โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

07.03
779
0

โรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome (IBS) คือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงใด ๆ

โรคลำไส้แปรปรวนนั้นยังเกี่ยวข้องกับ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และโรคการทำงานของลำไส้ผิดปกติ อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ นั้นเปลี่ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นเมื่อผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน แต่มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า จุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทางเดินอาหารติดเชื้อนั้นอาจกระตุ้นให้เกิดอาการในระยะยาว

อาการของโรคลำไส้แปรปรวน

อาการโดยทั่วไปของ IBS มีดังนี้:

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย

  • การปวดท้อง ซึ่งส่วนมากจะลดลงหลังจากถ่ายออกไป

  • รู้สึกว่าถ่ายออกไปไม่หมด

  • ผายลมมากเกินไป

  • มีเมือกออกมาจากทวารหนัก

  • ปวดท้องเหมือนท้องเสีย

  • ท้องบวม ท้องไส้ปั่นป่วน

อาการเหล่านี้มักจะแย่ลงหลังการรับประทานอาหาร อาการมักจะเป็นติดต่อกันหลายวัน แล้วก็จะหายไปเอง

สัญญาณและอาการต่าง ๆ นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน อาการของโรคนี้มักจะไปรวมกับอาการของโรคอื่นและสามารถส่งผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้

ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย

  • มีกลิ่นปาก

  • ปวดหัว 

  • ปวดข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ

  • เหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง

  • ในผู้หญิงจะมีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ความวิตกกังวลและซึมเศร้าอาจเกิดขึ้น โดยปกติเกิดจากความไม่สบายตัวและความอับอายที่มากับโรค

อาหารกับโรคลำไส้แปรปรวน

อาหารมีบทบาทในการกระตุ้นอาการของโรคลำไส้แปรปรวน

หลังจากรับประทานอาหารบางประเภท ผู้ป่วยมักมีอาการแย่ลง เช่น ช็อคโกแลต นม หรือ แอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้เกิด อาการท้องผูกหรือ ท้องเสียได้

ผัก ผลไม้ และโซดาบางชนิดก็กระตุ้นให้เกิดการบวมและความไม่สบายได้เช่นกัน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการแพ้อาหารหรือการแพ้อาหารแฝงที่ทำให้เกิด

อาหารที่กระตุ้นให้ปวดท้องและท้องบวมคืออาหารที่เป็นสาเหตให้ท้องอืด ดังนี้:

  • ถั่วต่างๆ

  • เซเลอรี่

  • หอมใหญ่

  • แครอท

  • ลูกเกด

  • กล้วย

  • แอปริคอท

  • พรุน

  • กะหล่ำปลี

  • ขนมปัง pretzels

  • ขนมปัง bagels

อาการอื่นที่สามารถกระตุ้นอาการ ได้แก่:

  • ผลิตภัณฑ์นม

  • หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล

  • ลูกกวาด

  • ผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีน ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้แฝงของ น้ำตาล ซอร์บิทอล หรือคาเฟอีนมากกว่าโรคลำไส้แปรปรวน

Irritable Bowel Syndrome

อาหารสำหรับโรคลำไส้แปรปรวนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการปะทุของโรค มีดังนี้:

  • จัดการการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์: ผู้ป่วยบางคนอาจต้องรับประทานไฟเบอร์เพิ่ม ในขณะที่บางคนต้องทานน้อยลง ปริมาณไฟเบอร์ที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารมีสุขภาพดี

  • อาหารเสริมโพรไบโอติก: การรับประทานโพรไบโอติกอาจช่วยให้อาการของบางคนดีขึ้นได้ เพราะมีแบคทีเรียที่ดีไปช่วยในการทำงานของลำไส้ ผู้ป่วยอาจไม่รับรู้ถึงผลลัพท์ในทันที ผู้ป่วยควรรับประทานไปสักระยะหนึ่งเพื่อช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้นในระยะยาว

  • การจดบันทึกอาหาร: จดรายการอาหารเพื่อที่จะได้ทราบว่าอาหารชนิดใดกระตุ้นให้เกิดอาการ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินสามารถถช่วยควบคุมอาการได้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้น ผู้ป่วยต้องลองผิดลองถูกเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อที่จะรู้ว่าควรรับประทานแบบไหน

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจุลินทรีย์อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด

นักวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงโรคนี้เข้ากับอาหารเป็นพิษ ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษเป็นโรคลำไส้แปรปรวนหลังจากนั้น ราวกับว่าจุลินทรีย์ที่ทำให้เิกดการตืดเชื้อในระบบย่อยอาหารนั้นส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เิกดการเปลี่ยนแปลงระยะยาวต่อลำไส้

ปัจจัยอื่น ๆ มีดังนี้:

  • อาหาร

  • สภาพแวดล้อม เช่น ความเครียด

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม

  • ฮอร์โมน

  • อวัยวะย่อยอาหารที่ไวต่อการรับรู้ความเจ็บปวด

  • ปฏิกริยาตอบสนองที่ไม่ปกติต่อการติดเชื้อ

  • การำงานไม่ปกติของกล้ามเนื้อที่ลำเลียงอาหารภายในร่างกาย

  • ระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ

  • อารมณ์และสุขภาพจิตของผู้ป่วยก็สามารถทำให้เกิดลำไส้แปรปรวนได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีภาวะป่วยทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้

มันเป็นโรคไม่ติดต่อและไม่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น  อาการจะรุนแรงขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงมีรอบเดือน

การติดเชื้อ เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบอาจกระตุ้นโรคลำไส้แปรปรวนหลังติดเชื้อได้

การรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดสำหรับ IBS อย่างไรก็คาม หากผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ปรับเปลี่ยนอาหาร และทำตามคำแนะนำของแพทย์ พวกเข้าสามารถลดการปะทุขึ้นมาของโรคและอาการไม่สบายได้

การรักษา IBS นั้นทำได้โดยการดูแลเรื่องอาหารและการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ที่จะะจัดการกับความเครียด

การจัดการอาหาร

ขั้นตอนเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการ:

หลีกเลี่ยงน้ำตาลทางเลือกในหมากฝรั่ง ในอาหาร ลูกอมปราศจากน้ำตาล เพราะอาจทำให้ท้องเสีย

  • การรับประทานข้าวโอ๊ตช่วยลดแก๊สและลดบวมได้

  • รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ

  • รับประทานอาหารให้เป็นเวลา

  • รับประทานช้า ๆ

  • ควบคุมปริมาณแอกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป

  •  หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น โซดา

  • ควบคุมการรับประทานผักและผลไม้

  • ดื่มน้ำวันละ 8 แก้วต่อวัน

การหลีกเลี่ยงกลูเตนก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการต่าง ๆ ได้ ซึ่งสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์  Gluten free ได้ทั่วไป

ความวิตกกังวล และความเครียด

วิธีเหล่านี้สามารถลดหรือบรรเทาอาการได้:

  • เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ

  • กิจกรรมต่าง ๆ เช่น มวยไทเก๊ก หรือ โยคะ

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • การปรึกษาเกี่ยวกับความเครียด หรือการบำบัดแบบ cognitive-behavioral therapy (CBT)

การใช้ยารักษา

ยาเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการได้:

  • ยา Antispasmodic (ยาลดเกร็ง): ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในลำไส้

  • ยาระบายอย่างอ่อน: ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้

  • ยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ Antimotility medications: ยาเหล่านี้สามารถลดอาการท้องเสียได้ เช่น loperamide

  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไซคลิก: ยาเหล่านี้สามารถลดอาการปวกเกร็งช่องท้องได้

ยาที่ใช้รักษา IBS โดยเฉพาะมีดังนี้:

  • alosetron (Lotronex) สำหรับโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงในผู้หญิง

  • lubiprostone (Amitiza) โรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องผูกในผู้หญิง

  • ไซแฟกเซน rifaximin ยาปฏิชีวนะที่ช่วยลดอาการท้องเสีย

  • eluxadoline

การบำบัดทางจิตเวช

ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าการบำบัดทางจิตใจช่วยลดการเกิด IBS และอาการต่าง ๆ ได้ โดยมีเทคนิคดังนี้:

  • Hypnotherapy: การสะกดจิตบำบัด สามารถช่วยได้โดยการเปลี่ยนวิธีที่จิตใต้สำนึกตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางร่างกาย

  • Cognitive-behavioral therapy (CBT): วิธีนี้ช่วยรู้วิธีที่จะตอบสนองเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านการผ่อนคลายและการมีมุมมองบวก

การออกกำลังกายช่วยลดอาการได้ในบางคน

ผู้เชี่ยวชาญกำลังศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคลำไส้แปรปรวนและจุลินทรีย์ ซึ่งหวังว่าวันนึงจะมีทางรักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *