โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cytitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cytitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

31.08
1122
0

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cytitis) คือ ประเภทของกระเพาะปัสสาวะที่มีความรุนแรงและเรื้อรังมากกว่า ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคนี้ได้ที่นี่

ข้อเท็จจริงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย พบได้บ่อยที่สุด
  • ในกรณีส่วนใหญ่ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่รุนแรงจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน
  • หากมีอาการของโรคนี้มากกว่า 4 วัน ควรปรึกษาแพทย์

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบคืออะไร

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักจะเกิดขึ้น เมื่อท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะที่โดยปกติจะปลอดเชื้อ หรือปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย 

แบคทีเรียเกาะตัวกับผนังของกระเพาะอาหาร และทำให้บริเวณนั้นเกิดการระคายเคืองและอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบพบได้ในทั้งหญิงและชาย ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า

ประมาณร้อยละ 80 ของภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจากลำไส้เข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ  

แบคทีเรียเหล่านี้ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ แต่เมื่อแบคทีเรียนี้เข้าสู่บริเวณปลอดเชื้อในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ อาจก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาล ที่พบบ่อยที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ใช้ท่อสวนปัสสาวะ

อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สัญญาณและอาการบ่งชี้โรคกระเพาะปัสสาวะที่พบบ่อย ได้แก่:

  • มีเลือดในปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีสีคล้ำ ขุ่น และมีกลิ่นแรง
  • มีอาการปวดเหนือกระดูกหัวหน่าว ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดในช่องท้อง
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อน ขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย หรือรู้สึกอยากปัสสาวะบ่อย

ผู้สูงวัยอาจรู้สึกอ่อนเพลียและมีไข้ แต่ไม่มีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น พวกเขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปชัญญะ

มีความต้องการปัสสาวะบ่อยๆ แต่ปัสสาวะเพียงเล็กน้อยในแต่ละครั้ง

เมื่อเด็กๆ เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ พวกเขาอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวไว้ด้านบน ร่วมกับอาการอาเจียนและอาการอ่อนเพลียทั่วไป

อาการเจ็บป่วยหรือภาวะอื่นบางอย่าง มีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้แก่:

  • ท่อปัสสาวะอักเสบ หรือการอักเสบของท่อปัสสาวะ
  • กลุ่มอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ หรือการอักเสบของต่อมลูกหมาก
  • ต่อมลูกหมากโต ในผู้ชาย
  • กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
  • หนองใน
  • หนองในเทียม
  • เชื้อราแคนดิดา หรือโรคเชื้อรา

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cytitis)

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ และกรณีเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการได้รับเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียเข้ามาทางโครงสร้างทางเดินปัสสาวะส่วนนอก

ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่:

  • การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด: เมื่อสอดผ้าอนามัยเข้าไป มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่เชื้อแบคทีเรียจะเข้ามาทางท่อปัสสาวะ
  • การใส่ การเปลี่ยน หรือการใช้สายสวนปัสสาวะติดต่อกันเป็นเวลานาน: มีโอกาสที่สายสวนปัสสาวะจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในทางเดินปัสสาวะ
  • ไดอะแฟรมสำหรับการคุมกำเนิด: ผู้หญิงที่ใช้ไดอะแฟรมร่วมกับยาฆ่าเชื้ออสุจิ มีโอกาสเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่ได้ใช้ไดอะแฟรมในการคุมกำเนิด
  • กระเพาะปัสสาวะเต็ม: หากกระเพาะปัสสาวะไม่มีส่วนใดว่างเลย จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งค่อนข้างพบได้ทั่วไปในสตรีมีครรภ์ หรือผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากโต
  • กิจกรรมทางเพศ: ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เชื้อแบคทีเรียจพเข้ามาทางท่อปัสสาวะ
  • การปิดกั้นบางส่วนของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ที่เก็บกักปัสสาวะเอาไว้
  • ปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและไต
  • การมีเพศสัมพันธ์บ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์รุนแรง: เป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยเช่นกัน บางครั้งเรียกภาวะนี้ว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน 
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง: ในช่วงภาวะหมดระดู ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และผนังท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะบางลง ยิ่งผนังท่อปัสสาวะบางมากเท่าไร โอกาสในการติดเชื้อและเกิดความเสียหายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หลังจากหมดระดู ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
  • เพศ: ช่องปัสสาวะของเพศหญิงอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าของเพศชาย ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะติดเชื้อแบคทีเรียจากลำไส้ ที่ผ่านเข้ามาทางท่อปัสสาวะ 
  • น้ำเมือกลดลง: ในช่วงภาวะหมดระดู ผู้หญิงสร้างน้ำเมือกในช่องคลอดลดลง โดยปกติแล้ว น้ำเมือกนี้ทำหน้าที่เป็นชั้นที่ช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
  • การบำบัดด้วยรังสี: ความเสียหายต่อกระเพาะปัสสาวะอาจก่อให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการฉายรังสีในภายหลัง

ผู้หญิงที่ทำการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone replacement therapy: HRT) มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เมื่อเทียบกับผู้หญิงหมดระดูที่ไม่ได้บำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน อย่างไรก็ตาม HRT ก็มีความเสี่ยงในตัวมันเองเช่นกัน ดังนั้น ไม่ควรใช้วิธีนี้เป็นประจำในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อในผู้หญิงหลังภาวะหมดระดู 

วิธีรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กรณีส่วนใหญ่ของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่รุนแรง จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน สำหรับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีอาการมากกว่า 4 วัน ควรปรึกษาแพทย์

แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้คนไข้ 3 วัน หรือ 7-10 วัน ขึ้นกับอาการของคนไข้ ซึ่งยาควรจะเริ่มบรรเทาอาการภายในหนึ่งวัน

หากอาการไม่ดีขึ้น หลังจากทานยาปฏิชีวนะ คนไข้ควรมาพบแพทย์อีกครั้ง

ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยทั่วไป ได้แก่ ไนโตรฟูแรนโทอิน ไทรเมโทพริม-ซัลฟาเมทอกซาโซล อะม็อกซีซิลลิน เซฟาโลสปอริน ไซโปรฟลอกซาซิน และลีโวฟลอกซาซิน     

ตัวอย่างเช่น ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นในการติดเชื้อไปสู่ไต และเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น

ผู้ที่เจ็บป่วยง่ายและสตรีมีครรภ์ควรรับการรักษาในทันที

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *