โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.05
1691
0

ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) คือโรคเรื้อรังที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อตามตัวร่วมกับความทุกข์ทางด้านจิตใจ

อาการของไฟโบรมัยอัลเจียสามารถสร้างความสับสนกับอาการโรคข้ออักเสบหรือข้อต่อมีการอักเสบได้ แต่อย่างไรก็ตามโรคนี้ต่างจากโรคข้ออักเสบ เพราะไม่ได้พบว่ามีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือการเสียหายของข้อต่อหรือกล้ามเนื้อที่พบในโรคข้ออักเสบ แต่ในทางตรงข้ามกันโรคนี้กลับเกิดขึ้นเพราะอาการเจ็บเนื่อเยื่ออ่อนหรือปวดกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

สาเหตุหลักๆของไฟโบรมัยอัลเจียยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการปวดที่มาจากกระบวนการของสมอง ซึ่งอาจทำให้มีการไวต่อความรู้สึกหรือการรับรู้ต่อความรู้สึกปวดเมื่อถูกกระตุ้นมีเพิ่มมากขึ้น 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการอย่างกว้างๆคือ:

ไฟโบรมัยอัลเจียอาจเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ผู้หญิงที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค

คนที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคลูปัส,หรือข้อไขสันหลังอักเสบหรือที่เรียกว่าโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติในการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

อาการไฟโบรมัยอัลเจีย

อาการทั่วไปที่พบได้คือ:

  • การปวดแบบกระจาย
  • ปวดกรามและแข็ง
  • ปวดและมีการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อใบหน้าและเนื้อเยื่อเส้นใย
  • ข้อและกล้ามเนื้อแข็งในเวลาเช้า
  • ปวดศีรษะ
  • มีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติ
  • โรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome
  • ปวดประจำเดือน
  • รู้สึกเจ็บแปลบและชาที่มือและเท้า
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข 
  • ไวต่อความเย็นหรือความร้อน
  • มีปัญหาด้านความทรงจำและสมาธิ ที่รู้จักกันในชื่อภาวะสมองล้า
  • อ่อนเพลีย

และอาจมีอาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น:

  • มีปัญหาการมอง
  • คลื่นไส้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะและกระดูกเชิงกราน
  • น้ำหนักเพิ่ม
  • มึนงง
  • มีอาการคล้ายไข้หวัด
  • มีปัญหาด้านผิวหนัง
  • มีอาการเกี่ยวกับทรวงอก
  • เครียดและมีความวิตกกังวล
  • มีปัญหาการหายใจ

อาการสามารถปรากฎขึ้นได้ตลอดเวลาในช่วงชีวิตคน แต่จากรายงานพบว่ามักเกิดขึ้นกับคนอายุราว 45 ปี

การรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

ไฟโบรมัยอัลเจียเป็นโรคที่ต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษเพราะเป็นโรคที่จัดการยาก เช่นเดียวกับกลุ่มโรคอื่นๆ ผู้ป่วยแต่ละคนต่างก็มีอาการที่อาจแตกต่างกันออกไป การรักษาเฉพาะคนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

การรักษาอาจรวมไปถึงสิ่งต่อไปนี้ เช่น:

  • ตั้งโปรแกรมการออกกำลังกาย
  • การฝังเข็ม
  • การบำบัดทางจิต
  • การบำบัดปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรม
  • การรักษาแบบไคโรแพรคติก
  • การนวด
  • กายภาพบำบัด
  • ใช้ยาต้านเศร้าปริมาณต่ำ

ผู้ที่มีอาการไฟโบรมัยอัลเจียจำเป็นต้องทำงานร่วมกับแพทย์ด้วยการวางแผนการรักษาเฉพาะคนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Fibromyalgia

การใช้ยา

อาจได้รับคำแนะนำให้มีการใช้ยาเพื่อใช้รักษาอาการเช่น

ด้วยยาบรรเทาอาการปวดที่สามารถหาซื้อไปตามร้านขายยาทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามทาง  European League Against Rheumatism (EULAR) ได้สั่งห้ามและไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบ NSAIDs ในการรักษาไฟโบนมัยอัลเจียตั้งแต่ปี 2016    

 

ยาต้านเศร้าเช่น ดูล็อกซีทีน, หรือ Cymbalta และมิลนาซิแพรนหรือ Savella ก็อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ยาต้านอาการชัก เช่น กาบาเพนติน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ นิวรอนตินและ พรีกาบาลิน หรือ Lyrica            

แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่าอาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดยาต่างๆเหล่านี้เพราะยาอาจไม่มีประสิทธิภาพต่อการบรรเทาอาการปวดได้หรืออาจเพราะอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่ดีได้

ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัวอื่นๆเพื่อเป็นการหลบเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงร่วมกับยาอื่นๆ

การออกกำลังกาย

การออกกำลังแบบแอโรบิคร่วมกับการฝึกแบบเสริมสร้างความแข็งแรงสามารถช่วยลดอาการปวด, อาการกดเจ็บ, กล้ามเนื้อแข็งและปัญหาการนอนได้ในผู้ป่วยบางราย

หากพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยลดอาการได้ ควรออกกำลังต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อเห็นผลในระยะยาว การออกกำลังคู่กันกับคู่หรือครูฝึกอาจช่วยให้การออกกำลังเป็นไปตามโปรแกรมได้ดีขึ้น

การฝังเข็ม

ในผู้ป่วยบางรายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้หลังจากบำบัดด้วยการฝังเข็มสำหรับอาการไฟโบรมัยอัลเจีย จำนวนการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย

จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 5คนที่เป็นไฟโบรมัยอัลเจียเคยการรักษาด้วยการฝังเข็มภายใน 2 ปี บทสรุปจากการวิจัยพบว่าการฝังเข็มสามารถช่วยทำให้อาการกล้ามเนื้อแข็งตัวและอาการปวดดีขึ้น

การบำบัดปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรม

การบำบัดปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมคือรูปแบบหนึ่งของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เป้าหมายเพื่อลดความคิดด้านลบ, ลดความเครียดหรืออาการปวดที่เพิ่มจากพฤติกรรมและสร้างความคิดบวกให้ดีขึ้น รวมไปถึงการเสริมสร้างเรียนรู้ทักษะการจัดการใหม่ๆและการออกกำลังกายแบบผ่อนคลายด้วย

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคอาจต้องใช้เวลานานเพราะอาการของไฟโบรมัยอัลเจียมีความคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่นโรคไฮโปไทรอยด์ อาจต้องมีการจัดโรคบางอย่างออกก่อนเพื่อการวินิจฉัยไฟโบรมัยอัลเจีย

ด้วยความที่ยังไม่มีห้องปฏิการสำหรับการตรวจเช็คอาการของโรคโดยตรงทำให้การวินิจฉัยยิ่งล่าช้าและอาจผิดพลาดได้

The American College of Rheumatology ได้ทำการตั้งเกณฑ์ไว้ 3 เกณฑ์ในการวินิจฉัยไฟโบรมัยอัลเจียดังนี้

  1. มีอาการปวดและมีอาการเกินสัปดาห์ มีผลต่อร่างกายเกินกว่า 19 ส่วน ร่วมกับระดับของความเหนื่อยล้า, การนอนหลับที่ไม่น่าพึงพอใจหรือมีปัญหาด้านความเข้าใจ
  2. มีอาการอย่างน้อย 3เดือน
  3. ไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆที่สามารถอธิบายอาการได้

โภชนาการ

มีการแนะนำเรื่องของโภชนาการเพื่อทำให้อาการไฟโบรมัยอัลเจียดีขึ้นได้คือ

  • อาหารพลังงานสูงแต่น้ำตาลต่ำ: อาหารจำพวกอัลมอนด์, ถั่วต่างๆ, ข้าวโอ๊ต, อะโวคาโด, และเต้าหู้ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์แต่ไม่เติมน้ำตาล สามารถช่วยทำให้อาการเหนื่อยล้าดีขึ้นเนื่องจากโรคได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน: จากการศึกษาเมื่อปี 2014 ได้บอกไว้ว่าคนที่มีความไวต่อกลูเตนสามารถทำให้เกิดไฟโบรมัยอัลเจีย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำเอาอาหารที่มีส่วนประกอบของกลูเตนออกจากอาหารที่รับประทานสามารถลดอาการปวดได้ แม้แต่กับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเซลิแอคก็ตาม  การทำตามแผนกการกินสามารถลดการอักเสบได้
  • การตัดอาหารประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงที่ทำให้ท้องไส้แปรปรวนออก(FODMAP) : จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการกินอาหารในกลุ่ม FODMAP ลดน้อยลงสามารถทำให้ระดับความปวดในผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียลดน้อยลงด้วย
  • ไม่รับประทานสารเติมแต่งและสารเพิ่มรสชาติ: การตัดสารเติมแต่งออกจากอาหารที่เรารับประทาน เช่นสารแอสปาร์แตมและผงชูรสสามารถลดอาการปวดลงได้ อาการปวดจะกลับมาเป็นมากขึ้นอีกครั้งเมื่อกลับมาทานสารเติมแต่งอีกครั้ง
  • รับประทานเมล็ดธัญพืชและถั่วต่างๆ สามารถทำให้อาการไฟโบรมัยอัลเจียดีขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันดีว่าการรับประทานประเภทสารอาหารรองเข้มข้นและแร่ธาตุมีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ และยังอาจช่วยสำหรับคนที่มีอาการได้ด้วย

การรักษาสมดุลย์โภชนาการและรักษาน้ำหนักให้ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพและยังสามารถช่วยทำให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้นได้ด้วย

จุดกดเจ็บ

เมื่อทำการศึกษาเรื่องไฟโบรมัยอัลเจีย คุณได้เจอกับคำว่า “จุดกดเจ็บ”

นั่นหมายความถึงบริเวณของร่างกายที่มีอาการไฟโบรมัยอัลเจียที่เป็นสาเหตุของการปวด รวมไปถึงด้านหลังศีรษะ,เข่าด้านใน,และข้อศอกด้านนอก ความปวดอาจเพิ่มขึ้นที่บริเวณคอและหัวไหล่, สะโพกด้านนอกและทรวงอกช่วงบน

แพทย์อาจทำการวินิจฉัยไฟโบรมัยอัลเจียโดยดูจากปฏิกิริยาที่มีต่อแรงกดตามจุดต่างๆที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามการไม่เจอก็ไม่ใช่วิธีการที่แม่นยำในการวินิจฉัยโรคและจุกกดเจ็บเองก็ไม่ใช่ตัวที่จะบ่งชี้โรคไฟโบรมัยอัลเจียได้เสมอไป

ไม่แนะนำให้ฉีดยาเข้าบริเวณจุดที่กล่าวไว้ อาการปวดมีรูปแบบการแผ่ขยายในแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ในบางบริเวณหรือจุดที่เกิดอาการปวดอาจมีความรุนแรงและเรื้อรังได้

การเฝ้าติดตาม

ไฟโบรมัยอัลเจียยังไม่สามารถรักษาได้ แต่มีทางเลือกในการรักษาและสามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนมากขึ้นได้

อาการสามารถทำให้ดีขึ้นได้ตราบใดที่ผู้ป่วยยังปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด

ข้อควรรู้ของไฟโบรมัยอัยเจีย:

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับไฟโบรมัยอัลเจีย คือ.

  • ไฟโบรมัยอัลเจียเป็นสาเหตุของอาการปวดแบบแพร่กระจาย, อ่อนล้า, และการไม่สบายตัวรูปแบบต่างๆ
  • อาการมีความคล้ายคลึงกับอาการข้ออักเสบ แต่ไฟโบรมัยอัลเจียจะส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่ออ่อนไม่ใช่ที่ข้อต่อ
  • สาเหตุการเกิดอาการยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการบาดเจ็บ,โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • ยังไม่สามารถรักษาได้ แต่การรับประทานยา, การออกกำลังกาย, การฝังเข็มและการบำบัดด้านพฤติกรรมก็สามารถช่วยบรรเทาอาการและทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้น 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *