มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย (Leukemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย (Leukemia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

22.09
2065
0

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคลูคีเมีย (Leukemia)  คือ มะเร็งเม็ดเลือดหรือไขกระดูก  มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต

อาการมะเร็งเม็ดเลือดขาว

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีดังต่อไปนี้:

การแข็งตัวของเลือดไม่ดี: อาจทำให้ช้ำหรือเลือดออกง่ายและหายช้า นอกจากนี้ยังอาจจะเป็นจ้ำ Petechiae ซึ่งเป็นจุดสีแดงและสีม่วงเล็ก ๆ บนร่างกาย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเลือดไม่แข็งตัวตามปกติ Petechiae เกิดเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ยังไม่สมบูรณ์จับกลุ่มเกล็ดเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด

การติดเชื้อบ่อย: เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญต่อการต่อภูมิต้านทานการติดเชื้อ หากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ถูกต้องคนที่มีอาการนั้นอาจติดเชื้อได้บ่อย ระบบภูมิคุ้มกันอาจโจมตีเซลล์ของร่างกายเสียเอง

โรคโลหิตจาง: คือการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงมีประสิทธิภาพน้อยลง  นั่นหมายความว่า มีฮีโมโกลบินในเลือดไม่เพียงพอ ฮีโมโกลบินนั้นทำหน้าที่ลำเลียงธาตุเหล็กไปทั่วร่างกาย การขาดแคลนธาตุเหล็กจะส่งผลให้ตัวซีดและหายใจลำบาก

อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง:

  • คลื่นไส้
  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • เหงื่ออกกลางคืน
  • อาการเหมือนไข้หวัด
  • น้ำหนักลด
  • ปวดข้อและกระดูก
  • เหนื่อยล้า

หากตับหรือม้ามบวม ผู้ป่วยจะอิ่มได้ง่าย และส่งผลให้น้ำหนักลดลง

การลดน้ำหนักอาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีตับหรือม้ามโตก็ตาม และอาการปวดหัวในผู้ป่วยนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)

อย่างไรก็อาการเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์หรือการเข้ารับการวินิจฉัยถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดขึ้นในขณะที่ DNA ของเซลล์เม็ดเลือดที่กำลังพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวได้รับความเสียหาย ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเจริญและแบ่งตัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้

เซลล์เม็ดเลือดที่แข็งแรงจะเสียหาย และมีเซลล์ใหม่มาแทนที่ ซึ่งเกิดปัญหาเหล่านี้ในไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติ จะไม่สลายตามธรรมชาติในวงจรชีวิต แต่กลับสร้างและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีก

เมื่อไขกระดูกสร้างเซลล์มะเร็งพวกนี้มากขึ้น เลือดก็จะไปเลี้ยงในส่วนนี้เป็นปริมาณมาก ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ดี ไม่สามารถเจริญเติบโต และทำงานได้ตามปกติในที่สุดเซลล์มะเร็งก็มีจำนวนมากกว่าเซลล์เลือดที่ดี

ประเภทของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมียมี 4 ประเภทหลัก :

  • เฉียบพลัน
  • เรื้อรัง
  • ต่อมน้ำเหลือง
  • Myelogenous

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน

ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และสะสมในไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ในขณะที่มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง จะค่อยๆพัฒนา เลยทำให้เม็ดเลือดขาวยังมีโอกาสเจริญและพัฒนาอยู่บ้าง

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรัง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Myelogenous

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocytic หรือต่อมน้ำเหลือง ส่งผลต่อชนิดของไขกระดูกที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว  โดยลิมโฟไซต์เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทอย่างมากในระบบภูมิคุ้มกัน

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Myelogenous มีผลต่อเซลล์ไขกระดูกโดยผลิตเซลล์มะเร็งแทนที่จะเป็นเซลล์เม็ดเลือด

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบฉับพลัน Acute lymphocytic leukemia

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงสูงสุดในการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบฉับพลัน (ALL) อย่างไรก็ตามอาจส่งผลต่อผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยปกติแล้วจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และจากการเสียชีวิตพบว่า 4 รายจาก 5 ราย นั้นเป็นผู้ใหญ่

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ แบบเรื้อรัง Chronic lymphocytic leukemia

เม็ดเลือดขาวชนิดนี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แต่ผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ประมาณ 25% ของผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ (CLL) และพบมากในผู้ใหญ่เพศชาย

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบฉับพลัน Acute myelogenous leukemia

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบฉับพลัน (AML) มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มะเร็งชนิดนี้พบได้ยากมาก เซลล์มะเร็งจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีอาการดังนี้ มีไข้ หายใจลำบากและปวดตามข้อ โดยอาการจะรุนแรงขึ้นตามสิ่งกระตุ้น

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบเรื้อรัง Chronic myeloid leukemia

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส แบบเรื้อรัง (CML) ส่วนใหญ่เกิดในผู้ใหญ่ มีสัดส่วนประมาณ 15% ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และไม่ค่อยพบเด็กเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้

วิธีการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

ทีมแพทย์จะประเมินชนิดของโรค อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่

  1. เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด โดยแพทย์จะพิจารณาตามชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยด้วย เพราะเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก ถ่ายเหลว โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
  2. การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)
  3. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *