โรคครูป (Croup) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคครูป (Croup) : อาการ สาเหตุ การรักษา

08.05
33009
0

โรคครูป (Croup) คืออาการอักเสบของกล่องเสียงและหลอดลมซึ่งส่วนใหญ่พบในเด็กเล็ก อาการไอแห้งที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินหายใจในระดับที่แตกต่างกัน และทำให้เสียงแหบตามมาได้

ภาวะการติดเชื้อจากหลานสาเหตุคือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคครูปได้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

อาการไอแห้งที่เป็นลักษณะหนึ่งของโรคครูปเป็นผลเนื่องมาจากอาการบวม และอักเสบ บริเวณเส้นเสียงและหลอดลม โดยปกติอาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 2 – 3 วัน แต่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

โรคครูปนั้นมักเกิดอาการกับเด็กได้ถึง 3 % โดยพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี

สาเหตุของโรคครูป

แบ่งตามสาเหตุหรือที่มาของอาการไอ ได้ดังนี้

โรคครูปจากเชื้อไวรัส

 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

โรคครูปชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากเชื้อไวรัส อาการมักเกิดขึ้นทันที และมีเป็นช่วง ๆ อาการมักใกล้เคียงกับโรคอื่น ๆ จึงยากต่อการวินิจฉัย

นักวิจัยบางคนให้เหตุผลว่ากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ นั้นอาจเชื่อมโยงกับสารก่อภูมิแพ้ อย่างเกสรดอกไม้ หรือผึ้งต่อย หรืออาการแพ้ต่อแอนติเจนของไวรัสแทนที่จะเป็นผลโดยตรงจากการติดเชื้อไวรัส

ไวรัส parainfluenza ชนิดที่ 1, 2 และ 3 คือสาเหตุของโรคครูปถึงร้อยละ 80

Human parainfluenza virus 1 (HPIV-1) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคครูป ไวรัสชนิดที่ 1 และ 2 ก่อให้เกิดโรคได้ถึง 66 % ไวรัสชนิดที่ 4 มีความเกี่ยวข้องกับโรคอนู่บ้าง แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน

ไวรัสต่อไปนี้มีโอกาสทำให้เกิดโรคครูป ได้แก่:

  • ไวรัส RSV
  • เมทานูโมไวรัส
  • อินฟลูเอนซ่า A และ B
  • อะดีโนไวรัส
  • ไวรัสโคโรน่า
  • ไมโคพลาสมา

รูปแบบของการติดเชื้อไวรัสที่พัฒนาจนเกิดโรคครูป:

  • รับเชื้อไวรัสทางจมูกและลำคอ
  • ไวรัสแพร่กระจายจากลำคอไปยังกล่องเสียง และหลอดลม
  • การติดเชื้อบริเวณส่วนบนสุดของหลอดลม และทำให้เกิดอาการบวม
  • ช่องว่างสำหรับอากาศเข้าสู่ปอดแคบลง
  • เด็กแก้ไขอาการหายใจลำบากด้วยการหายใจเร็ว และลึกขึ้น ซึ่งนำไปสู่อาการของโรคครูป
  • เด็กอาจกระสับกระส่ายหรือกระวนกระวายเนื่องจากหายใจได้ลำบาก การกระสับกระส่ายนี้สามารถทำให้ลำคอแคบลง หายใจลำบากขึ้น และยิ่งทำให้กระสับกระส่ายมากขึ้น
  • ความพยายามหายใจให้เร็วขึ้น และหนักขึ้น จนรู้สึกเหนื่อย และในกรณีที่รุนแรงเด็กอาจหมดแรงและไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง

โรคครูปยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับอาการทางพันธุกรรม  อย่างอาการเป็น ๆ หาย ๆ และอาการแบบเฉียบพลัน มักพบได้บ่อยในเด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคครูป ความเสี่ยงของการเกิดอาการเป็น ๆ หาย มาจากผลของโรคที่เคยเป็นมาก่อน

โรคครูปจากเชื้อแบคทีเรีย:

โรคครูปจากเชื้อแบคทีเรียเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ซึ่งพบได้น้อยกว่าโรคไวรัสโคโรนา และสามารถแบ่งเป็นโรคหลอดลมอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย กล่องเสียงอักเสบ (laryngotracheobronchitis: LTB) หลอดลมอักเสบ (LTBP) และโรคคอตีบที่กล่องเสียง

การติดเชื้อแบคทีเรียมักมีอาการคล้ายคลึงกับการติดเชื้อไวรัส แต่โดยทั่วไปมักรุนแรงกว่า และต้องการรักษาด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

กรณีส่วนใหญ่ของโรคครูปจากแบคทีเรีย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคหลอดลมคอติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมกันระหว่าง Staphylococcus aureus (S. aureus) และแบคทีเรียอื่น ๆ ได้แก่ S. pyogenes, S. pneumonia, Haemophilus influenza และ Moraxella catarrhalis

อาการของโรคครูป

อาการหลักของโรคครูปคือ “ไอแห้ง ๆ” ที่อาจเริ่มอย่างกะทันหันในเวลากลางคืน

เด็ก ๆ อาจมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ รู้สึกอึดอัด และมีไข้เล็กน้อย ก่อนจะเริ่มมีอาการไอ โรคครูปมักมีอาการไม่รุนแรง และมีอาการน้อยกว่า 1 สัปดาห์ กรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้น มักเกิดจากอาการหายใจลำบากเมื่อหลอดลมส่วนบนบวม

อาการที่ไม่รุนแรงในเด็ก 85 % ต้องตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนจึงจะพบสัญญาณของโรคครูป โรคครูปที่รุนแรงพบได้ยาก และมีสัดส่วนต่ำกว่า 1 %ของผู้ป่วย

อาการอื่น ๆ นั้นรวมถึง:

  • เสียงหายใจดังหรือแหบ เมื่อหายใจเข้าหรือที่เรียกว่า เสียงฮืด
  • เสียงแหบ (Hoarseness)
  • ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ
  • หน้าอกขยับขึ้นและลงมากกว่าปกติในขณะหายใจ
  • ผื่น
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • อาการขาดน้ำ
  • ระดับออกซิเจนต่ำ
  • ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีฟ้าบริเวณนิ้วมือ เล็บเท้า ติ่งหู ปลายจมูก ริมฝีปาก ลิ้นและด้านในของแก้ม
  • มีไข้เล็กน้อย ไม่ค่อยพบอาการไข้สูง

ภาวะแทรกซ้อนที่มาจากโรคครูป ได้แก่ ปอดบวม น้ำท่วมปอด และหลอดลมอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

Croup

การรักษาโรคครูป

กรณีที่มีอาการรุนแรงต้องไปพบแพทย์ แพทย์จะกำหนดแนวทางการรักษา และพิจารณาว่าผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่

โรคครูปที่ไม่รุนแรง มักสามารถรักษาได้เองที่บ้าน อาจกำหนดให้ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในช่องปากเพียงครั้งเดียว แพทย์จะแนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีในการจัดการอาการของโรคและลักษณะอาการที่ควรพาผู้ป่วยมาพบแพทย์

การรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาเดกซาเมทาโซนเป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์

จากการทดสอบแบบสุ่ม (RCTs) พบว่าการให้ยาเดกซาเมทาโซนในช่องปากเพียงครั้งเดียวในเด็กที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดจำนวนเด็กที่ต้องมาพบแพทย์ได้ในช่วง 7 ถึง 10 วัน

กรณีที่เด็กอายุยังน้อย แต่มีโรคประจำตัว หรือดูไม่สบายมาก แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยเพิ่มก่อนสั่งจ่ายยารักษา

ยาสเตียรอยด์ไม่ได้ช่วยให้อาการป่วยหายไวขึ้น แต่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสามารถลดความรุนแรงของปัญหาการหายใจได้

การรักษาด้วยการดูแลที่บ้าน

มีวิธีการมากมายที่ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถจัดการกับอาการของโรคครูปที่บ้านได้

การใช้สติ ไม่ใช่อารมณ์ และพิจารณาอย่างมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ดูแลดูแลเด็กที่เป็นโรคครูป เนื่องจากเด็กเล็กที่เป็นโรคครูปมักหงุดหงิดง่าย และร้องไห้บ่อยจนทำให้อาการแย่ลงได้

เด็กที่มีหายใจดังไม่ควรให้นอนในท่านอนราบ 

การรักษาด้วยแพทย์

กรณีที่ผู้ดูแลสังเกตเห็นอาการดังต่อไปนี้ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์:

  • เด็กหายใจลำบากมาก
  • เด็กตัวซีดหรือผิวเริ่มคล้ำ
  • เด็กกระสับกระส่าย เพ้อหรือกระวนกระวาย
  • กระดูกหน้าอกของเด็กกระเพื่อมในขณะหายใจ
  • เด็กมีอุณหภูมิสูงและน้ำลายไหลตลอดเวลา
  • เด็กกระวนกระวายมาก พร้อม ๆ กับปัญหาในขณะหายใจ

โดยทั่วไปโรครูปจะหายได้เองภายใน 48 ชั่วโมง แต่หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (URTI) จะมีอาการดังต่อไปนี้:

  • อาการการหายใจลำบากขึ้น รวมถึงการหายใจถี่ ๆ  และต้องออกแรงมากเพื่อหายใจ กล้ามเนื้อหน้าอกหรือคอเคลื่อนไหวอย่างแรงเพื่อหายใจในแต่ละครั้ง
  • เด็กกระสับกระส่ายหรือกระวนกระวาย
  • เด็กตัวซีดผิดปกติ
  • ไข้สูงยังคงมีอยู่แม้ว่าจะให้ยาแก้ปวด acetaminophen หรือยาแก้อักเสบ ibuprofen

ผู้ดูแลควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินหากพบว่าเด็กมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ผิวคล้ำ
  • อาการเซื่องซึม
  • ต้องพยายามเพื่อหายใจ
  • น้ำลายไหล และไม่สามารถกลืนน้ำลายได้

ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อรักษาโรคครูป

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาโรคครูปในระดับอาการปานกลางถึงรุนแรง ได้แก่:

ออกซิเจน: ใช้สำหรับเด็กที่มีภาวะออกซิเจนต่ำ และหายใจลำบาก

nebulized adrenaline หรือ epinephrine: ใช้ในกรณีที่มีอาการของโรคครูปรุนแรงเท่านั้น ต้องพิจารณาปรับปริมาณยาทุก ๆ 30 นาที เมื่อใช้รักษาอาการโรคครูปแบบเฉียบพลัน อะดรีนาลีนที่ถูกนำมาใช้ต้องได้รับพิจารณาอาการอยู่เรื่อย ๆ มีประโยชน์ในกรณีที่เด็กเป็นโรคครูปปานกลาง หรือรุนแรง

กลูโคคอร์ติคอยด์: Dexamethasone, budesonide และ prednisone เป็นยาที่มีประสิทธิภาพรักษาภายใน 12 ชั่วโมงเมื่อเริ่มมีอาการ

การใส่เครื่องช่วยหายใจ: เป็นวิธีการสอดท่อเข้าไปในทางเดินหายใจ การใส่เครื่องช่วยหายใจมักจำเป็นต้องใช้ประมาณ 1 %ของผู้ป่วยโรคครูป เมื่อการปัญหาการอุดตันของทางเดินหายใจ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยรูปแบบการรักษาอื่น ๆ

(Acetaminophen) และ ibuprofen ใช้เพื่อควบคุมไข้ และอาการปวด ไม่แนะนำให้เช็ดตัวเพื่อควบคุมไข้

สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องได้รับของเหลวอย่างเพียงพอ  เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ หรือเครื่องปรับความชื้นด้วยไอเย็น ใช้เพื่อบรรเทาอาการโรคครูป แต่อาจไม่สามารถรักษาอาการได้

ยาแก้ไอและยาลดน้ำมูกไม่ช่วยบรรเทาอาการของโรคครูป

ผู้ปกครองควรสังเกตว่าอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในตอนกลางคืนและสามารถหายได้เอง การให้เด็กอยู่ในที่ ๆ เย็นสบายในตอนกลางคืนจะช่วยบรรเทาอาการหายใจลำบากได้เล็กน้อย

โดยปกติยาปฏิชีวนะไม่ได้ใช้เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสเนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพ เว้นแต่ใช้รักษาอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแบบร่วมกันหลายเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *