แผลที่กระจกตา (Corneal Ulcer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แผลที่กระจกตา (Corneal Ulcer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.05
17254
0

แผลที่กระจกตาคืออะไร 

แผลที่กระจกตา (Corneal Ulcer) คือแผลเปิดหรือแแผลถลอกที่กระจกตาที่มีการติดเชื้อที่กระจกตา บริเวณด้านหน้าของดวงตา กระจกตาจะทับอยู่บนม่านตา เป็นเยื่อบางๆที่อยู่ด้านหน้าของเลนส์ตาเป็นส่วนที่เป็นสีของนัยต์ตา และถูกแยกออกจากม่านตาโดยน้ำของเหลวในช่องหน้าลูกตา

อาการของแผลที่กระจกตา 

แผลที่กระจกตามักจะปรากฎให้เห็นจุดขุ่นๆสีเทาหรือสีขาว หรือฝ้าในบริเวณกระจกที่ปกติควรจะต้องใสและโปร่งแสง แผลกระจกตาบางอันอาจจะเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้หากไม่มีเครื่องขยายที่เหมาะสม

แผลที่กระจกตาคือหลุมเล็กๆ (แผล) ที่ด้านหน้าของตา มักเป็นผลเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา คนที่ใส่คอนแทนเลนส์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลที่กระจกตาเพราะเชื้อโรคอาจติดเข้าไปหลังเลนส์

อาการของแผลกระจกตาคือ:

  • อาการเจ็บ
  • มีรอยแดง
  • รู้สึกเหมือนดวงตามีรอยข่วนหรือมีบางสิ่งบางอย่างอยู่ข้างใน
  • ตาแพ้แสง (Photophobia)
  • การมองเห็นไม่ชัด

หากสงสัยว่าเป็นแผลที่กระจกตาหรือมีอาการของแผลที่กระจกตาและใส่คอนแทคเลนส์ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที ยาปฏิชีวนะชนิดแรงและยาแก้ปวดสามารถรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้

การรักษาด้วยตนเองคือการถอดคอนแทคเลนส์ออก แล้วประคบเย็นบริเวณดวงตาข้างที่มีอาการ, ล้างมือบ่อยๆและซื้อยารักษาโรคที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่นไทลินอลหรือยามอทริน

แผลกระจกตาทำให้มีอาการเจ็บตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา, น้ำตาไหลและมีหนองหรือมีของเหลวข้นไหลออกจากตา หากเกิดแผลที่บริเวณตรงกลางกระจกตา การมองเห็นจะไม่ชัดเจน และจะยิ่งงรู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อมีคนส่องแสงจ้าเข้าตา (อาการตากลัวแสง) 

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตา 

แผลที่กระจกตาส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของแผลกระจกตาและมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ เชื้อแบคทีเรียสามารถบุกตรงเข้าสู่กระจกตาได้เลยหากผิวบริเวณกระจกเคยมีการถูกทำลายมาก่อน เชื้อแบคทีเรียบางตัวจะผลิตสารพิษที่สามารถเป็นต้นเหตุการเกิดแผลที่กระจกตาได้ เรียกว่ากระจกตารอบนอกอักเสบ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค๊อกคัล เชื้อไวรัสก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้เช่น เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (เชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหวัด) และไวรัสวาริเซลลา(ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด) นอกจากนี้การติดเชื้อราเองก็สามารถทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้เช่นกันและอาจเกิดขึ้นร่วมกับการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์มากเกินไป เชื้อปรสิตเช่น อะแคนธามีบา ก็เป็นสาเหตุของแผลที่กระจกตาได้

รอยแผลเล็กๆหรือรอยข่วนที่บริเวณผิวกระจกตาก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและนำไปสู่แผลที่กระจกตาได้ ยกตัวอย่างเช่น เศษเหล็ก, ไม้,แก้ว, หรือวัตถุแทบจะทุกชนิดที่มาโดนกระจกตาก็สามารถเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บเล็กได้ การได้รับบาดเจ็บจะไปทำลายผิวกระจกตาและทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าจู่โจมได้ง่ายและทำให้เกิดแผลที่กระจกตา กระจกตาถลอกคือการที่ผิวกระจกตาเสียหายเป็นบริเวณกว้างและอาจเป็นแผลได้หากไม่ได้รับการรักษา

ภาวะโรคบางอย่างเช่นภาวะตาแห้งก็คือการที่ดวงตาไม่มีน้ำตาไว้ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคจึงเป็นสาเหตุหรืออาจทำเกิดแผลที่กระจกตาเป็นมากขึ้น

โรคบางชนิดที่ส่งผลต่อเปลือกตาและไปขัดขวางทำให้ตาปิดได้ไม่สนิทเช่นโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก สามารถทำให้กระจกตาแห้งและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผล รวมไปถึงการที่มีหนังตาตกเข้าไปที่ในตาหรือขนตาขึ้นแยงเข้าข้างในตาและการขยี้ตาบริเวณกระจกตาล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดแผลกระจกตาทั้งสิ้น

บาดแผลไหม้จากสารเคมี หรือการโดนสารละลายพ่นใส่เข้าไปในดวงตาสามารถทำให้กระจกตาได้รับบาดเจ็บ และนำไปสู่แผลกระจกตา

คนที่ใส่คอนแทคเลนส์มีความเสี่ยงสูงในการเกิดแผลกระจกตา การใช้แบบรายวันชนิดใช้แล้วทิ้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นสิบเท่าสำหรับการใช้คอนแทคเลนส์แบบถาวร หรือการใส่คอนแทคเลนส์นานติดต่อกันหลายวันโดยไม่ถอดตอนเข้านอนf

รอยฉีกขาดตรงขอบคอนแทคเลนส์สามารถทำให้เกิดขีดข่วนที่บริเวณผิวกระจกตาและเปิดโอกาสให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่นเดียวกับการมีเศษสกปรกเล็กๆที่ติดอยู่ใต้คอนแทคเลนส์ก็สามารถทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่กระจกตาได้เช่นกัน เชื้อแบคทีเรียอาจจะอยู่บนคอนแทคเลนส์ที่ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ และเข้าไปติดอยู่ใต้ผิวของคอนแทคเลนส์  หากเลนล์ถูกใส่เป็นระยะเวลานานๆ แบคทีเรีบก็จะเจริญเติบโตอย่างทวีคูณและเป็นสาเหตุทำให้กระจกตาเสียหาย อีกทั้งการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆยังทำให้กระจกตาไม่ได้รับออกซิเจน ยิ่งทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ การดูแลคอนแทคเลนส์ที่ไม่เพียงพอก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกระจกตามากขึ้น 

ผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน (การกดภูมิคุ้มกัน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเองและโรคอื่นๆ) อาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคดังกล่าว 

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับแผลที่กระจกตา 

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับแผลกระจกตารวมไปถึงการไม่สวมแว่นป้องกันเมื่อต้องใช้เครื่องมือกลหรือระหว่างการเชื่อมโลหะ, ดวงตาได้รับบาดเจ็บ, มีภาวะตาแห้งรุนแรง, การใช้คอนแทคเลนส์ผิดวิธี, รักษาอาการตาแดงล้มเหลว (โรคตาแดง), รับแสงยูวี (เช่นตาได้รับความเสียหายเพราะแสงสะท้อนจากหิมะ) มีเปลือกตาหรือขนตาที่ผิดปกติ,และใช้ยากดภูมิคุ้มกัน 

Corneal Ulcers

สัญญานของแผลกระจกตา 

นักจักษุแพทย์ (แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทาในการรักษาและผ่าตัดเกี่ยวกับโรคตา) อาจจะสังเกตเห็นสัญญานการอักเสบ (ตาแดง) ในเยื่อบุตาและในห้องหน้าลูกตา การเกิดตาแดงขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการขยายตัว บริเวณเปลือกตาอาจจะบวม และเกิดจุดสีขาวหรือสีเทาบนกระจกตาที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากแผลมีขนากใหญ่ บาดแผลอาจเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณตรงกลางกระจกตาหรือบริเวณขอบกระจกตา มีอาการบวมของกระจกตารอบๆแผล อาจเกิดแผลเดียว(หรือหลายแผล)ในดวงตาได้และแผลอาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ในรายที่เป็นแผลกระจกตาที่รุนแรงมักเกิดร่วมกับภาวะม่านตาอักเสบ

สามารถวินิจฉัยแผลที่กระจกตาได้อย่างไร 

แผลกระจกตาสามารถวินิจฉัยได้โดยจักษุแพทย์ผ่านการตรวจดวงตา จักษุแพทย์จะสามารถระบุแผลได้โดยใช้กล้องไมโครสโคปที่รู้จักกันดีว่า slit lamp ด้วยการหยดสีย้อมแสงลงในดวงตาจะทำให้เห็นแผลในกระจกตาได้ง่ายมากขึ้น อาจมีการขูดกระจกตาแล้วส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อระบุว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย ราหรือไวรัส เชื้อแบคทีเรียในตระกูลซูโดโมนาสอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในกระจกตาซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

การรักษาแผลที่กระจกตา 

เป้าหมายของการรักษาคือกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล แพทย์จะใช้ยาฆ่าเชื้อโดยตรงในกรณีที่กระจกตาเนื่องจากติดเชื้อ โดยการใช้ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายหรือหยอดลงที่ดวงตา ในบางครั้งโดยเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัสแพทย์มักจะสั่งจ่ายยาชนิดรับประทาน ในบางกรณีแพทย์อาจสั่งยาหยอดตาชนิดคอร์ติโคสเตียรอยด์ แต่หลังจากใช้ยาชนิดนี้แล้วควรได้รับการตรวจจากแพทย์หรือจักษุแพทย์เพราะในบางครั้งอาจไปขัดขวางการรักษาหรืออาจทำให้การติดเชื้อแย่ลง

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงเพราะตาแห้งหรือกระจกตาติดเชื้อ (เช่นกระจกตาติดเชื้อจนทำให้ตาแห้ง) อาจจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียม อาจร่วมกับการแปะปิดตา

หากแผลที่กระจกตาเกิดมาจากการได้รับบาดเจ็บ ตัวที่ทำให้เกิดอาการจำเป็นต้องมีการนำเอาออกจากดวงตา (ด้วยการชะล้างสารเคมีหรือใช้กล้องขยายชนิดพิเศษเพื่อช่วยในการนำเอาเศษไม้หรือเหล็กออกไป) และจากนั้นก็ใช้ยารักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลที่กระจกตามีขนาดเล็ก

หากเกิดแผลที่กระจกตาเนื่องจากขนตาทิ่มแยงเข้าไปด้านใน ขนตาที่ทิ่มเข้ามาควรต้องนำออกไป 

การใช้คอนแทคเลนส์ในรายที่มีแผลที่กระจกตาควรหยุดไว้ก่อน เพราะการเกิดบาดแผลสาเหตุแรกๆก็มาจากการใช้คอนแทคเลนส์นั่นเอง

หากแผลที่กระจกตาไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเล็มแผล 

แผลที่กระจกตาที่เกิดเนื่องจากโรคภูมิคุ้มกันที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเจาะจงเฉพาะด้วยยากดภูมิ ผู้ป่วยอาจต้องให้จักษุแพทย์รักษาร่วมกับแพทย์ด้านอื่น ผู้ป่วยที่มีภาวะม่านตาอักเสบร่วมกับมีแผลที่กระจกตา ยาหยอดตากลุ่มไซโคลพลีจิกอาจต้องถูกนำมาใช้เพื่อลดอาการเจ็บและลดการขยายของม่านตาดำลง

คนที่มีอาการตาระคายเคืองที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากถอดคอนแทคเลนส์ออกแล้วหรือหลังการชำระล้างควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที และห้ามยืมยาหยอดตาจากคนอื่นใช้

หากคุณมีอาการแผลที่กระจกตา คุณควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ จักษุแพทย์คือหมอที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา หากพบว่าแผลที่กระจกตามีอาการุนแรงหรืออาจทำให้การมองเห็นเลวร้าย จักษุแพทย์ของคุณอาจจะส่งตัวตุณไปยังจักษุแพทย์ที่เชียวชาญในการรักษาโรคกระจกตาโดยเฉพาะ

ระยะเวลาในการรักษาแผลที่กระจกตา 

เวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตา และขนาด, ตำแหน่ง,และความลึก  อแผลที่กระจกตาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นหากมีการรักษาที่เหมาะสมอาการต่างๆควรจะดีขึ้นภาบในสองถึงสามอาทิตย์ การรักษาอาจจะยังคงต้องมีต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อลดจำนวนแผลที่อาจเกิดขึ้น แผลที่กระจกตาถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและอาจทำให้ตาบอดได้

ภาพรวม

การพยากรณ์โรคสำหรับแผลที่กระจกตาขึ้นอยู่กับสาเหตุ,ขนาด,และตำแหน่ง รวมไปถึงว่าได้มีการรักษารวดเร็วแค่ไหนและมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีแค่ไหน ถึงแม้ว่าแผลที่กระจกตาส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากระดับของแผลก็ตาม แต่รอยแผลนั้นจะต้องไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็น หากบาดแผลลึก, รุนแรงและอยู่ตรงกลางตา แผลดังกล่าวก็อาจเป็นสาเหตุทำให้การมองเห็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรได้

การป้องกันแผลที่กระจกตา

การป้องกันไม่ให้กระจกตาเป็นแผลนั้นมีความสำคัญมาก ควรสวมแว่นป้องกันเมื่อต้องใช้เครื่องมือกลหรือเมื่อใดก็ตามที่อาจมีโอกาสได้รับเศษเล็กๆเข้าตา 

การมีภาวะตาแห้งหรือมีเปลือกตาปิดไม่สนิทควรใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ดวงตาของคุณ

หากพบว่ามีอาการตาแดงและระคายเคือง แย่ลงหรือไม่ตอบสนองต่อยาหยอดตาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปภายในวัน ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์

คนที่ใช้คอนแทคเลนส์ควรต้องยิ่งระมัดระวังวิธีการล้างทำความสะอาดเลนส์ แผลที่กระจกตาที่เกิดจากคอนแทคเลนส์สามารถป้องกันได้ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบเลนส์ ห้ามใช้น้ำลายในการให้หล่อลื่นคอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด เพราะในปากเรามีเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำอันตรายต่อกระจกตาได้ ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอนทุกครั้งและล้างทำความสะอาดทุกครั้ง ห้ามใช้น้ำก็อกในการทำความสะอาดเลนส์เด็ดขาด ห้ามนอนหลับโดยไม่ถอดคอนแทคเลนส์ เลนส์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใส่นอนข้ามคืน ถอดคอนแทคเลนส์ออกทันทีเมื่อรู้สึกตามีอาการระคายเคือง และปล่อยทิ้งไว้จนกว่าตาจะไม่ระคายเคืองหรือแดง

ข้อเท็จจริงของแผลที่กระจกตา

  • แผลที่กระจกตาคือแผลเปิดที่บริเวณกระจกตา 
  • สาเหตุการเกิดแผลที่กระจกตามีหลายสาเหตุมากมาย รวมไปถึงการติดเชื้อ, การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายและจากสารเคมี , กระจกตาแห้งและสัมผัสเชื้อ, และการใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไปและผิดวิธี
  • แผลที่กระจกตาเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและอาจส่งผลทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้
  • แผลกระจกตาส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้
  • ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที แผลที่กระจกตาส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นและส่งผลร้ายน้อยมากต่อการมอง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *