เมารถ (Motion Sickness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เมารถ (Motion Sickness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.03
4888
0

ผู้ที่มีอาการเมารถ เมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน (Motion Sickness) คือภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว ทำให้เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาเจียน ผู้หญิงและเด็กมีโอกาสเป็นได้มากกว่า แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน คุณสามารถนำขั้นตอนต่าง ๆ ไปใช้ในขณะที่จะเดินทางเพื่อลดความเสี่ยงในการป่วย  ยาแก้คลื่นไส้ เช่น scopolamine สามารถช่วยได้

อาการเมารถคืออะไร

ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อสมองของคุณไม่เข้าใจข้อมูลที่ถูกส่งมาจากตา หู และร่างกาย การเคลื่อนไหวมาก ๆ เช่น ในรถ บนเครื่องบิน บนเรือ หรือแม้กระทั่งเครื่องเล่นต่าง ๆ ในสวนสนุก สามารถทำให้คุณรู้สึก ไม่สบาย ตัวเย็น หรือไม่สบายท้อง บางคนอาเจียน เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินถือเป็นภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

ใครมีโอกาสที่จะมีภาวะป่วยจากการเมารถ

ประมาณ 1 ใน 3 ของมนุษย์เคยมีภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว ผู้หญิงและเด็กที่มีอายุ 2-12 ปี อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุด อย่าไรก็ตาม อาการนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน

ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว:

สาเหตุของการเมารถ

สมองได้รับสัญญาณมาจากส่วนรับความเคลื่อนไหวของร่างกาย ตา หูชั้นใน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ เมื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเหล่านี้ส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน สมองของคุณจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าคุณกำลังหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหวอยู่ การเกิดความสับสนของสมองทำให้รู้สึกป่วย

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราขับรถ:

  • ตาของเรามองเห็นต้นไม้ที่ผ่านและป้ายต่าง ๆ เคลื่อนที่

  • หูรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว

  • กล้ามเนื้อและข้อต่อรับรู้ว่าคุณกำลังนั่งนิ่ง ๆ อยู่

  • สมองรับรู้ถึงข้อความเหล่านี้ที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน

การกระทำที่กระตุ้นการเกิดภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว:

  • การเล่นเครื่องเล่นที่สวนสนุกและประสบการณ์เสมือนจริงต่าง ๆ

  • อ่านขณะที่กำลังเคลื่อนที่

  • โดยสาร เรือ รถ รถไฟ หรือเครื่องบิน

  • วิดิโอเกมส์และหนังต่าง ๆ

Motion Sickness

อาการของภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่รู้ตัว คุณอาจจะรู้สึกสบายดีแล้วสักพักก็มีอาการเหล่านี้:

  • เหงื่อออก

  • เวียนหัว

  • เหนื่อย

  • ปวดหัว

  • ระคายเคือง

  • ไม่สามารถจดจ่อได้

  • น้ำลายเยอะขึ้น คลื่นไส้ และอาเจียน

  • ผิวซีด

  • หายใจไวหรือต้องการอากาศ

การรักษาและการจัดการการเมารถ

คุณมีทางเลือกที่จะป้องกันหรือรักษษภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว ดังนี้:

  • ยาแก้แพ้ (Antihistamines): ปกติแล้วใช้ในการรักษาการแพ้ แต่ก็สามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวได้ อย่างไรก็ตามต้องเป็นชนิดที่ทำให้ง่วงเท่านั้น

  • แผ่นแปะ: Scopolamine ชนิดแผ่นแปะหรือชนิดรับประทานสามารถป้องกันการคลื่นไส้และอาเจียนได้ โดยการแปะแผ่นนี้ไว้หลังหู 4 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง หลังจาก  3 วัน คุณสามารถลอกแผ่นแปะออกแล้วเปลี่ยนแผ่นใหม่ได้ ยาชนิดนี้ทำให้ปากแห้งและใช้ได้แค่กับผู้ใหญ่เท่านั้น

การป้องกันการเมารถ

การทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการได้:

  • สมุนไพร: ดมกลิ่นใบมินต์ ขิง หรือลาเวนเดอร์ อมลูกอมที่ทำด้วยใบมินต์หรือขิง

  • อาหารและเครื่องดื่ม: ดื่มน้ำมาก ๆ เลือกรับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมันต่ำ และอาหารอ่อนก่อนออกเดินทาง หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักและมัน เผ็ด หรืออาหารที่มีกรดมาก ที่จะทำให้ไม่สบายท้อง ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่

  • อากาศที่สดชื่น: เปิดแอร์ให้ตรงกับตัวเองหรือเปิดหน้าต่างรถ

  • มองไกล ๆ: ไม่ใช้มือถือ แท็บเล็ต หรืออ่านหนังสือ ให้มองไปไกล ๆ หรือมองท้องฟ้าแทน

  • เอนหลัง: เอนตัวลงแล้วหลับตา

  • กดจุด: ใส่สายรัดข้อมือที่ใช้กดจุดได้

หันหน้าไปทางเดียวกับที่ยานพาหะนะเคลื่อนที่ไป ที่นั่งก็ช่วยลดการรบกวนการเคลื่อนไหวได้

  • เรือ: นั่งตรงกลางเรือ บนดาดฟ้า

  • รถเมล์: เลือกที่นั่งติดหน้าต่าง

  • รถยนต์: เลือกนั่งด้านข้างคนขับ

  • เรือสำราญ: เลือกที่ห้องโดยสารด้านหน้าหรือกลางเรือ เลือกชั้นล่าง

  • เครื่องบิน: นั่งที่นั่งบริเวณปีก

  • รถไฟ: เลือกที่นั่งติดหน้าต่าง

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *