น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.02
1793
0

โดยปกติระดับน้ำตาลในร่างกาย หรือที่เรียกว่ากลูโคส จะเป็นแหล่งให้พลังงานแก่เซลล์และอวัยวะต่างๆ การมีระดับน้ำตามที่มากเกินไปเป็นที่รู้จักว่าเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

ตับและกล้ามเนื้อสามารถผลิตน้ำตาลเองได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ร่างกายได้รับน้ำตาลมาจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates)

ในทางเดียวกัน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ร่างกายจำเป็นต้องมีอินซุลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยจับน้ำตาลในกระแสเลือดไปสู่เซลล์ต่างๆและนำไปเก็บเมื่อไม่ได้ใช้งาน

หากร่างกายมีปริมาณอิซูลินไม่เพียงพอ หรืออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

Hyperglycemia

อาการน้ำตาลในเลือดสูง

น้ำตาลในเลือด เป็นแหล่งพลังงานให้กับอวัยวะในร่างกาย และก่อให้เกิดการทำงานขึ้น

แต่การมีระดับน้ำตาลที่สูงจะไม่ช่วยให้เกิดการสร้างพลังงาน

ในทางตรงกันข้าม น้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ให้เกิดเป็นพลังงานได้

เมื่อบุคคลมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการ ดังนี้

  • ปวดศีรษะ และปวดเมื้อยตามร่างกาย

  • ไม่มีสมาธิ

  • หิวน้ำ หรือหิวข้าวมาก

  • รู้สึกเหนื่อย หรือง่วงนอน

  • การมองเห็นไม่ชัดเจน

  • ท้องอืด

  • ปัสสาวะบ่อย

  • เมื่อเป็นแผล แผลจะหายช้า

น้ำตาลในเลือดสูงและอินซูลินต่ำ สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นสารที่เป็นกรดตัวหนึ่ง ได้จากกระบวนการเผาผลานไขมัน และเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (diabetic ketoacidosis : DKA)ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ซึ่งหากเกิดขึ้นจะมีอาการขึ้นกับแต่ละบุคคล ดังนี้

  • หายใจถี่

  • รู้สึกหวานภายในปาก หรือได้กลิ่นหวานในทางเดินหายใจ

  • สับสบ และไม่รับรู้วันเวลาสถานที่

  • อาเจียน

  • ขาดน้ำ

  • หมดสติ

ซึ่งการจะมีอาการดังกล่าว จะต้องมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 250 ml/dL

ผู้ป่วยเบาหวานจะเคยสัมผัสประสบการณ์น้ำตาลในเลือดสูงในตอนเช้า

การมีชุดตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และชุดตรวจระดับคีโตน ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าออนไลน์ เพื่อเอาไว้ตรวจที่บ้านได้

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถนำไปสู่อาการต่างๆมากมาย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อยและหิวน้ำ : เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ไตและกระเพาะปัสสาวะต้องการปริมาณน้ำเพื่อมาเจือจางความเข้นขนของน้ำตาลลง จึงมีน้ำมากขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยและหิวน้ำ อย่างไรก็ตามควนดื่มน้ำให้เพียงพอ

  • น้ำหนักลด : น้ำตาลในเลือดสูงเป็นภาวะที่ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว หรือลดลงอย่างไม่ได้ตั้งใจ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงหันไปเผาผลานพลังงานจากกล้ามเนื้อ(โปรตีน) และไขมันแทน

  • การชา : ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชา หรือแสบร้อน บริเวณปลายมือปลายเท้า เกี่ยวเนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่มักเกิดขึ้นหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายปี

ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกายและระบบต่างๆอยู่ตลอดเวลา การที่หลอดเลือดถูกทำลายจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

  • หัวใจวาย (Heart attack) หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • ทำลายดวงตา ทำให้สูญเสียการมองเห็น

  • โรคไต หรือไตวาย

  • มีปัญหาในระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า รับความรู้สึกลดลง นำไปสู่การเกิดการบาดเจ็บเป็นแผลได้

สาเหตุของน้ำตาลในเลือดสูง

โรคเบาหวานมีหลายชนิด ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

  • เบาหวานชนิดที่ 1 : เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านเซลล์ที่ผลิตอินซูลินภายในตับอ่อน ทำให้ร่างกายไม่มีอินซูลินในการจัดการกับระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น

โดยผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับการฉีดอินซูลิน ซึ่งมีทั้งการฉีดด้วยเข็ม เข็มชนิดปากกา หรือทางเครื่องให้ยา เพื่อคงไว้ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

  • เบาหวานชนิดที่ 2 : ร่างกายผลิตอินซูลินได้ตามปกติ แต่ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้งานได้อย่างเพียงพอเพื่อทำให้ระดับน้ำตาลคงที่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะดื้อของอินซูลิน (Insulin resistance)

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจต้องได้รับอินซูลินในรูปของยาเม็ด, จำกัดอาหาร หรืออกกำลังกาย เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด

  • เบาหวานจากการตั้งครรภ์ : ระหว่างการตั้งครรภ์สามารถเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ บุคคลควรหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์ โดยเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ได้ ซึ่งหากคลอดลูกแล้วเบาหวานก็จะหายไป

  • ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) : มีความเกี่ยวพันกับการทำงานของตับอ่อนในการผลิตอินซูลิน

  • ยา : ผู้ที่รับประทานยากลุ่มเบต้าบล๊อค (Beta blockers) และสเตียรอย (Steroids) อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง

บางครั้งแพทย์อาจไม่สามารถฟันธงถึงสาเหตุของโรคเบาหวานได้ชัดเจน แต่จะมีบางปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นักวิจัยเชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอาจทำให้ผู้คนป่วยเป๋นเบาหวานชนิดที่ 1 ได้

โดย The National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases(NIDDK) กล่าวว่า การได้รับพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค คล้ายกับการติดเชื้อไวรัส

ทาง The Juvenile Diabetes Research Foundation กล่าวว่าบุคคลไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ การออกกำลังกาย, การรับประทานอาหาร หรือการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตก็ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้

ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก หรือก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • พันธุกรรม

  • น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือไม่ออกกำลังกาย

  • มีพ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

  • เป็นคนเชื้อชาติ แอฟริกา-อเมริกา, อลาสก้า, อินเดียแดง, เอเชีย-อเมริกา, ฮิสแปนิก หรือชาวแปซิฟิค

  • อายุ 45 ปี ขึ้นไป

  • ได้รับการรักษาเพื่อลดความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตที่ 140/90 mmHg หรือสูงกว่า

  • มีระดับไขมันดี HDL ต่ำ หรือมีระดับไตรกรีเซอไรด์ (Triglycerides) สูง

ระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี

คนที่มีระดับน้ำตาลสูงควรได้รับการวางแผนร่วมกับแพทย์ถึงเป้าหมายของระดับน้ำตาล

ซึ่งควรได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาล โดยผู้ป่วยแต่ละรายมีช่วงของระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีแตกต่างกันไป

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในควร ก่อนตรวจจำเป็นต้องงดอาหารไม่ต่ำกว่า 8ชม., 2 ชม.หลังอาหาร หรือทั้งสองเวลา

ในบางรายอาจต้องทำการกลืนน้ำตาล เพื่อทดสอบการทนต่อน้ำตาล

การจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานหลายท่านอาจตรวจวัดระดับน้ำตาลทุกวันจากเครื่องตรวจน้ำตาลแบบพกพา ซึ่งเครื่องตรวจน้ำตาลดังกล่าวสามารถตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพียงหยดเลือดหนึ่งหยดจากปลายนิ้ว หน้าจอเครื่องจะแสดงผลค่าระดับน้ำตาลออกมาภายในเวลาไม่กี่วินาที

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หรือผู้ที่เป็ยเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และออกกำลังกาย หรืออาจจำเป็นต้องรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินร่วมด้วย

การป้องกันโรคน้ำตาลในเลือดสูง

  • หมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตามคำแะนำของแพทย์ และได้รับอินซูลินอย่างถูกต้องถ้าหากเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

  • พูดคุยและร่วมวางแผนกับผู้ดูแล เพื่อจัดเตรียมอาหารได้อย่างเหมาะสม

  • เลี่ยงโอกาสจากการติดเชื้อ เช่น ล้างมือบ่อยๆ, การเจ็บป่วย หรือเป็นหวัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงได้

  • วางแผนการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร เพื่อความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด

  • เครียดให้น้อยที่สุด, หมั่นออกกำลังกาย, พักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น โยคะ หรือนั่งสมาธิ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

คนที่เคยมีอาการเหนื่อยล้า กระหายน้ำมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยครั้ง หรือน้ำหนักตัวลดลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพต่อไป

หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ซึ่งในการตรวจจะมีการตรวจวัดระดับน้ำตาล เพราะบางรายอาจไม่แสดงอาการ

ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจก่อนกำหนด หรือตรวจให้ถี่ขึ้น

แนวโน้มระยะยาว

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพของบุคคลจะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

เพื่อคงสภาพหรือเพิ่มคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยเบาหวาน ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจน้ำตาลในเลือด

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง

  • ควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามแนวทางที่กำหนด

ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมไปถึงชะลอการดำเนินของโรคได้

ผู้ป่วยจึงต้องพกเลขประจำตัวโรงพยาบาล รวมไปถึงหากมีการใช้อินซูลิน ควรมีเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดตัวไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *