เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) : อาการ สาเหตุ การรักษา

06.05
1622
0

(Helicobacter Pylori) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า (H. pylori) คือ แบคที่เรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก มันถูกพบในปี 1982 โดยนักวิจัยชาวออสเตรเลีย และพวกเขายังพบอีกว่ามันเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcers) เป็นโรคที่เกิดบาดแผลขึ้นที่กระเพาะหรือส่วนต้นของลำไส้เล็ก โรคแผลในกระเพาะอาหารถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ulcers” หรือ “stomach ulcers” 

(H. pylori) และ โรคแผลในกระเพาะอาหาร

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เคยเชื่อว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารมีสาเหตุมาจากความเครียดเเละอาหารบางชนิด 

อย่างไรก็ตาม หลังจากการค้นพบ (H. pylori) ทฤษฎีนี้ก็เป็นที่โต้เถียงกันไปในวงกว้าง งานวิจัยเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและตับกล่าวว่า 60 ถึง 100 เปอร์เซนต์ของโรคแผลในกระเพาะอาหารมีแบคทีเรีย (H. pylori) เป็นสาเหตุ 

นักวิจับพบว่า แบคทีเรีย (H. pylori) ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารเพียงเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (โรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร) และยังพบว่าแบคทีเรียชนิดนี้ยังเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม the American Cancer Society กล่าวว่า ผู้ที่มีแบคทีเรีย (H. pylori) ในกระเพาะไม่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร 

กระเพาะอาหารมีเมือกที่ถูกสร้างมาเพื่อปกป้องกระเพาะจากกรดในกระเพาะ H. pylori ทำลายเมือกเหล่านี้และทำให้กรดไปสัมผัสกับกระเพาะอาหาร ทั้งแบคทีเรียและกรดระคายเคืองกระเพาะอาหารทำให้เกิด แผลในกระเพาะ กระเพาะอักเสบ หรือมะเร็งกระเพาะอาหาร 

อย่างไรก็ตาม ผู้คนมากมายมี (H. pylori) ในกระเพาะอาหารแต่ไม่เกิดแผลในกระเพาะหรือปัญหาอื่น ๆ จากข้อมูลของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค กล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว คน 2 ใน 3 ของประชากรโลกมี H. pylori อยู่ในกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าทำไมบางคนถึงเป็น แผลในกระเพาะ กระเพาะอักเสบ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อ (H. pylori)

แผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ไอบูโปรเฟน แอสไพริน และนาพรอกซิน ยาเหล่านี้เป็นยาในกลุ่มยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 

มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน (The Lancet) พบว่า แผลในกระเพาะอาหารนั้นพบได้น้อยมากในผู้ที่มีแบคทีเรีย (H. pylori) ในกระเพาะอาหารแต่ไม่รับประทานยากลุ่มบรรเทาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ 

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย (H. pylori) 

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเราได้รับแบคทีเรียชนิดนี้ได้อย่างไร ในบางเคส อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีแบคทีเรีย (H. pylori) มันถูกพบอยู่ในน้ำลายของมนุษย์ จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญคิดว่ามันอาจจะแพร่จากคนสู่คน 

ยังไม่มีวิธีการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย (H. pylori) แต่ผู้เชี่ยวชาญได้เเนะนำว่า: 

  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังใช้ห้องน้ำ 
  • รับประทานอาหารที่ถูกปรุงอย่างเหมาะสมและปลอดภัย 
  • ดื่มเฉพาะน้ำที่สะอาดเท่านั้น 

การติดเชื้อ (H. pylori) พบได้ทั่วไปในประเทศที่กำลังพัฒนาที่คนอาจไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปลอดภัยได้ 

H. Pylori

อาการของการติดเชื้อ H.Pylori

ผู้ที่มีแบคทีเรีย (H. pylori) หลายคนไม่แสดงอาการ ส่วนผู้ที่ป่วยเพราะแบคทีเรียชนิดนี้นั้น อาจมีอาการได้หลายแบบ 

อาการของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอาจรวมไปถึง อาการปวดแสบปวดร้อนในช่องท้องด้านบน ความเจ็บปวดอาจเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืนหรือเมื่อท้องว่าง ยาลดกรดอาจช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราว แต่อาการปวดก็ยังจะกลับมา 

อาการของกระเพาะอาหารอักเสบปกติแล้วจะมีอาการปวดท้องส่วนบน คลื่นไส้ และอาเจียน 

งานวิจัยใน (Alimentary Pharmacology & Therapeutics) กล่าวว่า ผู้ที่มีการตติดเชื้อ (H. pylori) ในกระเพาะอาหารมีโอกาส 6 เท่าที่จะเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร 

อาการที่เป็นไปได้ของโรคมะเร็งในกระเพาะ มีดังนี้: 

หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคอื่น แต่ควรไปตรวจเพื่อที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม 

การตรวจและการรักษา 

ผู้ป่วยที่มีอาการของ แผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคกระเพาะอาหารอื่น ๆ อาจต้องได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย  (H. pylori)  หรืออื่น ๆ 

  1. (H. pylori) สามารถตรวจได้จาก เลือด การหายใจ หรืออุจจาระ 

การวินิจฉัย แผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมะเร้งในกระเพาะอาหารสาารถทำได้ดังนี้: 

  • ประวัติการรักษา: การรักษาและอาการต่าง ๆ ที่ผ่านมา 
  • การตรวจร่างกาย: ตรวจและฟังเสียงของท้อง 
  • เอ็กซ์เรย์ดูภายในกระเพาะอาหาร 
  • การส่องกล้อง: แพทย์จะตรวจดูภายในกระเพาะอาหารโดยที่ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบก่อน 

หากพบว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แพทย์อาจรักษาด้วยยาเหล่านี้: 

  • ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่า (H. pylori)
  • ยาลดกรดในกระเพาะ กลุ่ม  proton pump inhibitors (PPIs) หรือ histamine receptor blockers
  • ยาที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและทำให้แผลหาย 

ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจกลับไปเป็นแผลในกระเพาะอาหารอีก เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกลับไปเป็นซ้ำ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ดังนี้: 

  • หยุดยากลุ่ม (NSAIDs) หรือใช้ให้น้อยลง 
  • รับประทานยาที่ช่วยปกป้องกระเพาะอาหารก่อนที่จะรับประทานยากลุ่ม (NSAIDs) 
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 
  • ไม่สูบบุหรี่ 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *