อาหารไม่ย่อย (Indigestion) : อาการ สาเหตุ การรักษา

อาหารไม่ย่อย (Indigestion) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.10
3057
0

อาการอาหารไม่ย่อย (Indigestion) หรือ อาการท้องอืดเเน่นเฟ้อเป็นคำจำกัดความของอาการเจ็บปวดในช่องท้องหรือความไม่สบายท้องด้านบนซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดโรคร้ายเเรงใดๆ

อาการอาหารไม่ย่อย (Indigestion) คือกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นได้แก่ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียดท้อง มีอาการคลื่นไส้และมีอาการเรอ

อาการอาหารไม่ย่อยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการทานอาหารเเละการดื่มนอกจากนี้อาการอาหารไม่ย่อยนี้ยังเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือการใช้ยาบางประเภท การติดเชื้ออาจจะส่งผลให้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย

Indigestion

อาการอาหารไม่ย่อยหมายถึงอะไร 

ภาวะอาหารไม่ย่อยมักมีอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม

ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีอาการอาหารไม่ย่อยมักรู้สึกเจ็บปวดและไม่สบายที่ท้องหรือหน้าอก โดยปกติอาการนี้เกิดขึ้นหลังจากได้ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ผิดปกติจึงทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอิ่มหรือรู้สึกไม่สบายท้องระหว่างที่ทานอาหารแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ทานอาหารในปริมาณที่เยอะมาก 

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อย

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยขึ้นอยู่กับสาเหตุเเละความรุนเเรงของอาการที่เกิดขึ้น

ถ้าหากมีอาหารปวดท้องไม่มากหรือไม่บ่อย การเปลี่ยนแปลงวิธีใช้ชีวิตสามารถช่วยทำให้อาการอาหารไม่ย่อยดีขึ้น โดยปกติอาการอาหารไม่ย่อยมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ทานอาหารจำพวกไขมัน อาหารรสเผ็ด คาเฟอีนและช็อกโกแลต การนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงทุกคืนสามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยได้

การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำและการเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตที่ช่วยรักษาภาวะอาหารไม่ย่อยได้ 

การใช้ยารักษา

ในกรณีที่เกิดอาการอาหารไม่ย่อยรุนเเรง แพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อรักษาคนไข้ซึ่งได้แก่ยาดังต่อไปนี้ 

ยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารเช่น ยา Alka-Seltzer ยา Maalox ยา Rolaids ยา Riopan และยา Mylanta ซึ่งยาเหล่านี้สามารถหายซื้อได้ที่ร้านขายยาเพราะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อยได้ 

ยาต้านตัวรับ H2 เป็นยาที่ช่วยลดระดับของกรดที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารและมีการออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่ายาลดกรดในกระเพาะอาหารแต่อย่างไรก็ตามยาลดกรดสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า ตัวอย่างยาต้านตัวรับ H2 ได้แก่ยาTagamet ยา Pepcid และยา Axid ซึ่งยาบางชนิดสามารถหาซื้อได้เองและยาบางชนิดต้องได้รับการสั่งยาจากแพทย์

บางคนอาจเคยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการท้องผูก ท้องเสียและมีอาการปวดหัวหลังจากทานยาเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดแผลฟกช้ำเเละมีเลือดออก

ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (PPIs) ได้แก่ยา Aciphex ยา Nexium ยา Prevacid ยา Prilosec ยา Protonix และยา Zegerid ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (PPIs) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร มากที่สุด โดยยาประเภทนี้จะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารและออกฤทธิ์ได้รุนเเรงกว่ายาต้านตัวรับ H2

ผู้ป่วยควรปรึกษาเเพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้

ยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารเป็นยาที่ช่วยทำให้เกิดอาการภาวะท้องว่างได้ช้าลง ตัวอย่างยาที่ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารใช้ได้แก่ยา Reglan ซึ่งยาตัวนี้มีผลข้างเคียงคืออาการอ่อนล้า อาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวลและกล้ามเนื้อเป็นตะคริว

การใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าหากภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดจากเชื้อ H. pylori  ซึ่งทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารจึงทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยดังนั้นต่อใช้ยาปฏิชีวนะรักษา ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานี้ได้แก่อาการไม่สบายท้อง ท้องเสียและเกิดการติดเชื้อราขึ้นได้ 

ยาต้านโรคซึมเศร้ายาประเภทนี้ใช้เมื่อแพทย์วินิจฉัยพบว่าสาเหตุของอาการซึมเศร้าทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยและอาการท้องอืดไม่ตอบสนองกับการรักษาด้วยการใช้ยาประเภทอื่นๆ เเพทย์อาจจะให้ยาต้านโรคซึมเศร้าชนิดอ่อนให้กับผู้ป่วย 

บางครั้งยาต้านโรคซึมเศร้าสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายท้องหรืออาการปวดท้องได้ โดยยาชนิดมีมีผลข้างเคียงคือทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว มีอาการท้องไส้ปั่นป่วนเเละท้องผูกรวมถึงอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน 

การรักษาบำบัดทางจิตใจสำหรับผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย การรักษาบำบัดทางจิตใจสามารถช่วยจัดการกับปัญหาอาหารไม่ย่อยได้ นอกจากนี้แพทย์แนะนำทางเลือกในการรักษาได้แก่ การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม การฝึกการขับถ่ายเพื่อเเก้ไขปัญหาท้องผูก การสะกดจิตและการพักผ่อน     

นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเเละการใช้ยา ถ้าหากพบว่าพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยตัวอย่างเช่นการใช้ยาแอสไพรินหรือไอบลูโพรเฟน โดยแพทย์จะเเนะนำให้หยุดใช้ยาเหล่านี้

คุณสามารถเปลี่ยนยาที่ใช้รักษาโรคได้เมื่ออยู่ภายใต้การดูเเลของเเพทย์เท่านั้น

อาการของภาวะอาหารไม่ย่อย

ภาวะอาหารไม่ย่อยไม่ใช้โรคแต่เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับระบบย่อยอาหาร

โดยอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับภาวะอาหารไม่ย่อยได้แก่

  • อาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการเรอ
  • ปวดท้อง
  • รู้สึกอิ่มท้องตลอดเวลา
  • มีอาการท้องอืด

เป็นส่วนน้อยที่ภาวะอาหารไม่ย่อยทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการภาวะอาหารไม่ย่อยปานกลางแบบไม่รุนเเรงไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือทำให้เกิดโรคอื่นๆ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หากมีอาการอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นนานมากกว่า 2 อาทิตย์

ภาวะอาหารไม่ย่อยที่รุนเเรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • ควรไม่อยากอาหารหรือน้ำหนักลดลง 
  • มีอาการอาเจียน
  • การกลืนลำบาก
  • ขับถ่ายเป็นเลือด
  • มีภาวะตาและผิวเหลือง
  • เกิดอาการเจ็บที่หน้าอกเมื่อออกำลังกาย
  • หายใจสั้น
  • มีเหงื่อออก
  • มีอาการเจ็บหน้าอกที่ลามไปถึงขากรรไกร แขนหรือคอ

อาการจุกเสียดแน่นอกและภาวะอาหารไม่ย่อยมักเป็นอาหารที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่เป็นลักษณะอาการที่มีสาเหตุเกิดขึ้นต่างกัน โดยอาการจุกเสียดแน่นอกเกิดจากภาวะกรดไหลย้อนจึงทำให้รู้สึกแสบร้อนที่ทรวงอกโดยปกติมักเกิดขึ้นหลังจากการทานอาหาร 

สาเหตุของอาหารไม่ย่อย

โดยปกติภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดจากวิธีการใช้ชีวิตของแต่ละคนอย่างเช่นอาหารที่พกเขารับประทาน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทานเดินอาหารอีกด้วย 

โดยปกติภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของกรดในกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับเมือกของกระเพาะอาหาร เมื่อกรดในกระเพาะอาหารทำลายเมือกในกระเพาะอาหารจึงทำให้เกิดอาการระคายเคืองและการติดเชื้อรวมถึงภาวะที่กระตุ้นทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อย

โดยปกติสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยได้แก่

  • การทานอาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไป
  • การทานอาหารที่มีน้ำมันเเละอาหารรสเผ็ด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอลและคาเฟอีนมากเกินไป
  • การทานช็อกโกแลตเเละโซดามากเกินไป
  • ความผิดปกติทางสภาวะอารมณ์
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • กระเพาะอาหารอักเสบหรือเกิดการติดเชื้อภายในกระเพาะอาหาร
  • ไส้เลื่อนที่กระบังลม
  • การติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า Helicobacter pylori (H. pylori)
  • ภาวะวิตกกังวล
  • โรคอ้วน
  • โรคตับอ่อนอักเสบหรือภาวะติดเชื้อในตับอ่อน
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้บางประเภทเช่นยาปฏิชีวนะและยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรรอยด์ (NSAIDs)
  • โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร

หากเเพทย์ไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยอาจจะเป็นเพราะว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคกระเพาะอาหารแปรปรวนซึ่งภาวะอาหารไม่ย่อยประเภทนี้เกิดขึ้นเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญหรือไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามโรคกระเพาะอาหารแปรปรวนอาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารที่ป้องกันตัวเองโดยไม่สามารถรองรับอาการที่เข้าไปในกระเพาะอาหารได้ตามปกติได้ 

 บทสรุปเกี่ยวกับอาการอาหารไม่ย่อย

  • อาการท้องอืดเเน่นท้องมีอาการเดียวกับอาการอาหารไม่ย่อยและไม่ใช่โรคโดยคำจำกัดความของกลุ่มอาการนี้หมายถึงความรู้สึกไม่สบายในท้อง
  • อาการอาหารไม่ย่อยเกิดจากการทานอาหารที่มีน้ำมันหรือเผ็ดมากเกินไปและมีอาการไส้เลื่อนที่กระบังลมสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย 
  • การใช้กล้องส่องเข้าไปในท้องสามารถทำให้ทราบสาเหตุของการเกิดปัญหานี้ได้ 
  • การเลือกทานอาหารและการใช้ยารักษาสามารถใช้จัดการกับอาการอาหารไม่ย่อยได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *