เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.02
6277
0

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือ อาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อที่ควรอยู่ภายในมดลูกเจริญภายนอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่ จะทำให้เกิดความผิดปกติทางด้านร่างกายที่สามารถสังเกตเห็นได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

  • อาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สามารถพบในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั่วโลกได้มากถึง 6-10%

  • ภาวะนี้เกิดขึ้นระหว่างการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงวัยรุ่น

  • มักจะแสดงอาการในวัยเจริญพันธุ์

  • โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด อาการไวต่อสารเคมี โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ มักเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีอาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร

เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกประกอบไปด้วยต่อม เซลล์เม็ดเลือด  และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึกปกติแล้วจะเติบโตอยู่ในมดลูก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่

การสะสมเยื่อบุโพรงมดลูกคือ การที่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกมีการเจริญเติบโตด้านนอกมดลูก เมื่อเจริญเติบโตนอกมดลูกเรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนในร่างกาย แต่โดยส่วนมากมักเกิดบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลต่อ:

  • รังไข่

  • ท่อนำไข่

  • เยื่อบุช่องท้อง

  • ต่อมน้ำเหลือง

โดยปกติเยื่อบุโพรงมดลูกจะถูกขับออกมาในช่วงที่มีประจำเดือน แต่เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตนอกมดลูกจะไม่สามารถถูกขับออกมาได้

เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกที่โตนอกมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจทำให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกายได้ เข่น ท่อนำไข่ถูกกั้น หรือมีอาการปวดท้อง

ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ไม่สามารถทำงานได้ ภาระค่ารักษาพยาบาล หรือความสัมพันธ์ส่วนตัว

อาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

อาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่ :

  • ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง

  • ปวดหลังส่วนล่างและกระดูกเชิงกรานเป็นเวลานาน

  • มีประจำเดือนเกิน 7 วัน

  • มีประจำเดือนมากกว่าปกติ หรือต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 1-2 ชั่วโมง

  • ลำไส้และทางเดินปัสสาวะมีปัญหา เช่น มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูกและท้องอืด    

  • อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด

  • คลื่นไส้อาเจียน 

  • อาการเหนื่อยล้า

  • ปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

  • มีเลือดออกกระปริดกระปรอย

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) ถุงน้ำในรังไข่และโรคลำไส้อักเสบ (IBS) มักจะมีอาการใกล้เคียงกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

การปวดเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ความรุนแรงของอาการไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคเสมอไป

อาการปวดมักจะหายไปเมื่อร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือในช่วงหมดประจำเดือน แต่ถ้าคุณยังมีการรับประทานฮอร์โมนเสริมในวัยหมดประจำเดือน ก็อาจจะยังมีอาการปวดอยู่ได้

อาการปวดอาจหายไปชั่วคราวหากมีการตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ :

  • ภาวะมีบุตรยาก ผู้ที่มีอาการนี้กว่า 50% มักพบปัญหานี้

  • มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งท่อน้ำดี ที่เกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงมดลูก

  • ซีสต์รังไข่

  • มดลูกอักเสบ

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเป็นแผล

  • ภาวะแทรกซ้อนในลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ

หากคุณมีอาการของภาวะนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

การรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ในบางครั้งแพทย์อาจเสนอให้ทำการผ่าตัด แต่ในบางกรณีอาจใช้วิธีอื่นๆในการรักษา เช่น

ยาแก้ปวด: ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ibuprofen (Advil, Motrin IB) หรือยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์สำหรับการรักษาอาการปวดประจำเดือน

ฮอร์โมน: อาจใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น การควบคุมการเกิดฮอร์โมน Gonadotropin-release hormone (Gn-RH) agonists และ antagonists Medroxyprogesterone (Depo-Provera) หรือ Danazol

การผ่าตัด: ทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่อยู่ภายนอกมดลูกออก แต่บางครั้งอาจจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดมดลูกและเอารังไข่ทั้งสองข้างออก

การรักษาภาวะเจริญพันธุ์: แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตั้งครรภ์ผ่านการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF)

การดูแลตัวเองที่บ้าน

การฝังเข็มและยาสมุนไพร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา แต่ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าจะเป็นวิธีที่ได้ผล

การลดปริมาณคาเฟอีนมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดได้

การออกกำลังกาย เช่น การเดินสามารถช่วยลดอาการปวด และช่วยยับยั้งการ ลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

คุณควรติดตามอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะยาว หากมีอาการปวดหรือเลือดออกมากกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที

ถึงแม้ว่าวิธีการรักษาจะยังไม่แน่ชัด แต่ผู้หญิงส่วนมากก็สามารถบรรเทาอาการปวด และมีบุตรได้ตามปกติ

การวินิจฉัย

เป็นเรื่องยากที่จะวินิฉัยอาการนี้ เนื่องจากไม่มีวิธีการใดๆที่สามารถตรวจหาโรคได้อย่างแน่ชัด

วิธีเดียวที่สามารถใช้ตรวจโรคนี้ได้คือ การผ่าตัดส่องกล้อง

การผ่าตัดส่องกล้อง เป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก แพทย์จะทำการกรีดแผลเล็กๆ และสอดท่อบางๆซึ่งมีกล้องขนาดเล็กในบริเวณอุ้งเชิงกราน

การวินิจฉัยสามารถประเมินอาการได้ดังนี้:

  • ระยะที่ 1: เนื้อเยื่อน้อยและไม่มีการยึดเกาะ

  • ระยะที่ 2: เนื้อเยื่อน้อยและเริ่มมีการยึดเกาะ

  • ระยะที่ 3: เนื้อเยื่อมีขนาดปานกลางและหนา มีการยึดเกาะที่ชัดเจน

  • ระยะที่ 4: เนื้อเยื่อมีปริมาณมากและมีการยึดเกาะที่ชัดเจน

การวินิจฉัยอื่นๆที่สามารถทำได้ ได้แก่ การตรวจกระดูกเชิงกรานด้วยอัลตร้าซาวด์หรือคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI ) และการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งยาคุมกำเนิดหรือยากระตุ้นการปล่อยฮอร์โมน gonadotropin (GnRH)

สาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

สาเหตุนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แพทย์สันนิษฐานว่าดังนี้

ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน : ประจำเดือนไหลย้อนเข้าสู่ท่อนำไข่ และกระดูกเชิงกราน แทนที่จะออกจากร่างกายด้วยวิธีปกติ

การเจริญเติบโตของตัวอ่อน : ในบางครั้งตัวอ่อนที่อยู่ในช่องท้องและกระดูกเชิงกรานจะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก

Endometriosis

พัฒนาการของทารกในครรภ์ : บางครั้งเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้ในทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา แต่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยรุ่นจะกระตุ้นให้เกิดอาการ

แผลเป็นจากการผ่าตัด : เยื่อบุโพรงมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากมีการผ่าตัดมดลูก

การเคลื่อนที่ของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก : ระบบน้ำเหลืองจะส่งเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

พันธุกรรม : อาจได้รับการส่งต่อมาจากสมาชิกในครอบครัวที่มีแนวโน้มของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ฮอร์โมน : การเจริญเติบโตของเยื่อบุโพรงมดลูกจะถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนเอสโตรเจน

ระบบภูมิคุ้มกัน : ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถควบคุมการสลายตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ด้านนอกมดลูกได้

ปัจจัยเสี่ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ เช่น :

  • อายุ : อาการของโรคพบได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปี

  • ผู้ที่ไม่เคยมีบุตร

  • พันธุกรรม : มีญาติที่เคยมีอาการนี้อย่างน้อยหนึ่งคน

  • ประวัติทางการแพทย์ : มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน มีความผิดปกติของมดลูกหรือประจำเดือนไม่ปกติ

  • ประวัติประจำเดือน : มีประจำเดือนมากกว่า 7 วัน หรือน้อยกว่า 27 วัน

  • การดื่มคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ รวมไปถึงไม่ออกกำลังกาย : สิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเยื่อบุโพรงมดลูก เช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืดและความไวต่อสารเคมีบางชนิด โรคแพ้ภูมิตัวเอง มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *