ตาปลา (Corns) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ตาปลา (Corns) : อาการ สาเหตุ การรักษา

15.09
4036
0

ตาปลาคืออะไร 

ตาปลา (Corns) คือโรคผิวหนังหนาด้านชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังตาย

โดยปกติอาการนี้เกิดขึ้นบริเวณผิวที่เรียบและไม่มีขน โดยเฉพาะที่บริเวณส่วนหัวหรือด้านข้างของหัวเเม่เท้า ส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆไม่มีจุดศูนย์กลางและสามารถมีพื้นผิวที่แข็งหรืออ่อนนุ่มได้

ตาปลาที่มีลักษณะเเข็งมักมีขนาดเล็กและเกิดขึ้นบนผิวหนังที่หนาขึ้นหรือเกิดขึ้นบนบริเวณที่เกิดผิวหนังหนาด้านและผิวหนังที่หุ้มกระดูกบริเวณฝ่าเท้า

ตาปลาที่เป็นตุ่มอ่อนมีสีขาวคล้ายผิวของยางมักเกิดขึ้นที่ซอกระหว่างนิ้วเท้าซึ่งเป็นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก 

ผู้คนมักใช้คำว่าตาปลา กับโรคหนังหนาด้านเพื่ออธิบายอาการผิดปกติของผิวหนังที่เกิดขึ้นสลับกันเนื่องจากสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน

Corns

โรคหนังหนาด้านคืออะไร

โรคหนังหนาด้านคือผิวหนังที่ด้านและหนาขึ้นเนื่องจากแรงเสียดทาน แรงกดดันหรือการรบกวน อาการนี้มันเกิดขึ้นบนฝ่าเท้าและสามารถเกิดขึ้นบนมือ ข้อศอกหรือหัวเข่าได้

หนังหนาด้านมีลักษณะเป็นสีเหลืองหรือสีเนื้อซีดรู้สึกว่ามีพื้นผิวเป็นก้อนเมื่อสัมผัสเมื่อผิวหนังหนาขึ้นอาจทำให้ไม่เกิดความรู้สึกเมื่อจับที่ผิวบริเวณที่เกิดหนังหนาเมื่อเทียบกับผิวบริเวณรอบๆ 

แผ่นหนังหนาด้านที่เกิดขึ้นมักมีขนาดใหญ่กว่าผิวหนังที่เป็นตาปลาและไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน อาการนี้มักเกิดขึ้นที่บริเวณผิวที่สัมผัสกับการขัดถูบ่อยๆเช่นผิวบริเวณที่มีการขัดถูกับกระดูก การเสียดสีของผิวหนังในรองเท้าหรือพื้น

โดยทั่วไปอาการนี้มักเกิดขึ้นที่กระดูกฝ่าเท้าบริเวณใต้หัวเเม่เท้าซึ่งเป็นผิวบริเวณที่คนลงน้ำหนักเมื่อกำลังเดิน

โดยปกติโรคหนังหนาด้านไม่เป็นอันตรายแต่บางครั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเกิดแผลเปื่อยบนผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่มีระบบการหมุนเวียนเลือดไม่ดี

สัญญาณเตือนและอาการ

ตาปลาเเละโรคหนังหนาด้านสามารถทำให้รู้สึกเหมือนเดินอยู่บนก้อนหิน

สัญญาณเตือนหรืออาการที่อาจบ่งบอกได้ว่ามีอาการตาปลาหรือหนังหนาด้านเกิดขึ้นได้แก่อาการดังต่อไปนี้

  • มีตุ่มเเข็งเกิดขึ้น
  • มีเกิดผิวหนาและหยาบเกิดขึ้น
  • มีสะเก็ดผิวหนังแห้งเกิดขึ้น
  • เกิดอาการเจ็บปวดหรืออาการกดเจ็บที่ผิวหนัง

ถ้าหากตาปลาหรือโรคหนังหนาด้านเกิดการติดเชื้อและเจ็บปวดผู้ป่วยควรไปหาหมอเพื่อรับการรักษา

ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดี มีผิวแตกลายหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและไม่ที่ความรู้สึกที่เท้าควรเข้าพบแพทย์ก่อนรักษาตาปลาหรือหนังหนาด้านด้วยตนเองที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปลายประสาทอักเสบและโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยเฉพาะ

การกำจัดตาปลาเเละหนังหนาด้าน

หมอที่รักษาโรคเกี่ยวกับเท้าอาจตัดผิวหนังที่หนาออกด้วยมีดผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการกดทับบนเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านล่าง ผู้ที่เป็นโรคนี้ไม่ควรตัดผิวหนังรอบๆตาปลาหรือหนังหนาด้านด้วยตนเองเพราะจะทำให้เกิดความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตาปลาและหนังหนาด้านมีดังต่อไปนี้

  • การกระทำทุกอย่างที่ทำให้เกิดแรงกดทับหรือการเสียดสีบนผิวหนัง
  • การใส่รองเท้าที่คับเกินไปหรือการใส่รองเท้าส้นสูงที่ทำให้เกิดเเรงกดทับ
  • การใส่รองเท้าที่หลวมเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเเรงเสียดทาน
  • รอยตะเข็บของรองเท้าหรือพื้นรองเท้าที่ไม่ดี
  • การสวมถุงเท้าที่ไม่พอดี
  • การไม่ใส่ถุงเท้า
  • การเดินด้วยเท้าเปล่าเป็นประจำทำให้ผิวหนาขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง
  • การกระทำซ้ำๆเช่นการวิ่งหรือการเดินในลักษณะซ้ำๆ
  • อายุมากขึ้นทำให้ไม่มีไขมันในเนื้อเยื่อของผิวซึ่งทำให้ผิวหนังที่ฝ่าเท้าบางลงและมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคผิวหนังหนาด้านที่บริเวณเนินปลายเท้าได้มากขึ้น 

ส่วนใหญ่โรคหนังหนาด้านมักเกิดขึ้นที่เท้าแต่แต่เเรงเสียดสีและแรงกดทับสามารถทำให้เกิดหนังหนาด้านบนมือได้ด้วยเช่นกัน

ผู้ที่ใช้มือทำงานบ่อยๆโดยไม่ใส่ถุงมือสามารถเกิดอาการหนังหนาด้านได้ การคุกเข่าหรือการเอามือเท้าคางบ่อยๆบนโต๊ะสามารถทำให้เกิดผิวหนังหนาด้านขึ้นที่บริเวณเข่าและข้อศอกได้ด้วยเช่นกัน

ตาปลาที่เท้าหรือสภาพเท้าที่หงิกงอผิดปกติความพิการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับเท้าอื่นๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหนังเท้าหนาด้านได้ หรือบางคนอาจจะเป็นตาปลาที่ฝ่าเท้า ตาปลาที่นิ้วเท้าเป็นอาการผิดปกติของผิวหนังฝ่าเท้าที่เสียดสีกับกระดูกซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณข้อต่อบริเวณฐานของนิ้วเท้า โรคเท้างอคืออาการที่นิ้วหัวเเม่เท้างอเข้าหากัน

การดูแลรักษาที่บ้าน

หลายคนสามารถรักษาตาปลาและโรคหนังหนาด้านได้ที่บ้านโดยการหาซื้อยามาใช้เองจากร้านขายยา

เคล็ดลับสำหรับการรักษาได้แก่

  • ใช้สบู่ถูบริเวณที่เป็นตาปลาหรือหนังหนาด้านใรน้ำอุ่นเป็นเวลา 5 ถึง 10 นาทีจากนั้นให้ขัดบริเวณที่ผิวหนังที่หนาด้าน สามารถขัดเเบบวงกลมหรือขัดถูไปมาเพื่อช่วยกำจัดผิวหนังที่ตายได้
  • ใช้ครีมหรือโลชั่นสำหรับทาให้ความชุ่มชื้นกับผิวทาที่เท้าทุกวัน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ กรดซาลิกไซลิก ยูเรียหรือสารปรับให้เป็นกรด (ammonium lactate ) ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลัดเซลล์ผิว
  • การรกระทำซ้ำๆที่เป็นสาเหตุของตาปลาเเละหนังหนาด้านควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาโรคนี้ได้
  • รองเท้าหรือถุงเท้าที่ใส่พอดีกับเท้าสามารถป้องกันฝ่าเท้าไม่ให้เกิดการเสียดสีกับพื้นรองเท้าได้
  • แผ่นเสริมรองเท้าที่ทำมาจากโฟมหรือซิลิโคนสามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันและลดเเรกกดทับบนตาปลาได้ อุปกรณ์เสริมที่สวมใส่กับฝ่าเท้าทำให้เท้าไม่เกิดการผิดรูปซึ่งอุปกรณ์เสริมส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้บนอินเตอร์เนต 

กรดซาลิกซิลิคืออะไร 

มาตรฐานการรักษาตาปลาเเละโรคหนังหนาด้านคือการใช้กรดซาลิกซิลิกซึ่งนำมารักษาหูดได้ด้วยเช่นกัน

การใช้ยาลอกเนื้อด้าน (keratolytic) หมายถึงการใช้ยาเพื่อทำลายโปรตีนหรือเคราตินที่ทำให้เกิดตุ่มตาปลาและผิวหนังที่ตายรอบตุ่มตาปลา

การรักษาตาปลาสามารถใช้ครีมเหล่านี้และใช้แผ่นปิดแผลปิดตุ่มตาปลาได้

เนื้อที่กลายเป็นสีขาวบนตุ่มตาปลาและเนื้อเยื่อที่ตายเเล้วรอบๆตุ่มตาปลาสามารถตัดออกได้

เมื่อตุ่มตาปลาหรือหนังหนาด้านหายไปสามารถใช้สบู่ถูบริเวณผิวหนังที่แข็งและหยาบได้ทุกสัปดาห์ถ้าหากบริเวณผิวหนังที่แข็งมีสัญญาณของการเกิดตาปลาและหนังหนาด้านอีก

กรดซาลิกซิลิกมีความเข้มข้นของกรดแตกต่างกัน ความเเรงของกรดอาจทำให้ตุ่มตาปลาหายไปได้เร็วขึ้นแต่จำเป็นต้องผู้ภายใต้การรักษาของแพทย์

ส่วนประกอบของยาอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองรอบผิวดังนั้นควรระวังเมื่อใช้ยานี้และไม่ควรแกะหรือแคะตุ่มตาปลาหรือหนังหนาด้านที่ลอกออกมา

ข้อควรระวัง

เมื่อรักษาตาปลาหรือผิวหนังหนาด้านด้วยตัวเองที่บ้านไม่ควรเอาหนังออกมาเกินไปเพราะจะทำให้อาการเจ็บปวดเเละการาติดเชื้อได้

ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรตัดหนังหรือเล็มหนังฝ่าเท้าด้วยตัวเองเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเเละรักษาได้ยากรวมถึงอาจทำให้เกิดแผลเปื่อยขึ้นได้

ผู้ป่วยควรได้รับคำปรึกษาจากเแพทย์ก่อนใช้ยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิกซิลิกในการรักษาเพราะหากใช้ยาที่มีความเข้มข้นของกรดมากเกินไปสามารถทำให้เกิดแผลเปื่อยได้

การตัดแต่งหนังควรให้หมอรักษาโรคเกี่ยวกับเท้าหรือผู้เชี่ยวชาญทำให้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การตัดแต่งหนังเป็นประจำหรือบ่อยๆอาจทำให้ตุ่มตาปลาเเละหนังหนาด้านเก็บขึ้นซ้ำอีก

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *