ปวดส้นเท้า (Heels Pain) : อาการ สาเหตุและการรักษา

ปวดส้นเท้า (Heels Pain) : อาการ สาเหตุและการรักษา

30.11
5751
0

ปวดส้นเท้า (Heels Pain) เป็นปัญหาปวดเท้าทั่วไป โดยปกติอาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นที่ส้นเท้าด้านหลังซึ่งเป็นบริเวณที่เอ็นร้อยหวายเชื่อมต่อกับกระดูกส้นเท้า ซึ่งบางครั้งสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ด้านข้างของส้นเท้า

Heels Pain

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้า

  • โดยปกติอาการปวดส้นเท้าหมายถึงอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นทั้งบริเวณใต้ส้นเท้าหรือด้านหลังเท้า
  • อาการเจ็บปวดมักค่อยเริ่มเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการบาดเจ็บบนิเวณที่เกิดอาการเจ็บปวด โดยปกติมักถูกกระตุ้นด้วยการใส่ร้องเท้าส้นแบน 
  • โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเจ็บปวดที่ใต้เท้าร้าวไปยังด้านหน้าเท้า
  • สามารถรักษาที่บ้านได้ด้วยการใช้น้ำแข็งประคบและสวมอุปกรณ์เสริมรองเท้า วิธีเหล่านี้เป็นการบรรเทาอาการปวดเท้าที่ง่ายที่สุด

สาเหตุการปวดส้นเท้า

โดยปกติอาการปวดส้นเท้าไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บเพียงอย่างเดียวเช่นข้อเท้าพลิกหรือหกล้มแต่เกิดขึ้นจากการที่เกิดแรงเครียดที่เกิดขึ้นซ้ำและการลงน้ำหนักของส้นเท้า  

สาเหตุทั่วไปได้แก่

โรครองช้ำหรือการติดเชื้อของเอ็นรองฝ่าเท้า : แผ่นรองช้ำเป็นเส้นเอ็นเชื่อมกระดูกที่มีลักษณะคล้ายธนูอยู่ใต้เท้าที่เชื่อมต่อตั้งแต่กระดูก calcaneum (กระดูกส้นเท้า) ไปจนถึงปลายเท้า 

อาการเจ็บปวดประเภทนี้มักเกิดขึ้นเนื่องจากรูปร่างและลักษณะมุมอุ้งเท้าระหว่างเท้ากับพื้นโดยเฉพาะอุ้มเท้าที่สูงหรือต่ำ

ถุงข้อต่อส้นเท้าอักเสบ : อาการอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ที่ด้านหลังของส้นเท้าในถุงน้ำรองข้อต่อซึ่งมีลักษณะเป็นถุงที่มีเนื้อเยื่อหุ้มของเหลวอยู่ด้านใน โดยอาการนี้มีสาเหตุมาจากการยืนที่ผิดปกติหรือมีของเเข็งกระทบส้นเท้ารวมถึงเกิดแรงกดทับจากการใส่รองเท้า

โดยอาการเจ็บปวดอาจรู้สึกเจ็บด้านในส้นเท้าหรือด้านหลังของส้นเท้า โดยบางครั้งเส้นเอ็นร้อยหวายอาจเกิดอาการบวมได้ โดยปกติเมื่อเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นหลายวันมักทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น

ส้นเท้านูน : เป็นอาการเจ็บปวดจากส้นเท้านูนขึ้น โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นกับวัยรุ่นเนื่องจากกระดูกส้นเท้ายังไม่เจริญเติบโตเต็มที่และเกิดแรงเกิดเเรงเสียดสีอย่างรุนเเรงทำให้มีกระดูกเกิดขึ้นมากเกินไปส่งผลทำให้เกิดโรคเท้าแบน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเกิดจากการเริ่มใส้รองเท้าส้นสูงก่อนที่กระดูกจะเจริญเติบโตเต็มที่ 

การกดทับเส้นประสาทที่เท้า : เส้นประสาทขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านหลังเท้าถูกบีบคั้นหรือถูกแรงกดทับ ซึ่งการกดทับของเส้นประสาทประเภทนี้มักเกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณข้อเท้าหรือฝ่าเท้า

การอักเสบเรื้อรังของฝ่าเท้า : อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์รองเท้าบางเกินไปหรือเดินลงน้ำหนักเท้ามากเกินไป

กระดูกหักร้าว : เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับแรงเครียดจากการใช้งานเท้าซ้ำๆ การอกกำลังกายและเล่นกีฬาแบบฉับพลันหรือการทำงานประจำอย่างหนัก นักวิ่งเป็นผู้ที่มีเเนวโน้มเกิดอาการกระดูกหักร้าวบริเวณกระดูกเมตาทาร์สัลเนื่องจากการวิ่งได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถเรียกว่าโรคข้อกระดูกอักเสบได้เช่นกัน

โรคร้ายเเรง : เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าในเด็กและนักกีฬาที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งหมายถึงโรคร้ายเเรงต่างๆที่เกิดจากการใช้งานเท้ามากเกินไปและการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกระดูกส้นเท้า โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 7-15 ปี

เส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบ : อาการนี้เรียกว่าประสาทเส้นเอ็นเสื่อมหรือเส้นเอ็นอักเสบรวมถึงเส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการเจ็บปวดชนิดนี้เป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเส้นเอ็นร้อยหวาย 

การรักษาการปวดส้นเท้า

คนส่วนใหญ่มักหายเจ็บปวดด้วยการรักษาตามปกติภายในไม่กี่เดือน

ทางเลือกในการรักษาได้แก่

  • การใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่ใช้ลดอาการเจ็บปวดเเละอาการบวม
  • การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจนำมาใช้เมื่อการใช้ยาอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ใช้รักษาไม่ได้ผลแต่การใช้ยาฉีดชนิดนี้จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้
  • การทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดสามารถสอนวิธีการออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้าและเส้นเอ็นร้อยหวายรวมถึงเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณขาด้านล่างให้แข็งเเรง เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเหล่านี้แข็งเเรงเเล้วจะทำให้ความสมดุลระหว่างข้อเท้าและส้นเท้าดีมากขึ้น
  • การใช้เทปพยุงกล้ามเนื้อเป็นการใช้เทปแปะบริเวณฝ่าเท้าเพื่อพยุงกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว 
  • เครื่องดามกายอุปกรณ์หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงและพื้นรองเท้าสามารถช่วยแก้ไขความผิดปกติของรูปเท้าและช่วยรองอุ้งเท้าในระหว่างทำการรักษา

อุปกรณ์เสริมเท้ามีหลายชนิดแตกต่างกันและสามารถหาซื้อได้บนเว็บไซต์ Amazon

การรักษาโดยคลื่นกระเเทกเป็นวิธีรักษาด้วยการใช้คลื่นเสียงกระแทกบริเวณที่เกิดการอักเสบเพื่อกระตุ้นทำให้เกิดการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อ ซึ่งวิธีการรักษาประเภทนี้เป็นวิธีที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บปวดส้นเท้าเรื้อรัง และไม่มีอาการหายดีขึ้นด้วยการรักษาแบบธรรมดา

การผ่าตัด

ถ้าหากไม่วิธีการรักษาประเภทไหนที่ใช้ได้ผล ศัลแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกฝ่าเท้าตั้งแต่บริเวณส้นเท้า ซึ่งวิธีนี้มีความเสี่ยงทำให้เกิดมุมของอุ้งเท้าแบนได้

อุปกรณ์พยุงเท้าตอนกลางคืน

การสวมใส่อุปกรณ์พยุงเท้าสามารถช่วยพยุงน่องและเท้าให้สมดุลกันในขณะนอนหลับ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ทำหน้าที่พยุงเส้นเอ็นฝ่าเท้าและเส้นเอ็นร้อยหวายให้อยู่ในท่าเหยียดตรงตลอดทั้งคืน

อุปกรณ์นี้สามารถสั่งซื้ออนไลน์ได้แต่วิธีที่ดีที่สุดคือควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนให้อุปกรณืดังกล่าว

วิธีรักษาถุงน้ำข้อต่อส้นเท้าอักเสบ

ถ้าหากสามารถแยกความแตกต่างระหว่างอาการถุงน้ำข้อต่อส้นเท้าอักเสบและเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบได้อย่างชัดเจน วิธีการรักษาที่ใช้ได้ผลคือการใช้แผ่นรองเท้าเต็มแผ่นหรือที่หุ้มส้นเท้าเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดปัญหาปวดส้นเท้า

นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำให้พักผ่อนและฉีดยาสเตียรอยด์ถ้าจำเป็น

วิธีการรักษากระดูกส้นเท้านูน

อาการอักเสบที่ด้านหลังส้นเท้าสามารถบรรเทาด้วยการใช้น้ำแข็งประคบและเปลี่ยนไปสวมใส่รองเท้าที่พอดีและเหมาะสมกับการทำกิจกรรม

ที่รัดเอ็นร้อยหวายและเฝือกหุ้มส้นเท้ารวมถึงแผ่นป้องกันรองเท้าหลวมสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดส้นเท้าในระยะสั้นได้

การฉีดโคติโซนสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

สำหรับคนส่วนใหญ่สามารถรักษาอาการเจ็บปวดส้นเท้าได้ภายใน 6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เจ็บปวดส้นเท้าอย่างรุนเเรง จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการเจ็บปวด

อาการปวดส้นเท้า

โดยทั่วไปอาการปวดส้นเท้าค่อย ๆ เริ่มเจ็บปวดและมีอาการเจ็บปวดรุนเเรงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่บริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดไม่มีบาดแผลเกิดขึ้นและถูกกระตุ้นด้วยการใส่รองเท้าส้นแบน เนื่องจากรองเท้าประเภทดังกล่าวอาจทำให้เส้นเอ็นที่ฝ่าเท้ายืดมากเกินไปจนกระทั่งเกิดอาการบวมเเละอักเสบ

ถ้าหากเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงอย่างเช่นเริ่มเกิดการฉีดขาด ผู้ที่มีอาการเจ็บปวดส้นเท้าจะได้ยินเสียงดังเปราะเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บและจะเริ่มมีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน

โดยปกติอาการปวดส้นเท้ามักรู้สึกเจ็บปวดที่ใต้เท้าไปจนถึงด้านหน้าส้นเท้า

ซึ่งอาการปวดส้นเท้าอาจรุนเเรงมากขึ้นเช่นมีอาการปวดฝ่าเท้าหลังตื่นนอนและหลังจากช่วงที่พักระหว่างวัน จากนั้นจะค่อยๆเริ่มมีอาการเจ็บเท้าเมื่อทำกิจกรรมต่างๆเช่นปวดฝ่าเท้าเวลาเดิน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *