เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.01
3301
0

เยื่อบุตาอักเสบคืออะไร

การที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบ (Conjunctivitis)  จะทำให้ดวงตาจะกลายเป็นสีแดง บวม และระคายเคือง อาจเกิดเยื่อเมือกขึ้นภายในดวงตา โรคตาแดงจึงมีโอกาสติดต่อกันผ่านการสัมผัสได้สูงมาก

เยื่อบุตาประกอบไปด้วยเซลล์หรือผนังชั้นบางๆ ซึ่งถูกปกป้องด้วยเปลือกตา

การอักเสบเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดเล็กๆ หรือหลอดเลือดฝอยภายในเยื่อบุตาเห็นเด่นชัดขึ้นมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดอาการไม่สบายภายในดวงตา ตาจะเป็นสีชมพูหรือสีแดงเป็นระยะเวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น

สาเหตุหลักเกิดจากการระคายเคือง คืออาการแพ้ และการติดเชื้อ ซึ่งบทความนี้เราจะมุ่งประเด็นไปที่การติดเชื้อของโรคตาแดง

ประเภทของเยื่อบุตาอักเสบ

มีหลายวิธีในการจำแนกชนิดของเยื่อบุตาอักเสบ

แบ่งตามสาเหตุ ดังนี้ :

  • เยื่อบุตาอักเสบจากสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแพ้ : สารที่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง เช่น มลภาวะ, คลอรีน, สิ่งแปลกปลอม, สิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและการอักเสบ

  • เกิดจากการติดเชื้อ : แบคทีเรีย หรือไวรัส ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

แบ่งตามความรุนแรง

  • เยื่อบุตาอักเสบชนิดเฉียบพลัน : มักมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจจะ 3-4 สัปดาห์

  • เยื่อบุตาอักเสบชนิดเรื้อรัง : มีอาการมากกว่า 4 สัปดาห์

อาการของเยื่อบุตาอักเสบ

ลักษณะและอาการส่วนใหญ่เป็นดังนี้

  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ มักขึ้นอยู่กับการระคายเคือง และการขยายตัวของหลอดเลือดแดงภายในเยื้อบุตา

  • มีสารคัดหลั่งภายในตา

  • ตาแฉะ เนื่องจากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาออกมามากกว่าปกติ

  • ขี้ตาเหนียว เกาะขนตาเยอะมาก โดยเฉพาะเวลาตื่นนอน

  • ปวดตา รู้สึกไม่สบายภายในดวงตา

  • ตาบวม เนื่องจากการอักเสบ

  • รู้สึกคันตา, ร้อน หรือระคายเคืองตา

  • ไม่สบายตาเมื่อใส่คอนแทคเลนส์

หากเกิดจากการติดเชื้อ อาการตาแดงจะแสดงที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลุกลามไปที่ตาอีกข้าง

Conjunctivitis

หากเกิดจากสิ่งระคายเคือง เช่น ฝุ่น อาการตาแดงจะแสดงที่ตาทั้งสองข้างพร้อมกัน

ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค บางคนมีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น

ซึ่งมักเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ

ทารกที่เป็นเยื่อบุตาอักเสบ

ในเด็กทารกมักเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ โดยอาการส่วนใหญ่ได้แก่ ตาแดง ตาบวม และเปลือกตาบวม

การรีบไปพบแพทย์จะสามารถช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์และให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

เยื่อบุตาอักเสบเป็นโรคติดต่อหรือไม่

เยื่อบุตาอักเสบเป็นผลมาจากการติดเชื้อ สามารถติดต่อกันได้ คนเราสามารถรับเชื้อได้จาก

  • การสัมผัสกัน เช่น การจับมือกันแล้วไปสัมผัสที่ดวงตา

  • ละอองฝอยภายในอาการ เนื่องจากการไอจาม

  • การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อติดอยู่ แล้วไปสัมผัสดวงตา

เยื่อบุตาอักเสบส่วนใหญ่จึงเกิดจากการติดต่อในระหว่างที่มีอาการ คนที่เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบจึงควรอยู่บ้านขณะที่เป็นโรค

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ เมื่อเชื่อว่าเกิดการติดเชื้อที่ดวงตา

เราควรรีบเข้ารับการแนะนำเมื่อ

  • อาการปวดตารุนแรงขึ้น

  • การมองเห็นเปลี่ยนไป

  • ตาแพ้แสงหรือไวต่อแสง

  • ดวงตาแดงเข้มขึ้น ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

  • ดวงตารู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ภายใน

  • ปวดศีรษะรุนแรงและรู้สึกไม่สบาย

อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะของโรคที่รุนแรงขึ้นได้

สาเหตุของเยื่อบุตาอักเสบ

โรคเยื่อบุตาอักเสบมักมีสาเหตุมาจากทั้งสิ่งก่อให้เกิดการแพ้ หรือการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย

โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ได้แก่

  • อะดิโนไวรัส (Adenoviruses)

  • เริม (Herpes viruses)

  • เอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses)

ส่วนสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

  • เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)

  • เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส นิวโมนิอี (Streptococcus pneumoniae)

  • เชื้อฮีโมฟิลัส อินฟูเอนซ่า (Haemophilus influenza)

เยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บางครั้งติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อคลามีเดีย (Chlamydia)

เชื้อโควิด-19 สามารถทำให้เกิดตาแดงได้หรือไม่

เมื่อ กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2020 มีรายงานว่า พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19 แสดงอาการของโรคตาแดงเพียงอย่างเดียว จึงสัญนิฐานว่า อาจเป็นสาเหตุจากการติดเชื้อโควิด19

แม้ว่าเชื้อโคโรน่าจะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคตาแดง และนักวิทยาศาสตร์ยังต้องการการวิจัยที่มากกว่านี้เพื่อประกอบการตัดสิน ว่าโรคตาแดงเป็นอาการอย่างหนึ่งของการติดเชื้อโควิด19

สาเหตุของโรคเยื่อบุตาอักเสบในเด็กทารก

โรคตาแดงในเด็กแรกเกิดมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ, การระคายเคือง หรือต่อมน้ำตาอุดตัน ซึ่งสาเหตุทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน

  • แบคทีเรีย หรือไวรัส สามารถนำไปสู่การติดเชื้อ โดยมักติดเชื้อระหว่างการคลอด แม้ว่ามารดาจะไม่มีอาการก็ตาม

  • การติดเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่เกิดจาก เชื้อหนองใน (Neisseria gonorrhoeae) ที่ทำให้เกิดโรคหนองใน, เชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) ส่วนเชื้อไวรัส ได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ แต่เกิดได้น้อย

เยื่อบุตาอักเสบในเด็กทารก มักได้รับการป้องกันการติดเชื้อ โดยการให้ยาหยอดตาทั้งสองข้าง ภายหลังการคลอด ทำให้อาการตาแดงจะหายไปเองภายใน 24-36 ชม.

สาเหตุอื่นของเยื่อบุตาอักเสบ

  • เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

  • ต้อหินเฉียบพลัน (Acute glaucoma)

  • กระจกตาอักเสบ (Keratitis)

  • ม่านตาอักเสบ (Iritis)

ซึ่งบางอาการอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หากท่านใดได้รับการรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์

การวินิจฉัยเยื่อบุตาอักเสบ

  • ดูสัญญาณเตือนและอาการที่เกิดขึ้น

  • ซักประวัติ เช่น ประวัติโรคทางตา และการแพ้ต่างๆ

  • ในบางรายอาจทำการป้ายเชื้อส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

การรักษาเยื่อบุตาอักเสบ

การรักษาที่บ้าน มากกว่าครึ่งของผู้ที่ติดเชื้อโรคตาแดง สามารถหายได้เองภายใน 10วัน โดยไม่ต้องใช้ยา โดยแพทย์มักให้เฝ้าสังเกตุอาการและรอให้หายเอง

การดูแลตนเองที่บ้านสามารถทำได้ เพื่อช่วยลดอาการให้หายเร็วและกลับมาเป็นปกติได้ เช่น

  • ลดอาการปวดตา : ใช้ยาบรรเทาปวด Ibuprofen

  • เลี่ยงการสวมใส่คอนแทคเลนส์ : เพื่อลดอาการตาแดงที่เป็นอยู่ และทำการเปลี่ยนคอนแทคเลนส์, ภาชนะใส่เลนส์ และน้ำยาแช่เลนส์ใหม่

  • หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า : การแต่งหน้าอาจนำมาซึ่งการติดเชื้อที่ดวงตาได้ และควรเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ใหม่

  • การหยอดน้ำตาเทียม : จะช่วยลดอาการปวดตาลงได้

  • การใช้ผ้าชุปน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดรอบดวงตาเพื่อความสะอาด

  • การประคบอุ่น : เพื่อลดความไม่สบายตา

  • เลี่ยงการแพร่เชื้อ

    • เปลี่ยนปลอกหมอน และผ้าเช็ดตัวทุกวัน

    • เลี่ยงการสัมผัสดวงตาและใบหน้า

    • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน

    • ล้างมือบ่อยๆ

ยารักษา

ส่วนใหญ่โรคเยื่อบุตาอักเสบมักหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา หากรายใดติดเชื้อจากไวรัส แพทย์มักแนะนำให้รักษาอาการที่บ้าน หากเกิดจากการแพ้หรือระคายเคือง ก็ควรเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการ

หากแพทย์สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็มักจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ในรูปของยาหยอดตา

การใช้ยาหยอดตา

ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา ปริมาณในการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ในเด็กเล็กการใช้ยาป้ายตาจะสะดวกกว่า

เลี่ยงการสัมผัสตาภายหลังหยอดยา และไม่ใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเป็นสื่อที่นำสู่การส่งต่อเชื้อแก่กัน

ภายหลังการหยอดยา การมองเห็นอาจจะเบลอเพียงช่วงระยะสั้นๆ

การป้องกัน

ควรลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อหรือการแพร่เชื้อของโรคตาแดง ได้แก่

  • ไม่สัมผัส หรือขยี้ตา

  • ล้างมือบ่อยๆ

  • ถอดคอนแทคเลนส์ทุกครั้งก่อนนอนและทำความสะอาดเลนส์ตามที่คู่มือระบุ

  • ทำความสะอาดแว่นตาอยู่เสมอ

  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว และเครื่องสำอาง

  • สวมแว่นตาว่ายน้ำทุกครั้งที่ลงสระน้ำ

การลดความเสี่ยงของสิ่งก่อการระคายเคืองและสิ่งที่ก่อให้เกิดการแพ้ของโรคตาแดง

  • อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท

  • หมั่นดูแลทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ

  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *