ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intrauterine Growth Restriction) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intrauterine Growth Restriction) : อาการ สาเหตุ การรักษา

15.03
3311
0

ภาวะในครรภ์เจริญเติบโตช้า (Intrauterine Growth Restriction) คือภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในประเทศกำลังพัฒนา และเพิ่มอัตราเสี่ยงของการป่วยและตายของทารกก่อนคลอดจนถึงหลังคลอดหนึ่งสัปดาห์ ภาวะนี้หมายถึงทารกในครรภ์น้ำหนักน้อยหรือพัฒนาการช้ากว่าทารกปกติ เมื่อเทียบกับอายุครรภ์และเพศ อายุครรภ์คืออายุของทารกนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของมารดา

ในทารกที่โตช้าในครรภ์ น้ำหนักของทารกจะต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่10 ของน้ำหนักปกติตามอายุครรภ์ โดยการประเมินด้วยอัลตราซาวด์ หากเด็กคลอดครบกำหนดมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500กรัม ถือว่ามีภาวะโตช้าในครรภ์ ภาวะนี้แบ่งเป็นสองแบบคือ

  • แบบปฐมภูมิคืออวัยวะภายในมีขนาดเล็กกว่าปกติ พบได้20-30%ของทารกที่โตช้าในครรภ์

  • แบบทุติยภูมิ คือศีรษะและสมองขนาดปกติ แต่ท้องเล็ก ซึ่งจะเกิดมากในไตรมาสที่สาม แบบนี้พบบ่อยกว่า ราว70-80 % ของทั้งหมด

การที่ทารกในครรภ์โตช้า ทำให้เพิ่มอัตราการเกิดภาวะทารกเครียดก่อนและขณะคลอด(คือการที่ทารกอยู่ในภาวะคับขัน) ซึ่งต้องผ่าตัดคลอด ทารกเหล่านี้มักมีปัญหาหลายอย่างเช่น ขาดอากาศหายใจระหว่างการคลอด อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ นำ้ตาลในเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงมากเกินไป ตัวเหลือง ดูดนมยาก รับอาการผ่านทางเดินอาหารได้น้อย ลำไส้อักเสบและเน่า ติดเชื้อในกระแสเลือดหลังอายุสามวัน และเลือดออกในปอด

เมื่อเด็กกลุ่มนี้เติบโตขึ้น จะพบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว รวมทั้งมีการเจริญเติบโตล่าช้า และพัฒนาการของประสาทเสียไป และทารกมักมีอาการของโรคที่เกิดกับผู้ใหญ่ เนื่องจากยีนผิดปกติ

หากวินิจฉัยได้ทันเวลา (โดยการประเมินการเติบโตของทารกเมื่อมารดามาฝากครรภ์) และจัดการกับภาวะนี้ได้ จะช่วยลดอัตราการป่วยและตายก่อนคลอดของทารกได้

Intrauterine Growth Restriction

อาการของภาวะทารกใรครรภ์เจริญเติบโตช้า

อาการสำคัญคือขนาดของทารกในครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมารดาไปฝากครรภ์ แพทย์จะวัดความยาวของมดลูกจากกระดูกหัวเหน่าถึงยอดมดลูก เพื่อประมาณขนาดของทารก หลังจากสัปดาห์ที่ 20 ความยาวของมดลูกเป็นเซ็นติเมตรจะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ หากพบว่าน้อยกว่า 4 เซ็นติเมตรขึ้นไป เมื่อเทียบจำนวนกับสัปดาห์ที่ตั้งครรภ์ ให้สงสัยว่ามีภาวะทารกโตช้า และน้ำหนักทารกในครรภ์น้อยเกินไปต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน

ระหว่างการตรวจอัลตราซาวด์ หากพบว่าน้ำหนักโดยประมาณของทารกน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 หรือน้อยกว่า 90% ของค่าเฉลี่ยน้ำหนักของทารกที่อายุครรภ์เท่ากัน เมื่อแรกคลอด ทารกหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม นับว่าเป็นภาวะทารกโตช้าในครรภ์  แต่ไม่ใช่ทารกทุกคนที่คลอดมาน้ำหนักน้อยต้องมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ทารกตายคลอด

อาการของภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ในทารกที่ครบกำหนดคลอด

  • ทารกตัวเล็กไปทั้งตัว หรือขาดอาหาร

  • ทารกผอม ซีด ปวกเปียก และผิวแห้ง

  • สายสะดือบางและมักเปื้อนขี้เทา

สาเหตุภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า

สาเหตุเกิดได้จากมารดา ทารกและรก ปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น

จากมารดา

ก่อนตั้งครรภ์มารดาอาจจะมีอาการเหล่านี้ :

  • มารดาน้ำหนักน้อย ตัวเล็ก

  • มีภาวะของการขาดสารอาหาร เช่น โลหิตจาง ขาดธาตุโฟเลต

  • ยากจน

  • ตั้งครรภ์แรก หรือมากกว่าครรภ์ที่ 5

  • เพิ่งคลอดบุตรและตั้งครรภ์ใหม่

ขณะตั้งครรภ์

  • น้ำหนักขึ้นน้อย โดยเฉพาะในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

  • ใช้ร่างกายทำงานหนักปานกลางถึงหนักมาก

  • มีโรคเรื้อรัง เช่น การดูดซึมของอาหารไม่ดี เบาหวาน โรคไต

  • การใช้ยาเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์

  • ได้รับออกซิเจนน้อย เช่น อยู่ในที่สูง โลหิตจางอย่างรุนแรง

จากมดลูกและรก

  • รกเจริญเติบโตไม่ดีพอ

  • มดลูกผิดรูป

  • เลือดไหลผ่านระหว่างมดลูกกับรกไม่พอ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เส้นเลือดเสียหายจากเบาหวาน

  • การตั้งครรภ์แฝด

จากตัวทารก

รวมถึงพันธุกรรม ความผิดปกติของโครโมโซม และการติดเชื้อในมดลูก เช่น toxoplasmosis การติดเชื้ออื่นๆ(syphilis,varicella-zoster, parvovirus B19) หัดเยอรมัน  cytomegalovirus (CMV), และการติดเชื้อ herpes

ทารกโตช้าในครรภ์แบบปฐมภูมิจากสาเหตุของพันธุกรรมหรือโครโมโซม การติดเชื้อในมดลูกในอายุครรภ์น้อย และมารดาดื่มเหล้าก็คือสาเหตุที่ทำให้ขนาดทารกในครรภ์จะต่ำกว่าเกณ์

ทารกโตช้าในครรภ์แบบทุติยภูมิ พบบ่อยจากปัจจัยที่กระทบต่อทารกในอายุครรภ์มาก เช่น ครรภ์เป็นพิษระยะแรก ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และมดลูกผิดรูป

 การรักษาและการดูแล

การรักษาและการดูแลที่ใช้ทั่วไปคือ การรักษาโรคที่มารดาเป็น การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

อาจต้องให้คลอดก่อนกำหนด หากตรวจพบทารกอาการไม่ดี การให้สเตียรอยด์และทำคลอดก่อนกำหนดโดยมีผู้เชี่ยวชาญดูแลทั้งมารดาและทารก เป็นวิธีที่ดีที่สุด และควรต้องติดตามดูอาการของทารกตลอดการคลอดเพื่อป้องกันทารกขาดออกซิเจนหรือเกิดให้น้อยที่สุด

 นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *