เห็นภาพซ้อน (Diplopia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เห็นภาพซ้อน (Diplopia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

10.03
34790
0

การมองเห็นภาพซ้อน (Double Vision) เกิดขึ้นเมื่อเห็นภาพที่ควรมีเพียงภาพเดียวกลายเป็น 2 ภาพที่อาจอยู่เคียงข้างกันหรือวางซ้อนทับกัน หรืออาจเป็นได้ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน

ภาวะที่ขึ้นนี้อาจส่งผลต่อความสมดุลในการทรงตัวและความสามารถในการอ่าน

หากการมองเห็นซ้อนมีผลต่อตาเพียงข้างเดียวแสดงว่าเป็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นจากการมองตาข้างใดข้างหนึ่ง หากมีผลต่อดวงตาทั้งสองข้างแสดงว่าเป็นภาพซ้อนที่เกิดจากการมอง 2 ตาพร้อมกัน  การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและประเภทของภาพซ้อนนั้น แต่รวมไปถึงการบริหารสายตา การสวมแว่นสายตาที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ และการผ่าตัด

บทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุ การวินิจฉัยโรค และการรักษาภาพซ้อน

สาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อน

การมองเห็นภาพซ้อนอาจมีสาเหตุมาจากความเสียหายของเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อในดวงตา

ดวงตาแต่ละข้างสามารถสร้างภาพของสิ่งแวดล้อมจากนั้นสมองจะแปรภาพที่ดวงตาแต่ละข้างมองเห็นเพื่อให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนเพียงภาพเดียว

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งของการเห็นภาพซ้อน คือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตา หรือเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาได้รับความเสียหาย

ดวงตาทั้ง 2 ข้างต้องทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดความคมชัด และความลึกของภาพ

ความเจ็บป่วยบางอย่างอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาอ่อนแรง และทำให้มองเห็นเป็นภาพซ้อนได้

สาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อมองด้วย 2 ตา

สาเหตุโดยทั่วไปของการมองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยา 2 ข้างพร้อมกัน คือ ตาเขหรือตาเหล่

เมื่อเกิดขึ้นสิ่งนี้ขึ้น ดวงตาจะจัดตำแหน่งไม่ถูกต้อง อาการตาเหล่มักพบได้บ่อยในเด็ก แต่อย่างไรก็ตามภาวะเช่นนี้ไม่ได้ทำให้มองเห็นภาพซ้อนเสมอไป

อาการตาเหล่ทำให้ทิศทางในการมองของดวงตาแต่ละข้างมองต่างกันไปเล็กน้อย ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาได้รับผลกระทบจากปัญหาดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาตหรืออ่อนแอ

  • กล้ามเนื้อตาถูกจำกัดการเคลื่อนไหว

  • กล้ามเนื้อตาแข็งแรงเกินไปหรือทำงานมากเกินไป

  • มีความผิดปกติของเส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อดวงตา

    Diplopia

สำหรับผู้ที่เคยมีอาการตาเขในวัยเด็กเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจกลับมามีอาการได้อีกครั้งในภายหลัง  ในบางกรณีการรักษาอาการตาเขอาจทำให้เกิดการมองเห็นซ้อนได้ แม้ว่าผู้ป่วยแต่ะละรายจะมีการมองเห็นที่เป็นปกติก่อนจะได้รับการรักษา

เนื่องจากสมองได้รับการงดการรับสัญญาณจากดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเพื่อพยายามรักษาสายตาให้เป็นปกติ

ภาวะอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดการเห็นภาพซ้อน ได้แก่

  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Thyroid dysfunction)  ต่อมไทรอยด์มีตำแหน่งอยู่ที่คอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน thyroxine หากการทำงานของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อภายนอกที่ควบคุมดวงตา ซึ่งรวมถึง โรค Grave’s ophthalmopathy ซึ่งมักทำให้ผู็ป่วย ตาโปน(Bulging eyes) ออกมาจากเบ้าตา เนื่องจากสร้างไขมันและเนื้อเยื่อขึ้นหลังตา

  • โรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Stroke or transient ischemic attack ; TIA)  ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะไม่สามารถลำเลียงเลือดไปถึงสมองได้เนื่องจากมีการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตาและทำให้มองเห็นภาพซ้อน

  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysm)  คือมีการโป่งพองเกิดขึ้นในหลอดเลือด แล้วไปกดทับเส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตา

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนกำลัง (Convergence insufficiency)  ในภาวะนี้ดวงตาจะทำงานไม่สัมพันธ์กันโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่คาดว่าเกิดจากกล้ามเนื้อที่ควบคุมดวงตาเรียงตัวกันอย่างไม่ถูกต้อง

  • โรคเบาหวาน (Diabetes) ภาวะการณ์ของโรคนี้อาจมีผลกระทบต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเรตินาที่อยู่ด้านหลังของดวงตา นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตาด้วย

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)  อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งรวมไปถึงกล้ามเนื้อที่ควบคุมดวงตาด้วย

  • เนื้องอกในสมองและมะเร็งต่างๆ (Brain tumors and cancers) เนื้องอกหรือก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตขึ้นด้านหลังของดวงตา ซึ่งจะรบกวนการเคลื่อนไหวอย่างดวงตาไม่ให้เป็นไปอย่างอิสระ หรืออาจทำลายเส้นประสาทตาได้

  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) ภาวะของ MS คือ การเป็นโรคที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางรวมทั้งเส้นประสาทในดวงตาด้วย

  • รอยเขียวช้ำบริเวฯดวงตา (Black eye) การบาดเจ็บอาจทำให้มีเลือดและของเหลวสะสมรอบดวงตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้มีแรงดันเกิดขึ้นในดวงตา บนกล้ามเนื้อดตา และเส้นประสาทรอบดวงตาได้

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury)  ความเสียหายทางกายภาพของสมอง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ หรือเบ้าตา จะจำกัดสามารถในการเคลื่อนไหวของดวงตาและกล้ามเนื้อได้

สาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดจากการเปิดตาเพียงข้างเดียว

หากพบกว่ามีการมองเห็นซ้อนด้วยตาเพียงข้างเดียวในขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งถูกปิดอยู่จะเรียกว่าภาพซ้อนที่เกิดจากการเปิดตาเพียงข้างเดียว

ภาพซ้อนที่เกิดจากการเปิดตาเพียงข้างเดียว ปกติจะพบได้น้อยกว่าการมองเห็นภาพซ้อนแบบสองตา พยาธิสภาพต่อไปนี้อาจทำให้เกิดภาพซ้อนที่เกิดจากการเปิดตาเพียงข้างเดียวและอาจเกิดจากภาวะดังต่อไปนี้

  • สายตาเอียง (Astigmatism) กระจกตาหรือชั้นโปร่งใสที่ด้านหน้าของดวงตามีรูปร่างผิดปกติ สายตาเอียงเกิดกระจกตามีเส้นโค้งสองเส้นบนพื้นผิวคล้ายกับฟุตบอลแทนที่จะกลมเหมือนลูกบาสเก็ตบอล

  • ตาแห้ง (Dry Eye): ดวงตาผลิตน้ำตาไม่เพียงพอหรือน้ำตาแห้งเร็วเกินไป

  • โรคกระจกตาโป่ง (Keratoconus) คือภาวะเสื่อมของดวงตาที่ทำให้กระจกตาบางและมีรูปทรงเป็นรูปกรวย

  • ความผิดปกติของเรตินา  ในผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เช่นจุดศูนย์กลางของระยะการมองเห็นของแต่ละคนจะหายไปอย่างช้าๆ และบางครั้งเกิดอาการบวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อนเกิดขึ้นในตาข้างเดียว

  • ต้อกระจก (Cataracts) ภาวะการเกิดต้อกระจกมีมากเกินครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา และบางครั้งอาจทำให้เกิดการมองเห็นภาพซ้อนขึ้นในตาข้างเดียว

อาการตามองเห็นภาพซ้อนชั่วคราว

บางครั้งการมองเห็นภาพซ้อนอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดย บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจาก ความมึนเมาจากแอลกอฮอล์ ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepines  สารโอปิออยด์ หรือยาบางชนิดที่ใช้สำหรับรักษาอาการชักและโรคลมบ้าหมู การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น การที่ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ก็อาจเป็นสาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อนชั่วคราว

การเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ หรือมีอาการปวดตาอาจทำให้มองเห็นภาพซ้อนชั่วคราวได้ แต่ถ้าหากสายตาไม่กลับคืนมาปกติอย่างรวดเร็วควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การรักษาอาการเห็นภาพซ้อน

การรักษาภาวะการเห็นภาพซ้อนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นพื้นฐานของอาการ

การรักษาอาการตามองเห็นภาพซ้อนขึ้นในตาข้างเดียว

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ

สายตาเอียง: หมายถึงภาวะที่กระจกตาโค้งนูนผิดปกติ มักจะใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่ถูกต้อง เพื่อลดความโค้งของกระจกตาและแก้ไขทางผ่านของแสงที่เข้ามาในดวงตาได้

การรักษาโดยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับรูปกระจกตาด้วยเลเซอร์

ต้อกระจก: ทางเลือกที่ดีที่สุดมักใช้การผ่าตัด ขั้นตอนของการผ่าตัดจะช่วยขจัดสาเหตุของการเห็นภาพซ้อนและลดความความขุ่นมัว ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจก ได้แก่ การติดเชื้อ ความเจ็บปวด และอาจมีการมองเห็นไม่ชัดหรือมองเห็นภาพซ้อนอย่างต่อเนื่อง แต่การรักษาอย่างทันท่วงทีจะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ตาแห้ง: หากดวงตาสร้างน้ำตาได้ไม่เพียงพอหรือน้ำตาแห้งเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดตาอักเสบและเจ็บตาได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเห็นภาพซ้อน ซึ่งสามารถที่จะใช้ยาหยอดตาทดแทนน้ำตาเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้

การรักษาสำหรับการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อมองด้วยสองตา

มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตา 2 ข้าง แต่จะรวมถึง

  • การสวมแว่นสายตา

  • การบริหารดวงตา

  • การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดทึบแสง

  • การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (โบทอกซ์) เข้ากล้ามเนื้อตาเพื่อทำให้กล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย

  • ใส่ผ้าปิดตา

  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขตำแหน่งกล้ามเนื้อตาให้ถูกต้อง

แท่งปริซึมที่ติดอยู่ด้านหลังเลนส์แว่นตา ระหว่างกึ่งกลางของกรอบแว่นยังสามารถช่วยปรับภาพจากดวงตาแต่ละข้างเพื่อแก้อาการเห็นภาพซ้อนได้

การบริหารดวงตา

การบริหารดวงตาไม่สามารถรักษาภาวะหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิดการเห็นภาพซ้อนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารบางอย่างก็สามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนกำลังได้

การบริหารด้วยการปรับตาดูใกล้ไกล ( Smooth convergence)

  1. เพ่งสายตาไปที่รายละเอียดของเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นแท่งบาง ๆ หรือข้อความเล็ก ๆ ในนิตยสาร

  2. ถือสิ่งเป้าหมายนี้ไว้ในระดับสายตาโดยให้ความยาวแขนห่างออกจากตัวผู้ป่วย

  3. กำหนดเป้าหมายให้ตาเห็นภาพเป็นภาพเดียวให้นานที่สุด

  4. เคลื่อนย้ายเป้าหมายเข้าหาจมูกอย่างช้าๆ และนิ่งๆ

  5. เมื่อดวงตาของผู้ป่วยมองเห็นภาพเดียวกลายเป็นสองภาพ จะหยุดการเลื่อนเป้าหมาย พยายามอย่างจริงจังในการทำให้เห็นภาพเหล่านี้กลับมารวมกันเป็นภาพเดียว จากนั้นให้ขยับเป้าหมายเข้าใกล้จมูกมากขึ้น

  6. เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรวมภาพให้เป็นภาพเดียวได้ ให้เลื่อนมือกลับไปที่ตำแหน่งเดิมแล้วเริ่มการบริหารอีกครั้ง

  7. ช่วงระยะห่างของภาพที่จะบรรจบกันปกติอยู่ห่างจากจมูก 10 เซนติเมตร  กำหนดเป้าให้เห็นภาพเป็นภาพเดียวโดยมีขนาดไม่เกิน 10 ซม.

  8. นักศัลยกรรมกระดูกอาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Dot Card เพื่อช่วยในขั้นตอนเหล่านี้

การบริหารด้วยวิธี Jump convergence

  1. เลือกเป้าหมายที่คล้ายกันในการบริหารแบบ smooth convergence

  2. เริ่มมองเป้าหมายที่ระยะห่างจากจมูก 20 ซม.

  3. จ้องมองเป้าหมายนานประมาณระหว่าง 5 – 6 วินาที

  4. สลับการมองไปที่วัตถุที่ตั้งอยู่กับที่ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 3 เมตร  เป็นเวลาประมาณ 2 – 3 วินาที

  5. เปลี่ยนการมองกลับมาที่เป้าหมายที่อยู่ใกล้กว่า

  6. ทำขั้นตอนนี้ซ้ำ โดยค่อยๆ เคลื่อนเป้าหมายเข้ามาใกล้จนคุณสามารถโฟกัสที่วัตถุ เมื่ออยู่ห่างออกไป 10 ซม. ได้

ประโยชน์ของการฝึกหัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะจำกัด เฉพาะการรักษาภาวะกล้ามเนื้ออ่อนกำลัง

หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมองเห็นภาพซ้อน

  • การมองเห็นซ้อนหรือ diplopia อาจเป็นผลเนื่องมาจากภาวะพื้นฐานหลายอย่าง

  • การเห็นภาพซ้อน อาจมีผลกระทบต่อดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง

  • ผู้มีตาเหล่ หรือตาลอยในวัยเด็ก มีโอกาสที่จะกลับมามีอาการได้อีกครั้งและอาจสาเหตุที่ทำให้เกิดการเห็นภาพซ้อน

  • การมองเห็นซ้อนเพียงชั่วครู่อาจเป็นผลเนื่องมาจากจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดอื่นๆ เพื่อการผ่อนคลายอารมณ์ให้เคลิบเคลิ้มมีความสุข

  • การรักษาอาการเห็นภาพซ้อน อาจมีความหมายรวมไปถึงการผ่าตัด การบริหารตา หรือการแก้ไขโดยใช้เลนส์

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *