ตาล้า (Eye Strain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ตาล้า (Eye Strain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

14.03
6404
0

อาการตาล้า (Eye strain) คือ กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับดวงตา โดยไม่ใช่โรค แต่คือความผิดปกติ อาการตาล้าเกิดขึ้นเมื่อดวงตาอ่อนล้าจากการใช้งานต่อเนื่อง เช่น การขับรถเป็นเวลานาน อ่านหนังสือ หรือทำงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การที่รู้สึกไม่สบายดวงตาจากการใช้งานสายตาถือว่าเป็นอาการตาล้า

อาการตาล้านั้นรบกวนการใช้ชีวิต แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง และสามารถหายได้ หากมีการพักสายตา แต่บางครั้งก็เป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพของดวงตาที่ผิดปกติไป สำหรับอาการตาล้าโดยปกติ สามารถฟื้นฟูได้ด้วยคำแนะนำจากแพทย์ในการรักษาและบรรเทา

อาการแบบไหนที่เรียกว่า “ตาล้า”

อาการตาล้ามักจะหมายถึง การรู้สึกเจ็บดวงตา มองเห็นไม่ชัด การเห็นภาพซ้อน ตาแพ้แสง(Photophobia) รวมไปถึงการปวดลามไปยังต้นคอ และความยากลำบากในการโฟกัสภาพ ปวดตึงขมับ หน้าผากหรือท้ายทอย โดยอาจจะมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมา อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด โดยปกติอาการปวดศีรษะจะหายไปเมื่อไปหยุดการใช้งานสายตา

การวินิจฉัยอาการตาล้าแพทย์จะทำการซักถามประวัติ การทดสอบสายตาเบื้องต้นประกอบด้วย

ควรพบจักษุแพทย์หากมีอาการตาล้าอย่างเรื้อรัง การระคายเคือง แดง หรือสูญเสียการมองเห็นตามปกติ เพื่อวางแผนการรักษากับแพทย์ หรืออาจจะเพียงแค่ใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์สายตา ในการบรรเทารักษาอาการตาล้าที่เกิดขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์

หากพบอาการเมื่อยล้าดวงตา มองเห็นไม่ชัด หรือมองเห็นภาพซ้อนในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติ ควรพาเด็กไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของการตาล้า

อาการตาล้าทางการแพทย์ คือ ภาวะที่สายตาสั้น ภาวะสายตายาว ดวงตาเมื่อยล้า การเห็นภาพซ้อน การมองเห็นไม่ชัด และรวมถึงอาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากการใช้สายตานานเกินไป หรือเพ่งสายตา เช่น การอ่านหนังสือ หรือการจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง หรือพยายามมองในที่มืด โดยทำให้เมื่อยล้ากล้ามเนื้อดวงตา  ขมับ และศีรษะโดยไม่รู้ตัวทำให้เกิดอาการปวดจากการใช้งานกล้ามเนื้อดวงตาที่มากเกินไป โดยสุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหาของกล้ามเนื้อในที่สุด

ปัจจัยที่หลักที่ทำให้เกิดอาการตาล้า ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ หรือจอมือถือเป็นเวลานาน การมองในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือจ้าจนเกินไป ทำให้กระพริบตาน้อยกว่าปกติเมื่อใช้สายตา และทำให้ตาแห้งใจที่สุด

ภาวะสายตาสั้น หรือยาว เป็นปัญหาของการหักเหแสงเข้าสู่ดวงตาที่ผิดปกติไป จำเป็นต้องรักษาด้วยการสวมใส่แว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์

Eye Strain

บางกรณีอาการตาล้าสามารถเกิดจากดวงตาทั้ง 2 ดวง ทำงานไม่สัมพันธ์กัน

อาการปวดศีรษะ และตาล้าสามารถแย่ลง ในกรณีดังต่อไปนี้ ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อตา อยู่ในภาวะเครียด อยู่ในภาวะเหนื่อยล้า หรือแม้กระทั่งการสวมใส่แว่นสายตาที่ไม่เหมาะสม (ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำทางการแพทย์)

อาการตาล้ารักษาอย่างไร

อาการตาล้าเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ทำให้คนเราต้องตกอยู่ในกลุ่มอาการ “Computer Vision syndrome” โดยทำให้มีอาการตาล้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาการ “เมื่อยล้า” โดยอาการเหล่านี้สามารถหายไปหลังจากพักการใช้สายตา และในระยะยาวควรจะจำกัดเวลาในการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

แม้ว่าอาการตาล้าจะทำให้ไม่สบายตา แต่ยังไม่มีงานวิจัยไหนสามารถชี้ได้ว่าอาการตาล้าจากการใช้สายตามาก จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตาที่ร้ายแรงในระยะยาว

แต่อย่างไรก็ตามอาการตาล้านั้นไม่มีใครต้องการให้เกิขึ้น เพราะรบกวนสมาธิในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน อาการตาล้าสามารถนำไปสู่ความเหนื่อยล้าของร่างกาย การผิดพลาดในการทำงาน และความวิตกกังวลได้

หากรู้สึกว่าตาล้าจากการอ่านหนังสือควรจะปรับแสงสว่างให้พอดีไม่ควรจ้าเกินไป หรือสลัวเกินไป และหากตาล้าระหว่างการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ระหว่างวันควรหาเวลาพักสายตาสักครู่ กะพริบตาสัก 2-3 ครั้ง แล้วหลับตาลง และใช้มือนวดขมับเบาๆ เป็นเวลา 1 นาที เพื่อผ่อนคลายก็เป็นวิธีแก้อาการตาล้าที่ดีเช่นกัน

และอาจจะปรับที่คอมพิวเตอร์ด้วยการเพิ่มความละเอียด และลดแสงลง ปรับระยะการมองหน้าจอ และขนาดตัวอักษาในสื่อ รวมถึงการปรับคอนทราสต์ และแสงสว่างที่เหมาะสมก็สามารถช่วยบรรเทาอาการตาล้าได้ แนะนำให้พักสายตา หรือกวาดตามองไปรอบๆ ห้อง ในระหว่างที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทุกๆ 15 นาที

การยืน การเหยียดแขนขา และการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมทั้งเดินไปรอบๆ สามารถช่วยผ่อนคลายอาการตาล้าได้

หากอาการตาล้าเกิดจากดวงตาแห้ง สามารถใช้น้ำตาเทียม 2-3 ครั้ง ต่อวัน ตามคำแนะนำของแพทย์ในการลดอาการตาล้าได้

ทั้งนี้หากไม่สามารถบรรเทาอาการด้วยตนเองได้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม

เคล็ดลับการบริหารดวงตา

1. กลอกตา ขึ้น-ลง ช้าๆ 6 ครั้ง โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุด และลงต่ำสุดในระหว่างการบริหารอย่าเกร็งลูกตา

2. กลอกตาไปข้างขวาและซ้าย สลับกัน โดยกลอกตาไปให้ขวาสุดและซ้ายสุด ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง

3. ชูนิ้วชี้ขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตาห่างจากตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจ้องมองไปที่ระยะไกลๆประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามอง ระยะใกล้ที่นิ้วมือ ใช้เวลามองแต่ละที่ ประมาณ 2-3 วินาที ปฏิบัติสลับไปมาเช่นนี้ ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ปฏิบัติประมาณ 2-3 รอบ

4. กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ โดยเริ่มกลอกตาตามเข็มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ปฏิบัติประมาณ 10 ครั้งแล้วหยุดพัก 1 วินาที ปฏิบัติประมาณ 2-3 รอบ

อย่างไรก็ตาม เราควรจะตรวจสุขภาพตาปีละ 1 ครั้ง เพื่อวัดความดันตา ตรวจเช็คจอประสาทตาและผิดปกติของสายตาเป็นประจำเพราะโรคตาบางอย่างจะไม่แสดงอาการจนเข้าสู่ขั้นรุนแรงแล้ว หากตรวจพบโรคตา ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *