มะเร็งไต (Kidney Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งไต (Kidney Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

13.03
1136
0

มะเร็งไต (Kidney Cancer) คือ มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับไต ผู้ที่มีอายุมาก ผู้ที่เป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ หรือความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไต

ไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งมีหน้าที่นำของเสีย ของเหลวส่วนเกิน และอิเล็กโทรไลต์ออกจากเลือด ไตยังเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยควบคุมความดันเลือด

มะเร็งไตชนิดต่าง ๆ นั้นคือมะเร็งที่มีต้นกำเนิดที่ไต มะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มาจากส่วนอื่นของร่างกายแล้วลามมาที่ไตจะไม่ถูกเรียกว่ามะเร็งไต ตัวอย่างเช่น  หากมันเกิดขึ้นที่กระเพาะปัสสาวะ จะถูกเรียกว่า มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการมะเร็งไต

มะเร็งไตอาการต่าง ๆ จะยังไม่แสดงในระยะแรก ๆ ของมะเร็งไต ผู้ป่วยบางรายอาจเริ่มแสดงอาการเมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปมากแล้ว

อาการต่าง ๆ ได้แก่:

หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

การรักษามะเร็งไต

ทางเลือกในการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้:

  • สุขภาพโดยรวม
  • ชนิดและระยะของมะเร็งไต
  • ความต้องการของผู้ป่วย
  • การรักษามะเร็งก่อนหน้า
Kidney Cancer

การผ่าตัด

ในกรณีส่วนมาก การผ่าตัดเป็นตัวเลือกแรก ๆ ศัลยแพทย์อาจตัดไตออกบางส่วนหรือตัดออกทั้งหมด รวมทั้งเนื้อเยื่อรอบ ๆ ก้อนเนื้อด้วย หากจำเป็นแพทย์อาจต้องนำต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่ออื่นออก

คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยไตเพียงข้างเดียว ฉะนั้น การตัดไตออก 1 ข้างจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษา

การผ่าตัดโดยการส่องกล้องก็เป็นไปได้เช่นกัน

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

สำหรับผู้ป่วยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรืออ่อนแออาจไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ ซึ่งแพทย์จะต้องรักษาโดยวิธีอื่น

การอุดหลอดเลือด (Embolization): แพทย์จะใส่ท่อและนำวัสดุสังเคราะห์ใส่เ้าไปยังหลอดเลือด วัสดุนี้จะไปอุดการไหลของเลือดไม่ให้หล่อเลี้ยงไต ซึ่งทำให้ก้อนเนื้อไม่ได้รับออกซิเจน สารอาหาร และทำให้มันฝ่อลง

การจี้ด้วยความเย็นจัด (Cryoablation): แพทย์จะสอดแทงเข็มชนิดพิเศษที่เรียกว่า cryoprobes เข้าไปในก้อนเนื้อผ่านรอยผ่าตัดเล็ก ๆ  ก๊าซที่อยู่ในเข็มจะทำให้เซลล์นั้นกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วทำให้มันอุ่นขึ้น แล้วก็ทำให้มันเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง การสลับอุณหภูมิไปมาแบบนี้จะฆ่าเซลล์มะเร็ง วิธีนี้อาจทำให้เจ็บปวด และมีเลือดออก ติดเชื้อ หรือทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้

การทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัดคือการใช้ยาที่มีฤทธิ์รุนแรงไปโจมตีและฆ่าเซลล์มะเร็ง หยุด หรือทำให้การลุกลามของมะเร็งช้าลง ยาเหล่านี้ส่งผลเสียและมีผลข้างเคียงทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาจะบรรเทาลงเมื่อจบการบำบัด

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับมะเร็ง ผลข้างเคียงที่มาจากการรักษาวิธีนี้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเบื่ออาหาร

การรักษามะเร็งแบบเฉพาะจุด

การรักษามะเร็งแบบเฉพาะจุด ยาจะเข้าไปรบกวนการทำงานหรือยีนต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้มะเร็งเติบโต

การรักษาด้วยรังสี

การรักษาด้วยรังสีนั้นไม่สามารถรักษามะเร็งไตให้หายได้ แต่มันจะทำให้ก้อนเนื้อฝ่อลง และทำให้การลุกลามของเซลล์มะเร็งลดลง และช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย

การรักษาแบบแพทย์ทางเลือก

นอกเหนือจากการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ผู้ป่วยบางรายกล่าวว่า การรับประทานวิตามินบางประเภทก็อาจช่วยได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะอาหารเสริมบางอย่างสามารถทำให้อาการแย่ลงและส่งผลให้เกิดปัญญาสุขภาพใหม่

สาเหตุของมะเร็งไต

แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดมะเร็งไต แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมอาจมีบทบาทสำคัญ

มะเร็งจะเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดีเอ็นเอภายในเซลล์ ซึ่งทำให้พวกมันเติบโตแบบที่ไม่สามารถควบคุมได้ และในที่สุดก็กล้ายเป็นเนื้องอก

หากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะเติบโตและลุกลาม ปกติแล้วมันจะลุกลามผ่านระบบน้ำเหลือง ซึ่งเป็นต่อมที่มีอยู่ทั่วร่างกาย

มะเร็งไตมีหลายชนิด ดังนี้:

มะเร็งไตชนิด Renal cell carcinoma (RCC) โดยปกติแล้วจะเริ่มก่อตัวในเซลล์ของท่อหน่วยไต ก้อนเนื้อมักจะเริ่มจากก้อนเดียว หรือบางครั้งอาจมีหลายก้อน ในไต 1 ข้างหรือทั้ง 2 ข้าง มะเร็งชนิดนี้พบมากสุด 85 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วยมะเร็งไต

เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งชนิดนี้สามารถก่อตัวขึ้นที่ท่อไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ ราว 10-15 เปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นมะเร็งไตเป็นมะเร็งชนิดนี้

มะเร็งชนิด Wilms’ tumor เป็นมะเร็งไตที่พบในเด็ก เกิดจากการเสียหรือไม่ทำงานของยีนต้านมะเร็ง ยีนต้านมะเร็งคือตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและควบคุมการเติบโตของเซลล์

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *