โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.08
3007
0

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)เกิดจากอาการความดันที่ขึ้นสูง ซึ่งสามารถเป็นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อสุขภาพและอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดสมองจนถึงแก่ชีวิตได้  

ความดันโลหิตเป็นค่าความดันของโลหิตที่เกิดขึ้นในผนังหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจนั้นบีบตัว ซึ่งความดันโลหิตนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความดันในหลอดเลือดแดงและการทำงานของหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้มีความเสี่ยงในโรคหัวใจ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย โรคหัวใจล้มเหลว และโรคผนังหลอดเลือดแดงโป่งพองได้ ซึ่งการรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวข้างต้นได้

การจัดการและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวันนั้นเป็นเรื่องที่ปกติที่เป็นวิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น ที่ผู้ป่วยสามารถปฎิบัติตามได้ดังคำแนะนำต่อไปนี้:

การออกกำลังกายเป็นประจำ

เป็นแนวทางในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระดับปานกลางอย่างน้อยเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคในระดับสูงอย่างน้อยเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์

คนทั่วไปควรออกกำลังกายเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ

การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นได้แก่ การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือการว่ายน้ำ

การกำจัดความเครียด

การที่มีความดันสูงเกิดจากความเครียดที่เจอมาในชีวิตประจำวัน การลดความเครียดสามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้

เทคนิคการจัดการกับความเครียดนั้นมีหลายวิธี เช่นการทำสมาธิ อาบน้ำอุ่น เล่นโยคะ หรือการเดินท่องเที่ยว ก็สามารถช่วยคลายความเครียดลงได้

คุณควรจะหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยาสูบ และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อที่คุณจะสามารถรับมือกับความเครียดได้อย่างเต็มที่ เพราะการทำสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ความดันขึ้นจนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

การสุบบุหรี่สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ วิธีการที่จะทำให้ความดันลดลง คือ การหยุดสูบบุหรี่อย่างถาวร ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจที่มีอาการรุนแรงและปัญหาปัญหาสุขภาพด้านอื่นด้วย

การใช้ยา

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถใช้ยาลดความดันได้ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาลดความดันปริมาณน้อยก่อนในครั้งแรก ยาลดความดันนั้นมักมีผลข้างเคียงที่เล็กน้อยในการใช้ยา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะใช้ยาสองชนิดหรือมากกว่านั้นในการใช้ร่วมกับยาลดความดัน เพื่อทำให้การรักษาความดันโลหิตสูงนั้นอยู่ในระดับที่ปกติ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมีตัวยาที่ช่วยลดความดันโลหิตต่อไปนี้:

  • ยาขับปัสสาวะ รวมถึงยาขับปัสสาวะกลุ่มยาไธอะไซด์ ยาโคลทาลิโนและยาอินดาพามีน
  • กลุ่มยาเบต้าบล็อกเกอร์และกลุ่มยาอัลฟาบล็อกเกอร์
  • ยาต้านแคลเซียมซึ่งควบคุมความดันโลหิตสูง
  • ยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทกลาง
  • ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทภายในสมองเพื่อไม่ให้มีคลื่นประสาท ใช้ในกรณีที่ใช้ยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล
  • ยาขยายหลอดเลือด
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่มยาที่ยับยั้งสาร ACE มักใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเบื้องต้น 
  • ยาลดความดันกลุ่มยาที่ปิดกั้นสาร angiotensin ซึ่งช่วยลดความดันและลดอาการเหนื่อยจากโรคหัวใจวาย

วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาที่ใช้ลดความดันแต่ละชนิดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอาการความดันขั้นพื้นฐานมีอาการที่รุนแรงแค่ไหน และอาการที่พบได้ในแต่ละบุคคล

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ต้องใช้ยาลดความดัน ควรอ่านฉลากยา ในกรณีที่ซื้อยามารับประทานเองจากร้านขายยา เช่นยาหดหลอดเลือด ซึ่งยาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบที่ขัดแย้งกับยาที่ใช้ลดความดัน ทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

Share on Pinterest

ตอนนี้ยังไม่มีการทราบสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่แน่ชัด โรคความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิหรือความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

ส่วนโรคความดันโลหิตสูงอีกประเภท แพทย์จะเรียกอาการความดันโลหิตสูงขึ้นในขณะที่มีอาการของโรคอื่นที่ทำให้ความดันขึ้นร่วมอยู่ด้วยว่า โรคความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิหรือความดันโลหิตสูงแบบมีสาเหตุ

โรคความดันโลหิตสูงแบบไม่มีสาเหตุนั้นอาจมีสาเหตุที่หลากหลายได้ รวมถึง:

  • ปริมาณพลาสม่าในเลือดที่สูงขึ้น
  • การทำงานของฮอร์โมนที่จัดการปริมาณเลือดและระดับความดันโลหิตจากการใช้ยาบางชนิด
  • สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เช่น ความเครียดหรือการขาดการออกกำลังกาย

ส่วนโรคความดันโลหิตสูงแบบมีสาเหตุนั้น มีสาเหตุที่เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุมาจากโรคอื่น และเป็นภาวะแทรกซ้อนสำหรับโรคอื่นได้ด้วย

  • โรคไตเรื้อรัง (CKD) มักเป็นสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากว่าไตนั้นไม่สามารถทำหน้าที่กลั่นกรองของเหลวได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ความดันขึ้นได้

อาการของโรคอื่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบมีสาเหตุได้ รวมถึงโรคต่อไปนี้:

  • โรคเบาหวาน เนื่องจากปัญหาและเส้นประสาทได้ได้รับความเสียหาย
  • เนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตม่า ซึ่งโรคมะเร็งต่อมหมวกไตที่หายาก
  • อาการคุชชิ่งที่มาจาการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไป
  • โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางยีนส์ด้อยชนิดCAH ซึ่งเกิดจากการขาดเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนคอร์ติซอลในต่อมหมวกไต
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ
  • ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง ซึ่งส่งผลต่อระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีระดับที่ลดลง
  • การตั้งครรภ์ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้
  • อาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • โรคอ้วน

อาการโรคความดันโลหิตสูง

ความดันสูงเกิดจากการที่ความดันในโลหิตฉีดเข้าสู่เส้นเลือดที่มากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีการแสดงอาการและเป็นภัยเงียบ ซึ่งอาการความดันโลหิตสูงนั้นสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายจนเป็นโรคภัยต่างๆได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดและโรคไตได้

ซึ่งควรได้รับการตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อรักษาความดันให้อยู่ในระดับปกติ

อาการความดันโลหิตสูงที่รุนแรงแต่พบได้น้อยนั้น ก็คือ ความดันสูงที่ทำให้มีเหงื่อออกมากเกินไป เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ และหน้าแดง หากมีความดันโลหิตสูงจนกลายเป็นอาการที่ถึงขั้นรุนแรงนั้น อาจมีอาการปวดหัวและมีเลือดกำเดาไหลออกมาได้

สถิติผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 ซึ่งพบว่า จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นในไทยจากความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ในปี 2552 เป็น 13 ล้านคนในปี 2557 และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งจำนวนผู้ป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้านคนในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี 2561 จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วย จาก 5,186 คนในปี 2556 เป็น 8,525 คน ในปี 2560 และในปี 2557 มีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปีต่อจำนวนผู้ป่วยประมาณการ 10 ล้านคน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *