โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.11
11132
0

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ชนิดหนึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อถุงลมในปอดเกิดความเสียหายหรือมีการพองตัวขึ้นส่งผลให้เกิดอาการไอเรื้อรังและหายใจลำบาก

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเกิดจาก ถุงลมแตกหรือถูกทำลาย ถุงลมมีขนาดเล็กหรือยุบตัวลงรวมถึงถุงลมขยายตัวออกหรือพองโตขึ้น ดังนั้นจึงทำให้พื้นผิวบริเวณปอดมีขนาดเล็กลงส่งผลทำให้สามารถฟอกเลือดเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับเลือดเเละขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้น้อยลง

ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นถาวรและสามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ แต่ทั้งนี้ยังมีวิธีการจัดการอยู่ 

Emphysema

อาการโรคถุงลมโป่งพอง

อาการโรคถุงลมโป่งพองหลัก ๆ ได้แก่ 

  • หายใจสั้นหรือหายใจลำบาก
  • ไอเรื้อรังเเละมีเสมหะ
  • มีเสียงหายใจหวีดและเสียงลมอ็อดแอ็ดเมื่อหายใจ 
  • เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก

เบื้องต้นสามารถสังเกตุพบอาการเหล่านี้ได้ระหว่างการตรวจสุขภาพ อย่างไรก็ตามพัฒนาการของอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างพัก

โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีผู้ป่วยเกิดขึ้นหลายรายต่อปี 

สำหรับโรคถุงลมโป่งพองในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการปอดติดเชื้อและ
  • มีอาการดังต่อไปนี้รุนเเรงมากขึ้นได้แก่หายใจสั้น มีเสมหะและหายใจมีเสียงหวีด
  • น้ำหนักลดลงและไม่มีความอยากอาหาร
  • มีอาการอ่อนแรงและหมดแรง
  • มีริมฝีปากสีน้ำเงินหรือฐานเล็บสีน้ำเงินหรือผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน
  • มีอาการวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้า
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง

โดยส่วนใหญ่เเล้วโรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกิดจากการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรค โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่า 25% ไม่เคยสูบบุหรี่ 

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆได้แก่ปัจจัยทางพันธุกรรมเช่น โรคขาดแคลนสาร alpha-1-antitrypsin และการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองเช่นการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น มลพิษจากที่ทำงาน มลพิษอากาศและเชื้อเพลิงชีวภาพ

ผู้ที่มีทางเดินหายใจในปอดแคบหรือตีบมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีทางเดินหายใจกว้าง ข้อมูลจากงานวิจัยปี 2020

นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่ทุกคนไม่ได้เป็นได้โรคถุงลมโป่งพอง บางคนอาจมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ

อย่างไรก็ตามโรคถุงลมโป่งพองไม่ใช่โรคติดต่อดังนั้นจึงไม่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโป่งพองไม่สามารถทำให้โรคหายไปแต่สามารถช่วยจัดการกับอาการดังต่อไปนี้

  • ชะลอการพัฒนาของโรค
  • บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น
  • ป้องกันการเกิดภาวะเเทรกซ้อน
  • ส่งเสริมสุขภาพทั้งหมดและการใช้ชีวิต

การรักษาเพื่อพยุงอาการได้แก่การรักษาด้วยออกซิเจนและช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่

ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของวิธีรักษาแต่ละประเภท

การรักษาด้วยการใช้ยา

การใช้ยาเพื่อรักษาโรคถุงลมโป่งพองจะใช้ยาสูดขยายหลอดลมเป็นหลักเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ซึ่งยาขยายหลอดลมนี้สามารถช่วยทำให้หลอดลมผ่อนคลายและเปิดกว้างเพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ง่ายขึ้น

ยาสูดขยายหลอดลมที่ใช้มีดังต่อไปนี้ 

  • สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ที่ช่วยขยายหลอดลมและทำให้กล้าเนื้อเรียบรวมถึงช่วยกำจัดเสมหะ
  • กลุ่มยา anticholinergics หรือ กลุ่มยา antimuscarinics เช่น ยา albuterol (Ventolin) เป็นยาที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมผ่อนคลาย
  • ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดเช่นยา  fluticasone เป็นยาที่ช่วยลดอาการติดเชื้อ

ถ้าผู้ป่วยสามารถใช้ยาเหล่านี้ได้เป็นประจำ การรักษาด้วยการใช้ยานี้สามารถทำให้การทำงานของปอดดีมากขึ้นเเละเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายได้ดีขึ้น 

ซึ่งยาเหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ในระยะสั้นและใช้ในระยะยาว ที่ผู้ป่วยสามารถใช้รวมกันได้ นอกจากนี้การรักษายังสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อเวลาผ่านไปขึ้นอยู่กับพัฒนาการของโรค 

การบำบัดวิธีการใช้ชีวิตประจำวัน

ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการต่างๆที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและชะลอการพัฒนาการของโรคถุงลมโป่งพอง ยิ่งผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตได้เร็วขึ้นเท่าไหร่ สุขภาพยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

สิ่งที่ควรปฏิบัติมีดังต่อไปนี้

  • เลิกหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ถ้าหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาวะที่มีมลพิษทางอากาศ
  • เริ่มออกกำลังกายตามโปรแกรม
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเจือจางเสมหะและทำให้ทางเดินอากาศเปิดกว้าง
  • หายใจผ่านจมูกเมื่ออยู่ในอากาศที่เย็นหรือใช้หน้ากากปิดหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศเย็น
  • ฝึกฝนการหายใจด้วยการใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ด้วยการให้ใจลึกๆผ่านจมูก

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นโปรแกรมการรักษาที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการของพวกเขา โดยมุ่งเน้นที่การเลือกวิธีใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการรักษาโรคถุงลมโป่งทั้งหมดแต่วิธีนี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการด้วยการเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายและเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตของพวกเขา 

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรไปพบแทพย์เป็นประจำและเข้ารับการฉีดวัคซีนได้แก่วัคซีนป้องกันไข้หวัดเเละโรคปอดบวม

การรักษาด้วยออกซิเจน

เมื่อเกิดอาการหายใจลำบากอย่างมาก ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนหรือผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนตลอดเวลาอย่างเช่นตลอดทั้งคืนเป็นต้น

อุปกรณ์ให้ออกซิเจนมีหลายประเภทได้แก่ ถึงออกซิเจนขนาดใหญ่สำหรับใช้ที่บ้านและถังออกซิเจนแบบพกพาสำหรับเดินทาง

ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่เหมาะสม 

การผ่าตัด

ผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรังจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อของปอดที่เสียหายออกและลดอาการถุงลมโป่งพองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากโรคนี้ 

การผ่าตัดปลูกถ่ายปอดหนึ่งข้างหรือสองข้างสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการผ่าตัดมีความเสี่ยงทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยตัดสินใจว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่ตัดหรือไม่เเละการผ่าตัดทำให้เกิดผลดีต่อพวกเขาหรือไม่

การรักษาอาการกำเริบ

วิธีการรักษาอื่นๆสามารถช่วยรักษาระหว่างที่มีอาการของโรคกำเริบขึ้นหรือถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งทางเลือกในการรักษามีดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยออกซิเจนเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
  • การใช้ยาปฏิชีวินะเพื่อลดอาการติดเชื้อ
  • การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดการติดเชื้อ
  • การใช้ยาอื่นๆเพื่อบรรเทาอาการไอเรื้อรังและอาการเจ็บปวด

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *