มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

07.02
1658
0

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer) คือโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้น้อย เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อมีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตภายในกล่องเสียง ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอร์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียงคืออะไร

มะเร็งกล่องเสียงเกิดขึ้นในภายในกล่องเสียง

กล่องเสียงเป็นอวัยวะที่มีช่วงสั้นๆ มีลักษณะเป็นทางสามเหลี่ยมอยู่ด้านล่างต่อจากคอหอยภายในลำคอ มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว

กล่องเสียงประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักได้แก่:

  • กล่องเสียงส่วนสายเสียง (Glottis) เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของกล่องเสียง ประกอบด้วยสายเสียง

  • กล่องเสียงส่วนที่อยู่เหนือสายเสียง (Supraglottis)

  • กล่องเสียงส่วนที่อยู่ใต้สายเสียง (Subglottis) เชื่อมต่อกับหลอดลม ซึ่งจะนำอากาศเข้าสู่ปอด

มะเร็งสามารถเกิดในส่วนใดก็ได้ภายในกล่องเสียง แต่ส่วนใหญ่มักเกิดที่กล่องเสียงส่วนสายเสียง (Glottis)  มะเร็งกล่องเสียงส่วนมากจะเริ่มจากเซลล์ขนาดเรียบมีขนาดคล้ายกับเซลล์ชนิดสแควมัสโดยวางตัวอยู่ภายในผนังกล่องเสียง

หากมะเร็งกล่องเสียงอยู่ในระยะลุกลาม มักจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงบริเวณลำคอ ซึ่งเซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังด้านหลังของลิ้นและส่วนอื่นๆทั้งภายในและนอกลำคอ รวมถึงปอดและส่วนอื่นๆของร่างกาย

เมื่อเกิดมะเร็งขึ้น เนื้องอกจะก่อตัวที่บริเวณใหม่ที่ประกอบไปด้วยเซลล์ผิดปกติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนื้องอกบริเวณกล่องเสียง แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียงระยะลุกลาม

อาการมะเร็งกล่องเสียง

โรคมะเร็งกล่องเสียงอาการจะสังเกตุได้ ดังนี้:

  • ไอเรื้อรัง chronic cough

  • เสียงแหบ Hoarseness

  • เจ็บคอ

  • มีก้อนผิดปกติภายในหรือภายนอกลำคอ

  • เจ็บเวลากลืน หรือกลืนลำบาก

  • สำลักอาหารบ่อยครั้ง

  • หายใจลำบาก หรือมีเสียงดังเวลาหายใจ

  • ปวดหูบ่อยๆ หรือมักจะมีความรู้สึกภายในและรอบๆผิวหนังของหู

  • นำ้หนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • มักหายใจลำบาก

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งกล่องเสียง

การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

การเสียชีวิตจากโรคมะเร็งกล่องเสียงเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สุบ ควันบุหรี่มือสองก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งกล่องเสียง

การบริโภคแอลกอฮอร์ในระดับปานกลาง หรือหนักมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ทางสมาคมโรคมะเร็งในอเมริกาแนะนำว่าคนที่ดื่มแอลกอฮอร์หนึ่งหรือหลายแก้วต่อวัน โดยเฉพาะหากมีการสูบบุหรี่ด้วย จะเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งดังกล่าวได้

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ:

  • ขาดสารอาหารและวิตามิน
  • ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilomavirus : HPV)
  • เพศชายมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียงมากกว่าในเพศหญิง
  • อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติเป็นมะเร็งที่ศีรษะ มะเร็งลำคอมาก่อน
  • สัมผัสสารเคมีจากที่ทำงาน เช่น กลิ่นสีและสารเคมีในวัสดุก่อสร้าง
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ
Laryngeal Cancer

ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจจะมีส่วนในการเกิดมะเร็งกล่องเสียงได้

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ (Fanconi anemia) จะมีปัญหาเกี่ยวกับเลือดตั้งแต่เด็ก และมีความผิดปกติของเล็บมือ ผิวหนัง เรียกว่า Dyskeratosis congenita ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผิวหนัง เล็บ และเลือด อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงในการพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งที่ศีรษะและลำคอได้

การวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียงจะมีอาการแสดงโดยการเห็นก้อนบริเวณคอด้านนอก ซึ่งในกรณีนี้ แพทย์จะแนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจวินิจฉัย

หากในบางรายมีก้อนที่กล่องเสียง ศีรษะ และลำคอ แพทย์อาจใช้การส่องกล้องตรวจในลำคอ เพื่อช่วยการวินิจฉัย โดยการส่องกล้องจะใช้กล้องขนาดเล็กมีไฟส่องที่ส่วนปลาย แพทย์จะสามารถเห็นภาพภายในช่องปากไปจนถึงลำคอ

การส่องกล้องจากจมูกด้วยใยแก้วนำแสง จะมีขนาดเล็กมาก กล้องจะปรับไปตามสรีระภายในช่องจมูกตามที่แพทย์ใส่ลงไป มันจะมำให้แพทย์เห็นภายในหลอดลมและกล่องเสียง หัตถการดังกล่าวจะทำในคลินิกและมีการใช้ยาชาเฉพาะที่

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ CT scan ที่ศีรษะหรือลำคอ, หรือการตรวจ MRI เพื่อให้เห็นภาพ หรือขนาดของก้อนเนื้องอกได้ โดยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ประเมินว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในลำคอแล้วหรือไม่

ซึ่งหากเนื้องอกมีขนาดเล็กและจำกัดเพียงจุดเดียว ศัลยแพทย์อาจจะตัดก้อนเนื้องอกออกมาและส่งชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป

นักวิทยาศาสตร์ หรือนักเทคนิกจะทำการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาของก้อนเนื้องอกหรือเนื้อเยื่อดังกล่าวที่มีความผิดปกติเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง

หากผลทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง แพทย์จะส่งการตรวจเพิ่มเติม ถ้ามีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย

การวินิจฉัยล่วงหน้าจะสามารถช่วยรับรองความสำเร็จของการรักษามะเร็งกล่องเสียได้ ข้อมูลพื้นฐานในปีค.ศ.2008-2014 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ แสดงอัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีที่ผ่านมาพบว่ามะเร็งดัวกล่าวมีอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่าร้อยละ 61

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง

การรักษาโดยทั่วไปสำหรับมะเร็งกล่องเสียงในระยะเริ่มแรก มักเป็นการผ่าตัดกล่องเสียง หรือการฉายแสงรังษีรักษา

ในระยะท้ายของโรคมะเร็ง บางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด หรือการผ่าตัดภายหลังได้รับรังสีรักษาแล้ว

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะตัดเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อใกล้เคียง โดยศัลยแพทย์จะทำการผ่าเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่เป็นมะเร็งออกด้วย

การผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงโดยการส่องกล้อง มีทั้งการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกเพียงบางส่วน และตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด

ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดที่ได้รับ บางรายอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเปิดหลอดลมแบบชั่วคราวหรือถาวร ซึ่งจะเป็นรูเปิดออกบริเวณลำคอ เป็นการส่งเสริมการรักษาหลังการผ่าตัด

บางคนจำเป็นต้องมีรูเปิดที่หลอดลมเพื่อใช้ในการหายใจ โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการออกเสียง

การฉายแสงบำบัด

รักษาด้วยการฉายเเสงสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งและลดขนาดของเนื้องอกได้ เป็นการฉายรังสีด้วยลำแสงจากภายนอก โดยแพทย์จะฉายลำแสงของรังสีไปยังก้อนเนื้องอกโดยตรงภายในลำคอ

การฉายแสงใช้แสงที่มีพลังงานมาก ดังนั้นจึงสามารถเผาผิวหนังรวมถึงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก

เคมีบำบัด

เคมีบำบัดใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีรักษา

ทีมแพทย์ที่ทำการรักษาอาจจะให้เคมีบำบัดเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอกก่อนทำการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการผ่าตัดและแผลผ่าตัดออกมาสวยงาม

แพทย์จะให้ยาทั้งแบบรับประทานและแบบฉีด ยาเคมีบำบัดจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจาบไปทั่วร่างกาย ฆ่าเซลล์ที่เจริญไวกว่าปกติ ซึ่งจะเหมารวมทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่ดี

เคมีบำบัดสามารถนำไปสู่ผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น คลื่นไส้ น้ำหนักลด และผมร่วง

การป้องกัน

การป้องกันโรคมะเร็งกล่องเสียงที่ดีที่สุดคือการเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอร์ในปริมาณมาก ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การเกิดโรค

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *