มีลูกยาก (Intertility) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มีลูกยาก (Intertility) : อาการ สาเหตุ การรักษา

28.01
527
0

ภาวะมีบุตรยาก Intertility อาจเกิดจาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้หรือฝ่ายหญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้จนครบกำหนดคลอด

โดยทั่วไปจะตัดสินจากการไม่ตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ตามปกติสม่ำเสมอ และไม่คุมกำเนิดเป็นเวลา12เดือน

Intertility

สาเหตุที่มีลูกยากในเพศชาย

ปัญหาจากตัวและน้ำอสุจิ.

น้ำอสุจิคือของเหลวขุ่นสีเหมือนน้ำนม ที่หลั่งออกมาจากอวัยวะเพศชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด ในนำ้อสุจิมีของเหลวและตัวอสุจิ ของเหลวนี้ผลิตจากต่อมลูกหมาก ท่ออสุจิและต่อมเพศอื่นๆ ตัวอสุจิสร้างจากลูกอัณฑะ

เมื่อชายหลั่งน้ำอสุจิออกมา ส่วนที่เป็นของเหลวจะช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ไปที่เซลล์ไข่ได้

ปัญหาที่พบคือ

  • จำนวนตัวอสุจิน้อย ในการหลั่งอสุจิหนึ่งครั้ง หากจำนวนอสุจิน้อยกว่า 15ล้านตัว ถือว่าน้อย (ปกติจะมี 300-500ล้านตัว-ผู้แปล) หนึ่งในสามของผู้ที่เป็นหมัน เกิดจากสาเหตุนี้

  • อสุจิว่ายช้า

  • ตัวอสุจิรูปร่างผิดปกติ ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก จึงไปไม่ถึงเซลล์ไข่ตัวอสุจิต้องว่ายให้เร็วและตรงไปให้ถึงเซลล์ไข่ จึงจะเกิดการปฏิสนธิได้ ในเพศชายราว 2% มีความผิดปกติที่ตัวอสุจิ

สาเหตุที่มีลูกยากในเพศหญิง

ปัญหาสุขภาพ เช่น

การตกไข่ผิดปกติ

การตกไข่คือการที่เซลล์ไข่หลุดออกมาจากรังไข่เดือนละครั้ง (เพื่อเตรียมผสมพันธุ์) แต่บางคนอาจไม่มีไข่ตกหรือไข่ตกเป็นบางรอบเดือน ซึ่งอาจเกิดจาก

  • รังไข่เลิกผลิตไข่ก่อนเวลา คือรังไข่เลิกผลิตไข่ก่อนอายุ 40 ปี

  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่ รบกวนการทำงานของรังไข่ และอาจไม่มีการตกไข่

  • ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินสูง จะทำไม่มีไข่ตก(ปกติฮอร์โมนนี้จะผลิตออกมาเมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร-ผู้แปล)

  • เซลล์ไข่คุณภาพไม่ดี เซลล์ไข่ที่เสียหายหรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรม จะไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ผู้หญิงยิ่งอายุมาก ยิ่งมีความเสี่ยงมาก

  • ปัญหาของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากไปหรือน้อยไป ทำให้ ฮอร์โมนผิดปกติ ส่งผลต่อการตกไข่

  • ปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรังเช่น มะเร็ง หรือเอดส์

มดลูกหรือท่อนำไข่ผิดปกติ

ทำให้ไข่จากรังไข่มาที่มดลูกไม่ได้(ปกติการปฏิสนธิ จะเกิดที่ท่อนำไข่ และไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเคลื่อนมาที่มดลูก ฝังตัวในโพรงมดลูก และเติบโตเป็นทารก-ผู้แปล) ถ้าไข่มาไม่ถึงมดลูก ก็ยากที่จะตั้งครรภ์ได้ตามปกติ สาเหตุเช่น

  • เคยผ่าตัดในช่องเชิงกราน อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือความเสียหายที่ท่อนำไข่(ท่อนำไข่คือทางเชื่อมระหว่างรังไข่ที่เซลล์ไข่หลุดออกมา กับมดลูก ซึ่งเป็นทางที่เซลล์ไข่จะเคลื่อนที่ผ่านไป-ผู้แปล)

  • มีเนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก อาจปิดท่อนำไข่หรือรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน หรือเนื้องอกก้อนใหญ่ทำให้ช่องในมดลูกใหญ่ขึ้น ตัวอสุจิต้องว่ายไกลหรือลำบากมากขึ้น กว่าจะได้พบกับเซลล์ไข่

  • ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

  • เคยทำหมันโดยการผูกท่อรังไข่มาก่อนแล้ว แม้จะแก้หมันโดยการต่อใหม่ แต่โอกาสที่จะมีการปฏิสนธิก็ยากขึ้น

การรักษาโรคและยาที่ส่งผลกระทบในผู้หญิง

  • ยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์  การใช้แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟนนานๆ อาจทำให้ตั้งครรภ์ยาก

  • การได้รับยาฆ่ามะเร็ง ยาบางตัวมีผลให้รังไข่ล้มเหลว(ไม่ผลิตไข่) บางครั้งเกิดถาวร

  • การฉายแสง (ฆ่ามะเร็ง) หากได้รับรังสีรักษาใกล้บริเวณรังไข่ มดลูก เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหมัน

  • ยาเสพติด หญิงที่ใช้กัญชาหรือโคเคน อาจมีปัญหาท้องยากได้เช่นกัน

  • ระดับโคเลสเตอรอล มีผลการวิจัยพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจมีส่วนให้ผู้หญิงเป็นหมัน

การรักษาการมีบุตรยาก

การรักษาในฝ่ายหญิง

การรักษาขี้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมทั้งอายุของฝ่ายหญิง ระยะเวลาที่เป็นหมัน ประวัติส่วนตัว และภาวะสุขภาพของผู้นั้น

การรักษาโดยทั่วไปคือ เพิ่มความถี่ของการร่วมเพศ แนะนำให้มีการร่วมเพศถี่ขึ้นในช่วงที่มีการตกไข่ ตัวอสุจิมีชีวิตรอดในร่างกายผู้หญิงได้ถึง 5 วัน เซลล์ไข่มีอายุ 1 วัน หลังจากไข่ตก ในทางทฤษฎีแล้ว มีเวลา 6 วันในหนึ่งรอบเดือนที่จะมีการปฏิสนธิได้

อาจให้ยาเพื่อกระตุ้นการตกไข่ เช่น

  • Clomifene (Clomid, Serophene): กระตุ้นการตกไข่โดยการเพิ่มฮอร์โมนที่กระตุ้นการตกไข่

  • Metformin (Glucophage): หากยาชนิดแรกไม่ได้ผล อาจใช้ยานี้ โดยเฉพาะในหญิงที่มีปัญหาต่อต้านอินซูลิน.

  • Human menopausal gonadotropin, or hMG (Repronex): ซึ่งมีฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ ใช้ฉีดเข้าร่างกาย

  • Follicle-stimulating hormone (Gonal-F, Bravelle): ช่วยให้ไข่สุกเร็วขึ้น.

  • Human chorionic gonadotropin (Ovidrel, Pregnyl): ใช้ร่วมกับ clomiphene, hMG, and FSH, ช่วยกระตุ้นให้ไข่สุก.  Gonadotropin-releasing hormone (Gn-RH) analogs:ทำให้การสุกและการตกของไข่เป็นไปอย่างเหมาะสม

  • Bromocriptine (Parlodel): สำหรับผู้ที่มีฮอร์โมน Prolactin มากเกินไป ซึ่งจะทำให้รบกวนการสุกและการตกไข่

การรักษาในฝ่ายชายขึ้นกับว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใด เช่น

  • ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือหลั่งเร็ว อาจใช้ยา หรือการปรับพฤติกรรมหรือทั้งสองอย่าง.

  • เส้นเลือดขอดบริเวณอัณฑะ ผ่าตัดออกได้.

  • ท่อทางเดินของอสุจิปิดกั้น แก้ไขโดยการนำอสุจิออกจากอัณฑะและฉีดเข้าผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการ(ผสมเทียม)

  • ภาวะอสุจิหลั่งย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แทนที่จะหลั่งออกมาทางปลายองคชาติ

  •  ท่อเก็บตัวอสุจิตัน แก้ไขด้วยการผ่าตัด (ท่อเก็บตัวอสุจิเป็นท่อขดไปมาอยู่ในอัณฑะ ซึ่งมีไว้เก็บและส่งผ่านตัวอสุจิ)

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *