โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

14.11
1532
0

โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในเขตร้อน โดยมีสาเหตุเกิดจากพยาธิโรคเท้าช้างที่ได้รับการเเพร่เชื้อจากการโดนยุงกัด ทำให้เกิดผิวที่หนาและเเข็งขึ้นรวมกันกลายเป็นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับผิวหนังของช้าง 

โรคเท้าช้างหรือคำศัพท์ทางการเเพทย์เรียกว่า lymphatic filariasis คือชื่อโรคที่มีอาการบวมเกิดขึ้นที่แขนหรือขา

องค์การอนามัยโลก ได้ทำการประเมินว่ามีผู้ที่เป็นโรคเท้าช้างอยู่ประมาณ 120 ล้านคนทั่วโลก

เมื่อคุณได้อ่านบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาเเละสาเหตุของโรคเขตร้อนชนิดนี้

Elephantiasis

สาเหตุของโรคเท้าช้างเกิดจากอะไร ?

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อยังไม่มีอาการใดเกิดขึ้นแต่การติดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบต่อมน้ำเหลืองและไต

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเท้าช้างส่วนใหญ่มักเคยมีอาการบวมเกิดขึ้นที่บริเวณดังต่อไปนี้

  • ขา
  • แขน
  • เต้านม
  • อวัยวะเพศ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเท้าช้างจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ทำงานผิดปกติเนื่องจากระบบต่อมน้ำเหลืองถูกทำลายและทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังจึงทำให้ผิวหนังเเห้งและหนา รวมไปถึงการเกิดแผลเปื่อยที่เกิดจากการติดเชื้อซ้ำ 

อาการอื่นๆที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำได้แก่มีไข้และหวัด

อาการโรคเท้าช้าง

มีเชื้อพยาธิตัวกลม 3 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง

  • เชื้อ Wuchereria bancrofti
  • เชื้อ Brugia malayi
  • เชื้อ Brugia timori

เชื้อพยาธิตัวกลมที่ชื่อว่า Wuchereria bancrofti เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้างได้ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเชื้อ  Brugia malayi  มักทำให้เกิดโรคชนิดอื่น

โรคเท้าช้างเกิดการแพร่กระจายได้อย่างไร ?

ยุงเป็นพาหะทำให้เกิดการเเพร่เชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง

อันดับเเรก ยุงจะเกิดการติดเชื้อจากตัวอ่อนของพยาธิในขณะที่ยุงกำลังกินเลือดจากคนทติดเชื้อโรคเท้าช้าง

จากนั้นยุงที่ติดเชื้อจะไปกัดคนอื่นและนำตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปในกระเเสเลือดของอีกคน

ในที่สุดตัวอ่อนของพยาธิจะย้ายเข้าไปอยู่ในตท่อน้ำเหลืองผ่านกระเเสเลือดและเจริญเติบโตขึ้นในต่อมน้ำเหลือง

การรักษา

ผู้ที่เกิดการติดเชื้อสามารถทานยาเพื่อฆ่าพยาธิในเลือดได้ โดยยาที่ใช้รักษานี้จะช่วยยับยั้งการอเกิดโรคอื่นๆแต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อพยาธิให้หมดไปได้

ยาฆ่าพยาธิที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วยได้แก่

  • ยา diethylcarbamazine (DEC)
  • ยา ivermectin (Mectizan)
  • ยา albendazole (Albenza)
  • ยา doxycycline

สำหรับอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นจากโรคเท้าช้างสามารถรักษาด้วยยาดังต่อไปนี้ 

  • ยาต้านฮิสทามีน
  • ยาแก้ปวด
  • ยาปฏิชีวนะ

อย่างไรก็ตามผู้ที่ป่วยด้วยโรคเท้าช้างทุกคนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาเนื่องจากในกระเเสเลือดอาจจะไม่มีพยาธิอาศัยอยู่เเล้วแต่ยังคงมีอาการเท้าบวมอยู่ ดังนั้นผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการบวมเเละการติดเชื้อในผิวหนังด้วยวิธีการดังต่อไปนี้  

  • ล้างทำความสะอาดผิวที่เกิดการติดเชื้อด้วยสบู่เหลวหรือน้ำเปล่าทุกวัน
  • ทาโลชั่นเพื่อทำให้ผิดชุ่มชื้น
  • นำส่วนของร่างกายที่มีอาการบวมให้สูงขึ้นเพื่อทำให้ของเหลวไหลได้สะดวกมากขึ้น
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณเเผลที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อทำให้ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี ตามคำแนะนำของเเพทย์
  • ใช้ผ้าพันเเผลบิเวณที่เกิดการติดเชื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสามารถทำได้ แต่แพทย์ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้การรักษาวิธีนี้ โดยการผ่าตัดจะทำเพื่อนำเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหายออกไปหรือบรรเทาเเรงกดดันในบริเวณที่เกิดการติดเชื้อบางที่เช่น ถุงอัณฑะ

ผู้ป่วยโรคเท้าช้างสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือมองหากำลังจาก

  • ที่ปรึกษาส่วนตัง
  • กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
  • ข้อมูลจากอินเตอร์เนต

การป้องกันโรคเท้าช้าง

วิธีป้องกันการเกิดโรคเท้าช้างที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด

ผู้ที่เคยไปเที่ยวหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงของการเกิดยุงกัดควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

  • นอนหลับในมุง
  • สวมใส่เสื้อเเขนยาวและกางเกงขายาว
  • ใช้เครื่องไล่ยุง

บทสรุป

โรคเท้าช้างเป็นโรคที่เกิดขึ้นในเขตร้อนโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือเขตกึ่งร้อนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไปท่องเที่ยวในประเทศเขตร้อนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเท้าช้างได้น้อยกว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมและป้องกันโรค

หากผู้ที่มีอาการผิวหนังบวมและผิวหนังหนาขึ้นอย่างผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้โรคเท้าช้างสามารถด้วยการใช้ยารักษาและปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตรวมไปถึงการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง 

นี่คือที่มาของแหล่งบทความของเรา 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *