในเลือดที่สูงมาก หรือต่ำมากทำให้เกิดโคม่า
การขาดออกซิเจน ผู้ที่จมน้ำและช่วยขี้นมาได้และผู้ที่หัวใจวาย หากมีการช่วยฟื้นคืนชีวิต มักไม่ฟื้นเพราะสมองขาดออกซิเจน
การติดเชื้อ การติดเชื้อ เช่นสมองอักเสบ และเยื่อบุสมองอักเสบ ทำให้สมอง ไขสันหลังและเนื้อเยื่อรอบสมองบวม การติดเชื้อที่รุนแรงทำให้สมองเสียหายหรือโคม่า
การชัก การชักอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดโคม่าได้
สารพิษ การได้รับสารพิษ เช่นคาร์บอนมอนอกไซด์ หรือ สารตะกั่ว ทำให้สมองเสียหายและโคม่า
ยาและแอลกอฮอล์ การได้รับยาหรือแอลกอฮอล์เกินขนาด ก็ทำให้โคม่าได้
ภาวะแทรกซ้อนของอาการโคม่า
แม้คนมากมายจะค่อยๆฟื้นจากโคม่า แต่บางคนไม่ฟื้น เข้าสู่การเป็น “ผัก” หรือตายไป ผู้ที่หายจากโคม่า มักมีความพิการตามมา ไม่มากก็น้อย
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดเมื่ออยู่ในภาวะโคม่า เช่น แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ มีก้อนเลือดอุดตันในขา และอื่นๆ
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
https://www.webmd.com/brain/coma-types-causes-treatments-prognosis#1
https://www.webmd.com/brain/coma-types-causes-treatments-prognosis