

ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ
เลือดของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดที่แตกต่างกันหลายชนิด เซลล์เม็ดเลือดขาว เรียกว่า เม็ดเลือดขาว หรือ leukocytes มีหน้าที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำมีเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าที่ควร ซึ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ในบทความนี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย สาเหตุเกิดจากอะไร และการรักษามีอะไรบ้าง
ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำคืออะไร
ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia)เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยในระบบเลือดกว่าที่ควรจะมี การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count หรือ CBC)
เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ปกตินั้นจะนับได้ประมาณ 3,500 ถึง 10,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร ผู้ที่มีภาวะเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำอาจมีเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 3,500 ไมโครลิตร
เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นที่ไขสันหลัง และสำคัญสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน การมีเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยเกินไปทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้
เซลล์เม็ดเลือดขาวมีทั้งหมด 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อที่แตกต่างกันไป
เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils: เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีปริมาณ 55-70 เปอร์เซนต์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมด พวกมันช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อจากเชื้อราและแบคทีเรียต่าง ๆ
เม็ดเลือดขาวชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด มันมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อจากไวรัสต่าง ๆ
เม็ดเลือดขาวชนิด Basophils: เม็ดเลือดขาวชนิดนี้พบได้น้อยที่สุด มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบเมื่อมีอาการแพ้
เม็ดเลือดขาวชนิด Monocytes: เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหน้าที่ต่อสู้กับแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่าง ๆ และพวกมันยังช่วยรักษาเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ถูกทำลายจากการอักเสบ
เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophils: เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีหน้าที่ต่อสู้กับปรสิตต่าง ๆ และเป็นเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการตอบสนองหรืออาการของการแพ้ต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด
อาการของโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ
อาการของภาวะเม็ดเลือดขาวนั้นไม่ได้มีอาการที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้มักจะติดเชื้อต่าง ๆ อาการของการติดเชื้อมีดังนี้:
เหงื่อออก
หนาวสั่น
ผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำอาจมีอาการที่เกี่ยวเนื่องกับสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ สาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้:
สาเหตุของโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ไปรบกวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวในไขสันหลัง
ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำนั้นเกิดจากการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำอาจเกิดจากผลของการรักษาหรือยาต่าง ๆ
ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ:
การติดเชื้อไวรัส (Viral infections): การติดเชื้อไวรัสแบบฉับพลัน เช่น ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำชั่วคราว
มีปัญหาเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดและไขสันหลัง: สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ เช่น ภาวะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia) ภาวะม้ามทำงานมากเกินไป โรคไขกระดูกเอ็มดีเอส (myelodysplastic syndromes)
มะเร็ง: ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและมะเร็งชนิดต่าง ๆ อาจทำให้ไขสันหลังเกิดความเสียหายและทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
โรคติดเชื้อ: ตัวอย่างเช่น HIV โรคเอดส์ และวัณโรค จากจ้อมูลของการศึกษาในปี 2015 ผู้หญิงที่เป็นวัณโรคมีโอกาสมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้มากกว่าผู้ชาย
กลุ่มโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง: โรคกลุ่มนี้บางโรคทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอย่างเช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง และ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด: หรือที่รู้จักกันในชื่อ congenital disorders ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่น โรคคอสแมนน์ และ โรคไม่โคลาเธซิส
ภาวะทุพโภชนาการ: การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ เช่น การขาดวิตามินบี 12 โฟเลต คอปเปอร์ และซิงค์
โรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis): โรคนี้เกิดจากการทำงานมากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน ก่อให้เกิดการอักเสบในบางส่วนของร่างกาย ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อไขกระดูกได้

การรักษาและยาที่อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
การรักษามะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ตัวอย่างของการรักษา เช่น:
การทำคีโมบำบัด
การฉายแสง
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวและอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้เช่นกัน เช่น
ยากลุ่มอินเตอร์เฟียรอนที่ใช้รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)
ลาโมไตรจีน (lamotrigine) และ โซเดียม วาลโปรเอท (sodium valproate) ที่ใช้รักษาโรคลมชัก และ ยาควบคุมอารมณ์
โบพรูพิออน (bupropion) ยาต้านซึมเศร้าและยาทำให้หยุดสูบบุหรี่
โคลซาปีน (clozapine) ยาต้านอาการทางจิต
มิโนไซคลิน (minocycline) ยาปฏิชีวนะทั่วไป
ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressants) เช่น sirolimus mycophenolate mofetil tacrolimus และ cyclosporine
สเตียรอยด์
เพนิซิลิน (penicillin)
หากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่ากำลังรับประทานยาตัวใดอยู่ แล้วมันมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ควรปรึกษาแพทย์
การรักษาโรคเม็ดเลือดขาวต่ำ
หากยาเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ แพทย์อาจแนะนำให้หยุดรับประทานยานั้นและลองเปลี่ยนยา ผู้ป่วยไม่ควรเปลี่ยนหรือหยุดยาเองโดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์
หากผู้ที่ทำคีโมบำบัดเพื่อรักษามะเร็งแล้วทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผ้ป่วยอาจต้องหยุดการรักษาชั่วคราวเพื่อให้เม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นมาใหม่
การรักษาโดยใช้ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เช่น granulocyte colony-stimulating factor อาจช่วยรักษาภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำได้ วิธีนี้มักถูกใช้เมื่อสาเหตุเกิดจากการรักษาโดยคีโมบำบัดหรือเกี่ยวกับยีน
การจัดการ
การดูแลตัวเองที่บ้านและพฤติกรรมต่อไปนี้ อาจช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำมีอาการดีขึ้นและลดโอกาสในการติดเชื้อได้:
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
พักผ่อนให้เยอะ ๆ
หลีกเลี่ยงการโดนบาดหรือการถลอก
รักษาความสะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรค
ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาหากมีการติดเชื้อจากการลดลงของของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อรา