คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) : อาการ สาเหตุ การรักษา

คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) : อาการ สาเหตุ การรักษา

08.11
1569
0

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) คือการที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระดับคอลเลสเตอรอลปกติเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามถ้าหากมีคอลเลสเตอรอลเข้มข้นในเลือดมากเกินไปอาจเป็นภัยอันตรายเงียบที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

คอลเรสเตอรอลมีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกายและมีหน้าที่สำคัญทางธรรมชาติโดยคอลเลสเตอรอลช่วยทำงานในระบบย่อยอาหารและสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงการสร้างวิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างคอลเลสเตอรอลได้เองและสามารถรับประทานจากอาหารได้ซึ่งอยู่ในอาหารที่มีลักษณะเป็นของมัน

คอลเรสเตอรอลแบ่งเป็น  2 ชนิด :

  • คอลเลสเตอรอลชนิดความหนาเเน่นต่ำ (LDL) หรือ “ไขมันชนิดไม่ดี”
  • คอลเลสเตอรอลชนิดความหนาเเน่นสูง คอเลสเตอรอลสูง (HDL) หรือ “ไขมันชนิดดี”

ในบทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของไขมันคอลเรสเตอรอลรวมไปถึงพูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดภาวะคอลเรสเตอรอลสูง อาการและการรักษารวมไปถึงการป้องกัน

คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูงคืออะไร

คอลเลสเตอรอลเป็นสารที่เป็นไขมันและเป็นสารที่ไม่สามารถผสมเข้ากับเลือดซึ่งเลือดเป็นสารน้ำ

ไลโพโปรตีนอยู่ตามส่วนต่างๆทั่วร่างกาย

ไลโพโปรตีนที่อยู่ในคอลเลสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ประเภทได้เเก่

  • ไลโพโปรตีนชนิดความหนาเเน่นต่ำ (LDL) เป็นไขมันที่อยู่ทั่วร่างกายซึ่งเป็นไขมันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเรียกว่าไขมันชนิด “ไม่ดี”
  • ไลโพโปรตีนชนิดความหนาเเน่นสูง (HDL) เป็นคอลเลสเตอรอลชนิด “ดี” ต่อร่างกาย

คอลเสลเตอรอลในร่างกายมีหน้าที่หลักอยู่ 4 ประการ ซึ่งหากขาดคอลเลสเตอรอลไปเราจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

หน้าที่ของคอลเลสเตอรอลได้แก่

  • มีหน้าที่ส่งเสริมโครงสร้างของผนังเซลล์
  • ช่วยในการสังเคราะห์กรดน้ำดีในระบบการย่อยอาหาร
  • ช่วยทำให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดี
  • ช่วยทำให้ร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนบางชนิด

สาเหตุของคอเลสเตอรอลสูง

ภาวะคอลเลสเรสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีและโรคหัวใจวายได้

การเกิดคอลเลสเตอรอลเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดแคบลงเรียกว่าภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดเเข็งตัวเกิดขึ้นจะทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างจำกัด

การลดอาหารที่มีไขมันสามารถช่วยจัดการกับระดับคอลเลสเตอรอลได้ โดยอย่างยิ่งควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ประกอบไปด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้

  • คอลเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และชีส
  • กรดไขมันอิ่มตัวสารอาหารชนิดนี้อยู่ในเนื้อสัตว์บางประเภท ผลิตภัณฑ์นม ช็อกโกเเลต ขนมอบ อาหารทอดและอาหารแปรรูป
  • ไขมันทรานส์สารอาหารชนิดนี้มีอยู่ในอาหารทอดบางชนิดเเละอาหารแปรรูป

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีโอกาสเกิดระดับคอลเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) สูงได้ นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมสามารถก่อให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงได้เช่นกัน โดยผู้ที่เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงที่เกิดจากพันธุกรรมจะมีคอลเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงมาก

โรคอื่นๆที่สามารถทำให้ระดับคอลเลสเตอรอลสูงได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับหรือไต
  • โรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
  • การตั้งครรภ์และอาการอื่นๆที่ทำให้ระดับฮอร์โมนผู้หญิงเพิ่มขึ้น
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป
  • การใช้ยาที่เพิ่มระดับคอลเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) และลดระดับคอลเลสเตอรอลชนิดความหนาเเน่นสูง (HDL) เช่นโปรเจนติน ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

อาการของคอเลสเตอรอลสูง

ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงอาการส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณ ปรากฎขึ้นแต่การตรวจสอบพฤติกรรมหรือการทดสอบเลือดเป็นสามารถช่วยตรวจหาระดับคอลเลสเตอรอลที่สูงได้

สำหรับผู้ที่ไม่เคยตรวจสอบหาความผิดปกติของระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดอาจมีภาวะหัวใจวายได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อนเพราะพวกเขาไม่รู้ว่ามีระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดสูง ดังนั้นการตรวจเลือดเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้

ภาวะคอลเรสเตอรอลสูงมีวิธีรักษาได้อย่างไร

วิธีรักษาคอเลสเตอรอลสูงมีดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยยาลดไขมัน

ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงจะได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมันซึ่งการใช้ยาขึ้นอยู่กับระดับไขมันในเลือดเเละปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

โดยทั่วไปแพทย์จะเเนะนำให้เริ่มรักษาด้วยการควบคุมอาหารเเละการออกกำลังกาย แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจวายเฉียบพลันสูงจำเป็นต้องใช้ยาสแตตินหรือยาชนิดอื่นๆรักษา

ยาสแตตินเป็นยาชั้นนำของกลุ่มยาลดคอลเลสเตอรอล ยาสแตตินที่มีขายในประเทศสหรัฐอเมริกาได้แก่

  • ยา atorvastatin (ชื่อทางการค้า Lipitor)
  • ยา fluvastatin (Lescol)
  • ยา lovastatin (Mevacor, Altoprev)
  • ยา pravastatin (Pravachol)
  • ยา rosuvastatin calcium (Crestor)
  • ยา simvastatin (Zocor)

นอกจากยาสแตตินแพทย์จะให้ยาดังต่อไปนี้

  • ยายับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล
  • ยา resins
  • ยา fibrates
  • ยา niacin 

ในปี 2017 นักวิจัยได้ค้นพบยาชนิดใหม่ชื่อว่า ezetimibe เป็นยาที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในผู้ป่วยที่มีระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยยา ezetimibe สามารถช่วยลดระดับไขมันชนิดที่ไม่ดีด้วยการจำกัดการดูดซึมคอลเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก

นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้แนะนำยาชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ยาในกลุ่ม PCSK9 inhibitors เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคอลเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยา ezetimibe

สำหรับผู้ที่มีโรคผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่เเล้ว แพทย์จะเเนะนำให้ในยา ezetimibe และยาสแตติน ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงมากในคู่มือการรักษาผู้ป่วยเเนะนำให้ใช้ยากลุ่ม PCSK9 inhibitor เพิ่มอีกหนึ่งชนิด

อย่างไรก็ตามในคู่มือการรักษาผู้ป่วยยังได้ระบุว่ายากลุ่ม PCSK9 inhibitor มีราคาแพงและบริษัทประกันชีวิตไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเมื่อใช้ยาชนิดนี้ เนื่องด้วยเหตุผลนี้ยาชนิดนี้จึงใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงมากเท่านั้น

ยาสแตตินเป็นยาที่ปลอดภัย

การใช้ยาสแตตินรักษายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เพราะว่ายาประเภทนี้มีผลข้างเคียงเหมือนกับยาทั่วไป

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้แก่

  • ยาสแตตินที่รักษาความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ (โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ)
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวานซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

ผู้ป่วยไม่ควรหยุดใช้ยาสแตตินเองโดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจได้

แพทย์จะแนะนำให้

  • เปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นๆ
  • เพิ่มการลดระดับคอลเลสเตอรอลด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • เพิ่มประสิทธิภาพ

ข้อสรุปเกี่ยวกับคอลเลสเตอรอล

  • คอลเรสเตอรอลเป็นสารที่จำเป็นที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองแต่ก็สามารถทานจากอาหารได้
  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะคอลเลสเตอรอลได้แก่ประวัติของคนในครอบครัวและการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่นการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  • โดยปกติการทานอาหารที่มีคอลเลสเตอรอลสูงไม่ได้ทำให้เกิดอาการใดๆ
  • ถ้าหากเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ระดับคอลเลสเตอรอลยังสูงอยู่ แพทย์อาจจะสั่งยาลดไขมันในเลือดเช่นยาสแตติน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *