กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) : อาการ สาเหตุ การรักษา

21.03
3362
0

ภาพรวม

กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) คืออาการบาดเจ็บที่มีความรุนแรง โดยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  กระดูกสะโพกหักจะความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามอายุ

ความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีความแข็งแรงของกระดูกลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น (โรคกระดูกพรุน) สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ คือ การใช้ยาหลายชนิด มีปัญหาเรื่องการมองเห็น และการทรงตัวไม่ดีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะล้มจนกระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักมักจะต้องได้รับการแก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่ ตามด้วยการทำกายภาพบำบัด การรักษาความหนาแน่นของกระดูกตามขั้นตอนและหลีกเลี่ยงการหกล้มจะสามารถช่วยป้องกันกระดูกสะโพกหักได้

อาการกระดูกสะโพกหัก

สัญญาน และอาการของกระดูกสะโพกหัก มีดังนี้

  • เมื่อหกล้มแล้วไม่สามารถลุกขึ้นได้ หรือเดินไม่ได้
  • เจ็บปวดที่สะโพกหรือขาหนีบอย่างรุนแรง
  • ไม่สามารถทิ้งน้ำหนักลงบนขาด้านที่สะโพกบาดเจ็บได้
  • ช้ำและบวมในบริเวณรอบๆ สะโพกของคุณ
  • ขาข้างที่สะโพกบาดเจ็บสั้นลง
  • ขาข้างที่สะโพกบาดเจ็บพลิกออกด้านข้าง
Hip fracture

สาเหตุของกระดูกสะโพกหัก

ตัวอย่างของผลกระทบที่รุนแรง คือ การเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้ในคนทุกวัย ในผู้สูงอายุ กระดูกสะโพกหักมักเกิดจากการล้มหรือการพลัดตกจากที่สูง  สำหรับคนที่มีกระดูกอ่อนแอมากการยืนบิดขาก็สามารถทำให้เกิดกระดูกสะโพกหักได้โดยง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระดูกสะโพกหัก

การเกิดกระดูกสะโพกหักมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดย

  • อายุ ความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อแลมวลกระดูกจะลดน้อยเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ในผู้สูงอายุยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการทรงตัวที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการล้ม

  • เพศ  กระดูกสะโพกหักจะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถุง 3 เท่า ผู้หญิงจะสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกได้เร็วกว่าผู้ชายเนื่องจากการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกในวัยหมดประจำเดือน  อย่างไรก็ตามในเพศชายก็สามารถมีมวลกระดูกบางลงจนทำให้เกิดอันตรายได้

  • โรคกระดุกพรุน Osteoporosis. หากคุณมีกระดูกไม่แข็งแรงเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน จะมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักมากขึ้น

  • ภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังอื่นๆ  ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไปอาจทำให้กระดูกเปราะบาง การทำงานที่ผิดปกติของลำไส้มีผลต่อการดูดซึมวิตามินดี และแคลเซียม นำไปสู่การเกิดโรคกระดูกอ่อน นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อการล้มจนกระดูกสะโพกแตกอาจเกิดจากภาวะทางการแพทย์ที่มีผลต่อสมองและระบบประสาท รวมทั้งภาวะโรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปลายระบบประสาทอักเสบด้วย อีกทั้งการมีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ และความดันโลหิตต่ำ ก็ล้วนมีส่วนทำให้เสี่ยงต่อการล้มได้มากขึ้น

  • ยาบางชนิด  การใช้ยาคอร์ติโซน เช่น เพรดนิโซน (prednisone) อย่างต่อเนื่องสามารถทำให้กระดูกอ่อนแอลงได้ หากคุณรับประทานในระยะยาว ยาบางชนิดหรือการใช้บางชนิดร่วมกันอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะและหกล้มได้ง่ายขึ้น ในขณะที่ยาที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท เช่น ยานอนหลับ ยารักษาโรคจิต และยาระงับประสาทมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหกล้ม

  • ปัญหาด้านโภชนาการ  การได้รับสารอาหารที่ขาดแคลเซียมและวิตามินดี ในวัยเด็กทำให้มีมวลกระดูกน้อยและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหากระดูกหักได้ในภายหลังสิ่งที่สำคัญอีกอยางหนึ่งก็คือในผู้สูงอายุต้องการได้รับแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอเพื่อรักษามวลกระดูกที่มีอยู่  มีอายุมากขึ้นต้องพยายามรักษาน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน เนื่องจากการมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก

  • การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย  ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน เช่น การเดิน อยู่เป็นประจำอาจทำให้กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ซี่งจะเพิ่มโอกาสของการหกล้มและกระดูกหักได้มากขึ้น

  • การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งบุหรี่และแอลกอฮอล์ล้วนรบกวนกระบวนการสร้างและซ่อมแซมกระดูก ทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูก

ภาวะแทรกซ้อน

กระดูกสะโพกหักทำให้ความเป็นอิสระในการเป็นอยู่ลดลงและในบางครั้งก็ทำให้ชีวิตสั้นลงได้ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีกระดูกสะโพกหักไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ

หากไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นเวลานานเนื่องจากกระดูกสะโพกหัก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ดังนี้

  • มีเลือดอุดตันที่ขาหรือปอด

  • เกิดแผลกดทับ

  • การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ

  • ปอดบวม

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มและบาดเจ็บมากขึ้นเนื่องจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

  • เสียชีวิต

การป้องกัน

การเลือกใช้วิถีชีวิตที่ดีและเหมาะสมต่อสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจะช่วยสร้างมวลกระดูกสูงสุดและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในปีถัดไป อาจใช้มาตรการเดียวกันนี้ในทุกช่วงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

เพื่อหลีกเลี่ยงการหกล้มและรักษากระดูกให้แข็งแรง ควรปฏิบัติดังนี้

  • ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปชายและหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และวิตามินดี 600 หน่วยสากลต่อวัน

  • ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกและเสริมสร้างความสมดุลร่างกาย การออกกำลังกายโดยลงน้ำหนักที่ขา เช่น การเดินช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูกสูงสุด นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงโดยรวมซึ่งจะทำให้มีโอกาสล้มน้อยลง การฝึกการทรงตัวถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการลดความเสี่ยงของการหกล้ม เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นการทรงตัวมีแนวโน้มที่จะแย่ลง

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มมากเกินไป การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงได้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มทำให้คุณล้มลง

  • ประเมินความปลอดภัยภายในบ้าน ถอดพรมทิ้ง เก็บสายไฟไว้กับผนัง และเก็บกวาดเฟอร์นิเจอร์ส่วนเกินและสิ่งอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณสะดุด รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกห้องและทางเดินมีแสงสว่างที่เพียงพอ

  • ตรวจวัดสายตา  ตรวจวัดตาทุก ๆ ปีหรือบ่อยกว่านั้นหากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือโรคที่เกี่ยวกับตา

  • สังเกตยาที่คุณใช้ หากรู้สึกอ่อนแอ และวิงเวียนศีรษะ อาจเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยาหลายชนิด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดจากยาที่คุณใช้

  • ลุกขึ้นยืนช้าๆ  การลุกขึ้นอย่างรวดเร็วเกินwalking stickไปอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงและรู้สึกโคลงเคลง

  • ใช้ไม้เท้า ตะพด หรือโครงโลหะช่วยเดิน หากรู้สึกว่าเดินไม่มั่นคง ให้ปรึกษาแพทย์หรือนักกิจกรรมบำบัดว่าควรใช้อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยในการเดินหรือไม่

การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก

บ่อยครั้งที่แพทย์สามารถระบุได้ว่าคุณมีอาการกระดูกสะโพกหักจากการสังเกตอาการ และตำแหน่งที่ผิดปกติของสะโพกและขาของผู้ป่วย การเอ็กซ์เรย์มักจะใช้เพื่อยืนยันว่ามีกระดูกหักและแสดงตำแหน่งของที่กระดูกหัก

หากผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกแต่ผลการเอ็กซ์เรย์ไม่แสดงการแตกหักของกระดูก แพทย์อาจสั่งให้ทำ MRI หรือทำการสแกนกระดูกเพื่อค้นหากระดูกหักล้า (hairline fracture, stress fracture)

กระดูกสะโพกหักส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นใน 1 ใน 2 ของตำแหน่งบนกระดูกยาวที่ยื่นออกมาจากกระดูกเชิงกรานถึงหัวเข่า (โคนขา)

  • คอกระดูกต้นขา เป็นบริเวณส่วนบนของโคนขาใต้ส่วนของ ball part  (หัวกระดูกต้นขา) ของข้อต่อบอลและซ็อกเก็ต

  • กระดูกหักผ่านแนวปุ่มบนกระดูกต้นขา บริเวณนี้จะอยู่ห่างจากข้อต่อสะโพกเล็กน้อย โดยอยู่ในส่วนของโคนขาส่วนบนที่ยื่นออกไปด้านนอก

การรักษากระดูกสะโพกหัก

การรักษากระดูกสะโพกหักมักใช้การศัลยกรรมผ่าตัด การฟื้นฟู และการใช้ยาร่วมกัน

การทำศัลยกรรม

โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของการแตกหัก โดยพิจารณาว่ากระดูกหักได้รับการจัดตำแหน่งอย่างไม่ถูกต้อง(เคลื่อนย้าย)หรือไม่  รวมไปถึงอายุ และุสุขลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยหรือไม่ โดยมีทางเลือก ดังนี้

  • การซ่อมแซมภายในโดยใช้สกรู คือการใส่สกรูโลหะเข้าไปในกระดูกที่หักหายเพื่อยึดกระดูกเข้าด้วยกัน ในบางครั้งทำโดยยึดสกรูยึดเข้ากับแผ่นโลหะที่ยาวลงมาถึงโคนขา

  • การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกทั้งหมด ทำการแทนที่กระดูกโคนขาส่วนบนและในเบ้าของกระดูกเชิงกรานด้วยชิ้นส่วนเทียม (ขาเทียม) จากการการศึกษาเพิ่มเติมชี้ให้เห็นว่าสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีซึ่งดูแลตัวเองได้ การเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งหมดจะให้ประโยชน์ที่คุ้มค่า และให้ผลในระยะยาวที่ดีกว่า

  • การเปลี่ยนสะโพกบางส่วน หากส่วนปลายของกระดูกที่หักอยู่ผิดตำแหน่งหรือได้รับความเสียหาย ศัลยแพทย์ของอาจถอดกระดูกต้นขาและคอของสะโพกที่หักออกแล้วติดตั้งโลหะเข้าไปทดแทน  ซึ่งอาจแนะนำให้เปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วนสำหรับผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

หากการแตกหักของกระดูกมีผลความเสียหายต่อการนำเลือดเลือดไปเลี้ยงส่วนลูกบอลของข้อสะโพก แพทยอาจแนะนำให้เปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วนหรือทั้งหมด  การบาดเจ็บประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุที่มีอาการกระดูกต้นขาหัก ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสที่จะรักษาได้น้อยมาก

การพักฟื้น

มีแนวโน้มที่ผู้ช่วยเหลือคนป่วยจะย้ายผู้ป่วยออกจากเตียง และให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวในวันแรกภายหลังการผ่าตัด การทำกายภาพบำบัดในเบื้องต้นจะเน้นไปที่ ช่วงของการเคลื่อนไหว และเสริมสร้างการออกกำลังกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดและมีผู้ช่วยเหลือที่บ้านหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องออกจากโรงพยาบาลเพื่อไปรับการดูแลเพิ่มเติมที่ยังศูนย์ดูแลผู้ป่วย

การดูแลในระยะยาวและการรักษาที่บ้าน อาจต้องร่วมมือกับนักกิจกรรมบำบัดเพื่อเรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ เช่น การใช้ห้องน้ำ การอาบน้ำ การแต่งตัว และการทำอาหาร ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะพิจารณาว่าผู้ป่วยเหมาะสมต่อความสามารถเคลื่อนไหวด้วยตัวเองโดยใช้วอล์คเกอร์หรือวีลแชร์ และทำกายภาพบำบัดสะโพกหัก

การเตรียมตัวพบแพทย์

คุณอาจถูกส่งตัวไปหาศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

สิ่งที่คาดหวัง

แพทย์อาจต้องการคำตอบ ดังต่อไปนี้

  • คุณเพิ่งล้ม หรือได้รับบาดเจ็บที่สะโพก?

  • ให้คะแนนความเจ็บปวดรุนแรงแค่ไหน?

  • คุณสามารถลงน้ำหนักบนขาข้างที่สะโพกบาดเจ็บได้หรือไม่?

  • เคยได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกหรือไม่?

  • คุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น กำลังกินยาอะไรอยู่ กินวิตามินและอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่?

  • คุณสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่?

  • ประวัติการรักษาด้วยการผ่าตัด ? ปัญหาที่ทำให้ต้องรับการผ่าตัด?

  • ประวัติของการมีกระดูกหักหรือโรคกระดูกพรุนของพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องทางเลือดเลือด?

  • คุณอยู่คนเดียวไหม (ช่วยเหลือตัวเองได้ไหม)?

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *