ความดันต่ำ (Lowblood Pressure) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ความดันต่ำ (Lowblood Pressure) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.09
2619
0

โรคความดันต่ำคืออะไร

โรคความดันโลหิตต่ำ (Lowblood Pressure) คือการที่กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่ปั๊มเลือดเพื่อหมุนเวียนภายในร่างกาย เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะถูกปั๊มไปที่ปอดเพื่อรับออกซิเจน 

หัวใจทำหน้าที่ปั๊มเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนเพื่อหมุนเวียนรอบร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อเเละเซลล์ ซึ่งการปั๊มเลือดแต่ละครั้งทำให้เกิดความดันเลือดขึ้น

ค่าของการวัดความดันเลือดแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

  • ค่าความดันตอนที่หัวใจบีบตัว (Systolic  pressure) หมายถึงการวัดค่าที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัวสูงสุดซึ่งเกิดที่หัวใจห้องล่างด้านซ้าย 
  • ค่าความดันตอนที่หัวใจคลายตัว (Diastolic pressure ) คือค่าความดันที่เกิดขึ้นระหว่างหัวใจเต้นเเละหัวใจคลายตัวเพื่อเปิดรับเลือดเข้าสู่หัวใจ  

การอ่านค่าความดันเลือดสามารถอ่านได้ทั้งค่าตอนที่หัวใจบีบตัวสูงสุดเเละค่าตอนที่หัวใจคลายตัว เลบที่ปรากฎขึ้นจากการดันความดันจะขึ้นต้นด้วยเลขตัวใหญ่ก่อนซึ่งหมายถึงความดันที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัวและตามด้วยเลขตัวเลขหมายถึงความดันที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจคลายตัว

โดยปกติคนเรามีความดันอยู่ที่เลขตัวบน 120 และเลขตัวล่างคือ 80 หรือ 120/80 mmHg ความดันเมื่อหัวใจบีบตัวคือ  120mmHg และความดันเมื่อหัวใจคลายตัวคือ 80mmHg ตัวย่อ mmHfg ของหน่วยวัดความดันหมายถึงมิลลิเมตรปรอท    

ระดับของความดันเลือดอาจมีกรผันผวนขึ้นถึง 30 หรือ 40 mmHg ในช่วงระหว่างวันและความดันเลือดจะลดลงในขณะที่นอนหลับหรือพักผ่อน 

การออกกำลังกาย ความเครียดและความกังวลใจที่สูงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น ความดันเลือดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างดังนั้นเมื่ออ่านค่าดันที่ปรากฎขึ้นควรอ้างอิงถึงการทำกิจกรรมของผู้ที่ถูกวัดความดันด้วย 

ผู้ใหญ่ที่อ่านค่าความดันได้ 90/60 mmHg หรือต่ำกว่ามีโอกาสเกิดภาวะความดันต่ำหรือโรคความดันต่ำได้

อาการความดันต่ำ

หลายคนที่มีความดันต่ำเเต่ไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น ผู้ที่มีสุขภาพเเข็งเเรงมากอาจมีความดันที่ต่ำและมีสุขภาพร่างกายเเข็งเเรงดี ในขณะที่ผู้อื่นอาจมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังเช่นความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือโรคที่เกิดขึ้นเฉียบพลันเช่นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันที่สามารถกระตุ้นการเกิดโรคความดันต่ำได้

อาการทั่วไปได้เเก่

  • การมองเห็นภาพไม่ชัด
  • มีอาการหนาวสั่น ตัวเย็นเเละผิวซีด
  • อาการซึมเศร้า
  • เกิดอาการเวียนศีรษะ เป็นลมและคลื่นไส้
  • เหนื่อยล้าเเละอ่อนเเรง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • อาการหายใจเหนื่อยเเละหอบ
  • อาการคอเเห้ง

ถ้าหากภาวะความดันต่ำเกิดขึ้นไม่รุนเเรงและไม่มีอาการดังกล่าวเหล่านี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

ถ้าหากภาวะความดันเลือดลดลงต่ำมากกว่าปกติ เลือดและออกซิเจนอาจไปหล่อเลี้ยงสมองเเละอวัยวะที่สำคัญไม่เพียงพอ ในกรณีนี้คนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษา ภาวะความดันที่ต่ำทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา

สาเหตุความดันต่ำ

ภาวะความดันเลือดต่ำสามารถเกิดจากหลายสาเหตุได้แก่ 

โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นช้ากว่าปกติหรือลิ้นหัวใจมีปัญหาโรคหัวใจวายและภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากความเลือดต่ำเกินไปสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดได้เพียงพอเพื่อทำให้ความดันสูงขึ้นได้

ความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้นหรือภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่าทาง

การเปลี่ยนท่าทางอย่างเช่นการยืนขึ้นนั่งลงหรือนอนลงส่งผลต่อการลดลงของความดันแต่การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการนี้ได้ถ้าหากระบบระบบประสาทอิสระหรือระบบประสาทอัตโนมัติถูกทำลาย 

ภาวะความดันต่ำที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหาร 

บางครั้งความดันต่ำเกิดขึ้นหลังจากการกินอาหารทำให้เกิดอาการปวดหัวเล็กน้อย งุนงงและเป็นลมได้ อาการนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวานหรือโรคพาคินสัน 

หลังจากทานอาหารลำไส้ต้องการเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงตอนที่กำลังย่อยอาหาร หัวใจเกิดการบีบตัวเร็วขึ้นและหลอดเลือดในส่วนอื่นๆของร่างกายแคบลงเพื่อช่วยรักษาความดันเลือดเมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการนี้จึงมีประสิทธิภาพลดลง 

เพื่อทำให้ภาวะความดันต่ำนี้ลดลงควรนอนลงหลังทานอาหารเพื่อลดการทานคาร์โบไฮเดรตและควรทานอาหารมื้อเล็กๆแต่บ่อยขึ้น

การใช้ห้องน้ำ การกลืนเเละการไอ

ภาวะความดันต่ำอาจเกิดขึ้นเมื่อเข้าห้องน้ำเนื่องจากการปัสสาวะหรืออุจจาระกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสทำให้ระดับอะซีทิลโคลินซึ่งเป็นสารสื่อประสาททำงานมากขึ้น 

การกลืนเเละการไอทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้เช่นกันเนื่องจากเกิดการกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส

การใช้ยา

การใช้ยาที่ทำให้ความดันเลือดต่ำลงได้แก่ 

ยาไว้อากร้าหรือยาซินเดนาฟิลสามารถทำให้ความดันเลือดต่ำลงได้

  • ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์
  • ยากลุ่มบีต้า – บล็อกเกอร์ 
  • ยาเเก้โรคซึมเศร้า
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยาสำหรับรักษาโรคพาคินสัน
  • ยาซินเดนาฟิลหรือเป็นที่รู้จักในชื่อยาไวอากร้าโดยเฉพาะการใช้ยานี้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือดในกลุ่มไนเตรต

สารสื่อประสาทอะซีทิลโคลินทำให้หลอดเลือดขยายตัวและลดความดันเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงสมองทำให้เกิดอาการเวียนหัวเเละหน้ามืดเป็นลมโดยส่วนใหญ่อาการนี้จะหายเองได้อย่างรวดเร็ว

การใช้ยาชา

ระหว่างการผ่าตัดเมื่อความดันเลือดลดต่ำลงสามารถลดการสูญเสียเลือดได้

ปัญหาเกี่ยวกับระดับฮอร์โมน

ต่อมไทรรอยด์เป็นต่อมที่กักเก็บฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการทำงานหลายอย่างของฮอร์โมนได้แก่อัตราการเต้นของหัวใจเเละความดันเลือด ต่อมหมวกไตทำหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับต่อมเหล่านี้สามารถทำให้เกิดโรคความดันต่ำได้

 ภาวะความดันโลหิตที่เกิดจากการยืนเป็นระยะเวลานาน

ภาวะความดันโลหิตที่เกิดจากการยืนเป็นระยะเวลานานเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดพลาดในการส่งสัญญาณระหว่างหัวใจและสมองอาการนี้มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุน้อย

เมื่อคนยืนนานช่วงระยะหนึ่งเลือดจะเกิดการสะสมอยู่ที่ขา หัวใจจะทำการรักษาความดันเลือดให้เป็นปกติแต่ในบางคนเกิดการส่งสัญญาณประสาทที่ผิดปกติส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลงทพให้ความดันเลือดลดลงก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้และหน้ามืดเป็นลม 

การตั้งครรภ์ 

ความดันเลือดมักมีอัตราลดลงระหว่างการตั้งครรภ์เพราะระบบการหมุนเวียนเลือดกำลังขยายออกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ความดันเลือดเมื่อหัวใจบีบตัว (Systolic pressure ) จะลดลงประมาณ 5-10 ในขณะที่ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว(diastolic pressure)จะลดลง 10-25 ตัวเลขความดันที่ลดลงนี้เป็นปกติเเละไม่มีปัญหาใดๆที่ต้องกังวล

การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ

ผู้ป่วยจะมีภาวะบกพร่องของพฤติกรรมการกินจะมีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติและมีความดันเลือดต่ำนอกจากนี้โรคบูลิเมียหรือโรคกินเเล้วล้วงคอเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลได้จึงก่อให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติและอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ซึ่งอาการเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะความดันต่ำร้ายแรง   

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *