โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.08
3344
0

ไข้เลือดออก (Dengue fever) คือ โรคที่เกิดจากติดเชื้อจากยุง ซึ่งสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มันเกิดจากไวรัส 4 ชนิด และแพร่กระจายโดยยุงลาย อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง อาการที่รุนแรง ได้แก่ ไข้เลือดออกชนิด DSS และโรคไข้เลือดออกชนิด DHF ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไข้เลือดออก คือ หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จหากวินิจฉัยพบตั้งแต่ตอนต้นของไข้เลือดออก

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ ม.ค. – พ.ค. 62 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วจำนวน 22,203 ราย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 28 ราย มีจำนวนผู้ป่วยกับผู้เสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว โดยข้อมูลของปี 2561ในระยะเดียวกัน (พ.ค. 61) มีผู้ป่วยประมาณ 13,164 ราย เสียชีวิต 19 ราย ซึ่งปีนี้มากขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ด้านกรมควบคุมโรคได้มีการพยากรณ์โรคตั้งแต่เดือน ธ.ค.61 แล้วว่า ในปีนี้จะพบผู้ป่วยไข้เลือดออกมาก เนื่องจากปีนี้มีฝนตกสลับกับอากาศแล้ง ซึ่งเอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อีกทั้งยังตรวจพบไวรัสไข้เลือดออกสายพันธุ์ที่สองมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเชื้อดังกล่าว หากผู้ป่วยติดเชื้อครั้งที่สอง จะแสดงอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้

สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออก 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี2559 มีผู้ป่วย 63,310 ราย เสียชีวิต 61 ราย ปี2560 มีผู้ป่วย 53,190 ราย เสียชีวิต 63 ราย ปี2561 มีผู้ป่วย 85,849 ราย เสียชีวิต 111 ราย ซึ่งถือว่าปีนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง เพราะทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เร่งดำเนินการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั่วประเทศ จัดทีมเจ้าหน้าที่สำรวจและทำลายภาชนะน้ำขัง และพ่นยาฆ่ายุงในรัศมี 100 เมตรตามชุมชนต่างๆ

อาการไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออกนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการจะปรากฏภายใน 7 วัน หลังจากถูกยุงซึ่งเป็นพาหะของไวรัสกัด

ไข้เลือดออกแบบไม่รุนแรง (Dengue fever)

อาการประกอบไปด้วย:

  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ผื่นตามร่างกาย สามารถหายและเป็นได้ใหม่
  • ไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • ปวดกระบอกตาตา
  • คลื่นไส้ อาเจียน

ไข้เลือดออก DHF (Dengue hemorrhagic fever)

ในตอนแรกอาการของ DHF อาจไม่รุนแรง แต่อาการจะแย่ลงเรื่อยๆ 2-3 วัน เหมือนกับอาการไข้เลือดออกที่ไม่รุนแรง อาการมีดังนี้

  • มีเลือดออกจากปาก เหงือก หรือจมูก
  • เหงื่อซึมผิว
  • ระบบน้ำเหลืองและเลือดได้รับความเสียหาย
  • เลือดออกภายใน ส่งผลให้อาเจียนและมีอุจจาระสีดำ
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • จุดเลือดเล็ก ๆ ใต้ผิวหนัง
  • ชีพจรอ่อน

หากไม่มีการรักษาที่รวดเร็ว DHF อาจถึงแก่ชีวิตได้

ไข้เลือดออกเดงกีช็อค DSS (Dengue shock syndrome)

DSS เป็นไข้เลือดออกที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตได้ นอกเหนือจากอาการของโรคไข้เลือดออกไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • เวียนศีรษะ
  • ความดันเลือดลดลงอย่างฉับพลัน
  • เลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • อาเจียน
  • หลอดเลือดแตกรั่ว

หากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่อันตรายแก่ชีวิต

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever)

สาเหตุของไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัส 4 ตัว (DENV) ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เชื้อเหล่านี้แพร่กระจายโดยยุงลาย (Aedes albopictus)

ยุงลายมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา แต่ปัจจุบันพบได้ในพื้นที่เขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะจุดพักอาศัยคนส่วนมาก

ไวรัสแพร่จากยุงที่ติดเชื้อไปยังมนุษย์ ยุงกัดคนที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก และไวรัสจะถูกส่งต่อไปเมื่อยุงไปกัดอีกคน

มีโอกาสที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกมากกว่าหนึ่งครั้งในชีวิต การติดเชื้อครั้งที่ 2 มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นไข้เลือดออกที่อาการรุนแรงขึ้น

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นการติดเชื้อไวรัสดังนั้นจึงไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตามสามารถรักษาตามอาการแทรกซ้อนได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค วิธีการรักษาไข้เลือดออกมีดังนี้:

การป้องกันการสูญเสียน้ำ

อาการไข้สูงและอาเจียนสามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแร่ เพื่อช่วยทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียไป

ยาแก้ปวด

ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลดไข้ได้ ได้แก่ ไทลินอล และพาราเซตามอล เป็นต้น

ยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (NSAIDs)

ยาแก้อักเสบที่ปราศจากสเตียรอยด์ ได้แก่ แอสไพริน และไอบูโพรเฟน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะจะเพิ่มโอกาสเลือดออกภายในได้

ในกรณีที่เป็นไข้เลือดออกแบบรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาไข้เลือดออกด้วย:

  • การให้ยาผ่านหลอดเลือดดำ
  • การถ่ายเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง

ไข้เลือดออกนั้นจำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมและการติดตามจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *